ทำเนียบรัฐบาล--19 ธ.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (3 ธ.ค. 40) เวลา 08.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายชวน หลักภัย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง "ทศวรรษคนพิการแห่งเอเซียและแฟซิฟิกในโอกาสวันคนพิการสากล" เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสังคมต่อคนพิการ การให้โอกาสคนพิการเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมในทุกด้านอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับสมาชิกอื่น ๆ ของสังคม รวมทั้งส่งเสริมสิทธิและพัฒนาความสามารถของคนพิการให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคม โดยจะเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคำประกาศมีส่วนร่วมและความเสมอภาคของคนพิการในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก (Proclamation on the Full Participation and Equality of People with Disabilities in the Asian and Pacific Region) และร่วมกันพิจารณาแผนปฏิบัติการ (Agenda fot Action) ในทศวรรษคนพิการแห่งเอเซียและแปซิฟิกปี 2536-2545 พร้อมกันนี้ยังได้มอบประกาศเกียรติคุณแก่บุคคล องค์กรที่ให้ความสนับสนุนคนพิการและผู้มีผลงานดีเด่นทางวิชาการ รวม 22 รางวัล จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่เปิดการสัมมนาดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของคนพิการซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคล และพยายามทุกวิถีทางเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าพร้อมเป็นกำลังอีกส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติได้ จะเห็นได้จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่ส่งเสริมสิทธิและโอกาสให้คนพิการได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่นคนทั่วไปอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน สถานภาพคนพิการในบ้านเมืองเราจึงดีขึ้นกว่ายุคที่ผ่านๆ มาอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามหลาย ๆ ฝ่ายยังเห็นว่า แม้สังคมจะให้โอกาสคนพิการมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ยังมีความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความช่วยเหลือและให้โอกาสแก่คนพิการมากยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อให้คนพิการได้รับการปฏิบัติและรู้สึกว่าความพิการมิได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในสังคมแต่อย่างใด รัฐบาลเองก็ตระหนักถึงหน้าที่และภารกิจในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน จึงได้กำหนดไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ว่าจะดูและฟื้นฟูและพัฒนาผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้พิการ และทุพพลภาพเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อยางภูมิใจ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ดำเนินการสนองตอบต่อนโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและความเสมอภาคของคนพิการ ในสังคมขององค์การสหประชาชาติด้วยดีตลอดมา และการจัดสัมมนาในครั้งนี้ จะนำเสนอแผนกิจกรรมในทศวรรษคนพิการทั้งที่ดำเนินการมาแล้วและที่จะดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพิจารณาดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นรูปธรรมต่อไป--จบ--
วันนี้ (3 ธ.ค. 40) เวลา 08.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายชวน หลักภัย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง "ทศวรรษคนพิการแห่งเอเซียและแฟซิฟิกในโอกาสวันคนพิการสากล" เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสังคมต่อคนพิการ การให้โอกาสคนพิการเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมในทุกด้านอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับสมาชิกอื่น ๆ ของสังคม รวมทั้งส่งเสริมสิทธิและพัฒนาความสามารถของคนพิการให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคม โดยจะเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคำประกาศมีส่วนร่วมและความเสมอภาคของคนพิการในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก (Proclamation on the Full Participation and Equality of People with Disabilities in the Asian and Pacific Region) และร่วมกันพิจารณาแผนปฏิบัติการ (Agenda fot Action) ในทศวรรษคนพิการแห่งเอเซียและแปซิฟิกปี 2536-2545 พร้อมกันนี้ยังได้มอบประกาศเกียรติคุณแก่บุคคล องค์กรที่ให้ความสนับสนุนคนพิการและผู้มีผลงานดีเด่นทางวิชาการ รวม 22 รางวัล จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่เปิดการสัมมนาดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของคนพิการซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคล และพยายามทุกวิถีทางเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าพร้อมเป็นกำลังอีกส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติได้ จะเห็นได้จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่ส่งเสริมสิทธิและโอกาสให้คนพิการได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่นคนทั่วไปอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน สถานภาพคนพิการในบ้านเมืองเราจึงดีขึ้นกว่ายุคที่ผ่านๆ มาอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามหลาย ๆ ฝ่ายยังเห็นว่า แม้สังคมจะให้โอกาสคนพิการมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ยังมีความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความช่วยเหลือและให้โอกาสแก่คนพิการมากยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อให้คนพิการได้รับการปฏิบัติและรู้สึกว่าความพิการมิได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในสังคมแต่อย่างใด รัฐบาลเองก็ตระหนักถึงหน้าที่และภารกิจในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน จึงได้กำหนดไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ว่าจะดูและฟื้นฟูและพัฒนาผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้พิการ และทุพพลภาพเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อยางภูมิใจ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ดำเนินการสนองตอบต่อนโยบายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและความเสมอภาคของคนพิการ ในสังคมขององค์การสหประชาชาติด้วยดีตลอดมา และการจัดสัมมนาในครั้งนี้ จะนำเสนอแผนกิจกรรมในทศวรรษคนพิการทั้งที่ดำเนินการมาแล้วและที่จะดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพิจารณาดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นรูปธรรมต่อไป--จบ--