EXIM BANK กำไรสุทธิ 1,516 ล้านบาทในปี 2557 เพิ่มขึ้น 200 ล้านบาทจากปีก่อน ให้สินเชื่อสร้างปริมาณธุรกิจส่งออกและลงทุนได้ 149,939 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,476 ล้านบาทจากปี 2556 พร้อมเดินหน้าให้บริการสินเชื่อแก่ SMEs บวกความคุ้มครองความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ และสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน การขยายหรือย้ายฐานการผลิต การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออกไทยควบคู่กับแพ็กเกจทางการเงินแก่คู่ค้าของ ไทยใน AEC
EXIM Thailand posted a net profit of 1,516 million baht in 2014, up 200 million baht from 2013, generating Thailand’s trade and investment worth 149,939 million baht, an increase of 4,476 million baht from 2014. Focusing on SMEs, the Bank is prepared to provide loans and insurance coverage against non-payment loss arising from international trade as well as financial facilities to support cross border trade, business expansion or relocation, investment promotion in special economic zones and tailor-made financial packages for AEC buyers of Thai products and services.
นายสุธนัย ประเสริฐสรรพ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ธุรกิจของ EXIM BANK ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ สินเชื่อและรับประกัน การสนับสนุนสินเชื่อของ EXIM BANK แก่ผู้ประกอบการไทยทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 149,939 ล้านบาทในปี 2557 เพิ่มขึ้น 4,476 ล้านบาทจาก 145,463 ล้านบาทในปี 2556 ยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2557 มีจำนวน 73,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากปีก่อนหน้า 5,641 ล้านบาทหรือ 8.35% โดยเป็นสินเชื่อใหม่ที่เบิกจ่ายเพิ่มขึ้นในระหว่างปีจำนวน 27,482 ล้านบาท ส่วนการรับประกันทำให้เกิดปริมาณธุรกิจส่งออกและลงทุนรวม 86,395 ล้านบาทตลอดปี 2557 โดย 9,714 ล้านบาทเป็นธุรกิจส่งออกของ SMEs หรือ 11.46% ของธุรกิจรับประกันรวม ยอดรับประกันคงค้าง ณ สิ้นปี 2557 จำนวน 21,496 ล้านบาท
ทั้งนี้ สินเชื่อของ EXIM BANK ประกอบด้วย สินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการค้า (20%) และสินเชื่อระยะกลาง-ยาวเพื่อการลงทุน (80%) ส่วนการรับประกัน ประกอบด้วย ประกันการส่งออก (88%) และประกันความเสี่ยงการลงทุน (12%) โดย EXIM BANK เป็นธนาคารที่ให้บริการประกันการส่งออกเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2538 และให้บริการประกันความเสี่ยงการลงทุนตั้งแต่ปี 2549
ในปี 2557 EXIM BANK มีรายได้จากธุรกิจสินเชื่อเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 2,421 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 291 ล้านบาทจากปีก่อน และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 431 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 224 ล้านบาท สำหรับรายได้จากธุรกิจบริการประกันในปี 2557 EXIM BANK มีรายได้เบี้ยประกันและค่าธรรมเนียมสุทธิ 135 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27 ล้านบาท ส่งผลให้ EXIM BANK มีรายได้ก่อนกันสำรองหนี้สูญและสงสัยจะสูญเป็นเงิน 2,539 ล้านบาท และกำไรสุทธิในปี 2557 เป็นเงิน 1,516 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 200 ล้านบาทหรือ 15.18% จาก 1,316 ล้านบาทในปี 2556
อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคาร (NPLs Ratio) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 5.58% เป็นจำนวนทั้งสิ้น 4,086 ล้านบาท และมีเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 4,727 ล้านบาท โดยเป็นสำรองหนี้พึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 2,633 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินสำรองที่กันไว้แล้วต่อสำรองพึงกัน 179.49% ทั้งนี้ เป็นการกันสำรองเพิ่มขึ้นในปี 2557 จำนวน 923 ล้านบาท
การสนับสนุนผู้ส่งออก SMEs เป็นนโยบายหนึ่งที่สำคัญของ EXIM BANK โดยธนาคารได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีลูกค้า SMEs เพิ่มมากขึ้น โดยลูกค้า SMEs คิดเป็นสัดส่วน 83.58% ของลูกค้าทั้งหมด มีการอนุมัติวงเงินเพิ่มใหม่ในปี 2557 เท่ากับ 10,774 ล้านบาท และวงเงินอนุมัติสะสมเท่ากับ 56,354 ล้านบาท ยอดคงค้างสินเชื่อให้แก่ผู้ส่งออก SMEs มีจำนวน 22,930 ล้านบาท จากยอดคงค้างสินเชื่อทั้งหมด 73,168 ล้านบาท
ในการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 EXIM BANK ได้สนับสนุนสินเชื่อพาณิชยนาวีเป็นยอดคงค้างรวม 11,769 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.90% จาก 9,423 ล้านบาทในปี 2556 โดยในปี 2557 EXIM BANK ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อพาณิชยนาวีเพิ่มใหม่ 4,150 ล้านบาท และวงเงินอนุมัติสะสมเท่ากับ 13,152 ล้านบาท
ด้านการสนับสนุนสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศ โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ EXIM BANK ที่จะเป็นธนาคารที่สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่เวทีโลก โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ปัจจุบัน EXIM BANK มีวงเงินสินเชื่อโครงการลงทุนระหว่างประเทศรวม 59,020 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินอนุมัติสะสมสำหรับโครงการลงทุนในกัมพูชา สปป.ลาว พม่า เวียดนาม (CLMV) ถึง 52,347 ล้านบาท หรือคิดเป็น 89% ของสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศทั้งหมด โดยเป็นวงเงินอนุมัติเพิ่มใหม่ในปีเท่ากับ 11,942 ล้านบาท ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2557 เท่ากับ 35,782 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน EXIM BANK ยังได้ให้การสนับสนุนด้านการป้องกันความเสี่ยงเพื่อผลักดันให้การค้าการลงทุนระหว่างประเทศกับ CLMV ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีวงเงินป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ประกอบการอยู่ที่ 15,698 ล้านบาท
รักษาการกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ในปี 2558 EXIM BANK ยังคงมีเป้าหมายสนับสนุนผู้ส่งออก ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก และนักลงทุน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยที่จะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออกอย่างเต็มที่ โดย EXIM BANK ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 5 บริการ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการได้อย่างครบวงจร ประกอบด้วย 1. สินเชื่อ SMEs ส่งออกสบายใจ เป็นวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกรับความคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ในอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายที่พิเศษกว่าปกติ และได้รับอนุมัติวงเงินสูงถึง 6 เท่าของหลักประกัน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกและ SMEs ที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้า EXIM BANK 2. สินเชื่อ SMEs ค้าชายแดน เป็นวงเงินกู้ระยะเวลา 1-2 ปี สูงสุด 10 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่ค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน (สปป.ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย) และเวียดนาม 3. สินเชื่อ SMEs ขยายฐาน เป็นเงินกู้ระยะยาว วงเงินสูงสุด 30 ล้านบาท สามารถกู้ได้ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินอื่น ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี สำหรับนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทยหรือต่างประเทศที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ปี นำไปใช้ย้ายหรือขยายการลงทุนในต่างประเทศ 4. สินเชื่อเพื่อการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเงินกู้ระยะยาวสูงสุด 15 ปี เพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) นิคมอุตสาหกรรม และจังหวัดชายแดน 5. สินเชื่อเพิ่มพลังผู้ซื้อผู้ขาย เป็นแพ็กเกจทางการเงินที่ EXIM BANK จัดให้แก่ผู้ส่งออกไทยนำไปเสนอให้แก่ผู้ซื้อใน AEC เพื่อซื้อสินค้าและบริการของผู้ส่งออกไทย
“บริการใหม่ของ EXIM BANK เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยใช้จุดแข็งของ EXIM BANK ในการให้บริการประกันการส่งออกและความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนการค้าขายระหว่างไทยกับคู่ค้าใน AEC โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ช่วยให้ผู้ส่งออกและผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมีสภาพคล่องทางธุรกิจบวกกับความคุ้มครองความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อที่จะเริ่มต้นหรือขยายการค้าหรือการลงทุนได้อย่างมั่นใจ เมื่อ AEC จะมาถึงในปลายปีนี้” นายสุธนัย กล่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-6
Mr. Suthanai Prasertsan, Acting President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), said that EXIM Thailand’s core business comprised of two main facilities: financing and insurance. Business turnover emerging from the Bank’s financing activities amounted to 149,939 million baht, rising by 4,476 million baht from 145,463 million baht in 2013. Loan outstanding as of 2014 year-end accounted for 73,168 million baht, increasing year on year by 5,641 million baht or 8.35% from the 2013 year-end. New loan disbursement during the year 2014 totaled 27,482 million baht. Meanwhile, business turnover under EXIM Thailand’s export credit insurance and investment insurance accounted for 86,395 million baht in 2014. Of this total, 9,714 million baht derived from SME business turnover or 11.46% of the overall insured amount. Insurance exposure as of the end of December 2014 amounted to 21,496 million baht.
EXIM Thailand’s financing facilities include trade financing (20%) and medium- to long-term loan for investment projects (80%) while the Bank’s insurance business consists of export credit insurance (88%) and investment insurance (12%). EXIM Thailand began its export credit insurance operation in 1995 and investment insurance in 2006.
In 2014, the Bank’s operating income arising from financing facilities increased with a net interest income totaling 2,421 million baht, growing by 291 million baht, and a net non-interest income of 431 million baht, up by 224 million baht from a year earlier. Meanwhile, net insurance premiums and fees totaled 135 million baht, increasing by 27 million baht. This resulted in a profit before provision for bad debts, doubtful accounts and impairment loss of 2,539 million baht and a net profit of 1,516 million baht in 2014, rising by 200 million baht or 15.18% from 1,316 million baht in 2013.
As at end-2014, the Bank’s non-performing loans (NPLs) accounted for 4,086 million baht or 5.58%. Allowance for doubtful accounts amounted to 4,727 million baht, comprising provision required by the Bank of Thailand of 2,633 million baht, representing reserve provisioning against legal reserve requirement of 179.49% while additional reserve provisioned during the year 2014 was 923 million baht.
Giving priority to SME exporter promotion, EXIM Thailand has fostered cooperation with related public and private agencies, resulting in an expansion of the Bank’s SME customer base to reach 85.58% of EXIM Thailand’s overall customer portfolio. The Bank’s new SME loan approval during the year amounted to 10,774 million baht, with an aggregate SME loan amount of 56,354 million baht, and loan outstanding worth 22,930 million baht out of the Bank’s total loan outstanding of 73,168 million baht.
On logistics front, as at end-December, 2014, EXIM Bank approved 4,150 million baht in new Merchant Marine loans with an aggregate maritime loan approval amount of 13,152 million baht and loans outstanding worth 11,769 million baht, up 24.90% from 9,423 million baht in 2013.
In sync with EXIM Thailand’s vision to “be a bank that paves the way for new opportunities for Thai businesses in the global arena, particularly in the ASEAN Economic Community (AEC),” the Bank’s aggregate amount of international project financing facilities stood at 59,020 million baht, 89 percent of which (or 52,347 million baht) was dedicated to investment projects in the CLMV (Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam). New loan approval relating to the CLMV accounted for 11,942 million baht while loan outstanding as at the end of December, 2014 was 35,782 million baht. Risk mitigation facilities to promote investment in the CLMV expanded consistently, reaching 15,698 million baht at present.
According to EXIM Bank’s Acting President, moving forward into 2015, EXIM Thailand will continue its role in offering integrated financial solutions to exporters, export related entrepreneurs as well as investors, particularly small enterprises wishing to commence or expand their export business. Five new products will be rolled out, namely, 1. SMEs Export Delight - a 180-day working capital loan plus short-term export credit insurance to protect exporters from non-payment risk by foreign buyers, with attractive interest rates and a credit line up to sixfold the collateral value targeting non-EXIM Thailand customer SMEs 2. SMEs Border Trade - a one- to two-year term loan providing up to 10 million baht per customer for Thai businesses engaging in cross border trade with neighboring countries, namely, Lao PDR, Myanmar, Cambodia, Malaysia and Vietnam 3. SMEs Relocation & Expansion - a long-term loan featuring a credit line up to 30 million baht or baht equivalent with a maximum repayment period of 7 years catering for legal entities registered in Thailand or abroad, having business experience of 3 years and over aiming to relocate or expand their business in foreign countries 4. Financing Facility for Special Economic Development Zones - a long-term loan with a repayment period of up to 15 years to finance investment projects in Special Economic Development Zones declared by the Committee on Special Economic Development Zone, industrial estates and border provinces 5. Buyer’s PLUS Supplier’s Credit - a financial package arranged for Thai exporters to offer to their AEC counterparts interested in purchasing Thai goods and services.
“Relying on EXIM Thailand’s strengths in export credit insurance and experience in Thai-AEC trade finance support, particularly, in the CLMV, EXIM Thailand new products aim to help stimulate the Thai economy in line with the government policy by providing Thai exporters and export-related enterprises with needed liquidity coupled with international trade insurance coverage to enable them to start up or expand their trade or investment activities with confidence with the advent of the AEC later this year,” said Mr. Suthanai.
February 12, 2015
Public Relations Division
Office of Top Management
For further information, please contact Public Relations Division, Office of Top Management
Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 1140-6
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ที่มา: http://www.thaigov.go.th