3) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการ (Service Infrastructure) หรือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมบริการผ่านระบบดิจิทัลของทั้งภาครัฐ และเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีต้นทุนต่ำสุด 4) การส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ (Digital Economy Promotion) หรือการส่งเสริมธุรกิจ Digital เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจจากการแข่งขันเชิงราคาไปสู่การแข่งขันเชิงการสร้างคุณค่าของสินค้า และบริการ (Service Innovation) ที่ผู้บริโภคพอใจสูงสุด และ 5) ดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ (Digital Society) หรือการสร้างสังคมดิจิทัลที่ทั่วถึงเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง เท่าเทียมกันผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งมีพลเมืองดิจิทัลที่ฉลาด รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
อีกทั้ง รัฐบาลต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐ ให้มีการบูรณาการข้อมูลและทรัพยากรด้านICT ร่วมกัน เช่น การใช้ Data center กลางสำหรับภาครัฐ เป็นต้น ดังนั้น ในการบูรณาการข้อมูลภาครัฐดังกล่าว จะต้องอาศัยกฎหมายที่ช่วยอำนวยความสะดวก และการวางแผนออกแบบโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนแผ่นพิมพ์เขียวขององค์กร ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ไปจนถึงกระบวนการดำเนินงาน โครงสร้างระบบซอฟต์แวร์และข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน ICT รวมถึงเทคโนโลยี ICT ที่ใช้สนับสนุนการทำงานขององค์กร จึงจะสามารถเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ออกแบบ และวางแผนการพัฒนาโครงการ ICT แบบบูรณาการต่อไปได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบูรณาการในภาษาเทคนิค เรียกว่า EA หรือ สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)
ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานภาครัฐจำเป็นจะต้องปรับกระบวนการทำงานให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายรัฐบาลที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐที่มีวิสัยทัศน์ และประสบการณ์ในการบริหารงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การประชุม CIO ภาครัฐ จึงเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่จะตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล นอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เพื่อให้เกิดการบูรณาการภาครัฐอย่างแท้จริง ตลอดจนมีการประสานการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่ได้รับจากผู้บริหาร CIO ภาครัฐ จะเป็นประโยชน์ต่อการบูรณาการด้านการพัฒนา ICT ระดับประเทศ ตามแนวนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป
ด้านนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือ Chief
Information Officer (CIO) จัดเป็นผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร กระทรวงไอซีทีในฐานะหน่วยงานหลักในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐ จึงได้ดำเนินการจัดการประชุมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงหรือ CIO ภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง
โดยในครั้งนี้ กระทรวงฯ ได้เรียนเชิญ CIO ภาครัฐจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสิ้น 40 หน่วยงาน มาชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางในการขับเคลื่อนหน่วยงานไปสู่ Digital Government ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) แนวทางการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศภาครัฐตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีที กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ข้อมูลทะเบียนราษฎร ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และข้อมูลทะเบียนคนจน เพื่อนำไปใช้สนับสนุนมาตรการและนโยบายสำคัญของรัฐบาล ตลอดจนนำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไทยยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และการรณรงค์ให้จัดทำระบบศูนย์ปฏิบัติการระดับกรม (Department Operation Center : DOC) และระบบศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวง (Ministerial Operation Center : MOC) เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนผู้บริหารในการวางแผนและตัดสินใจ และบูรณาการข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Operation Center : PMOC) เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีต่อไป
ที่มา: http://www.thaigov.go.th