นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้อธิบายให้รายละเอียดมุมมองด้านกฎหมายกรณี มาตรา 44 ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ ชั่วคราวนี้ ว่ามาตราลักษณะนี้ มิใช่เรื่องใหม่ และเคยถูกเมื่อกลางปีที่ผ่านมา เพื่อต่ออายุการบริหารของผู้บริหารท้องถิ่น(ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) ที่หมดอายุลง และเมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา คณะ คสช. ได้เสนอให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก จึงได้มีการประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงgบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือ ซึ่งได้มีการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการค้าการพาณิชย์ อาทิ การแก้ปัญหาเรื่องการบินพลเรือนของไทย การดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น หากเป็นช่วงเวลาปกติ ทั่วไปนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งว่า อาจต้องใช้เวลาเป็นปีสำหรับขั้นตอนการดำเนินการ
นายวิษณุ ฯ ยังกล่าวถึงสถานการณ์ประเทศไทยที่ยังคงอยู่ภายใต้สถานการณ์พิเศษว่า มีการคาดการณ์จากฝ่ายมั่นคงถึงภัยความมั่นคงที่คาดว่าอาจจะมาจาก 5 กลุ่มสำคัญ ประกอบด้วย นักการเมืองที่สูญเสียอำนาจ /ผู้ได้รับผิดกระทบจากมาตรการด้านสังคมและความมั่นคงที่ดำเนินการโดยคณะ คสช. /ผู้ที่ยังคงต้องการสร้างสถานการณ์ความรุนแรง / ผู้ที่ต้องยับยั้งกระบวนการการจัดการเลือกตั้งทั่วไป หรือต้องการหาประโยชน์ส่วนตัว /กลุ่มบุคคลที่แสดงความคิดเห็นของตน ในหนทางที่รุนแรง ดังนั้น การคงเครื่องมือพิเศษเพื่อทดแทนกฎอัยการศึก จึงยังเป็นความจำเป็น
สำหรับมาตรา 44 ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว นี้ มิใช่มาตรใหม่ของรัฐธรรมนูญไทย ได้มีการคัดลอกมาจากรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวหลายฉบับ สามารถย้อนหลังกลับไปที่มาตรา 17 ของรัฐธรรมนูญฉบับ ชั่วคราว ปี 1959 ซึ่งเป็นการดัดแปลงมาจากมาตรา 16 ตามรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส แม้จะดูเหมือนว่า อาจจะมีกฎหมายอื่นๆ จะเป็นทางเลือก ทั้งกฎหมายรักษาความมั่นคงภายใน (Internal Security law) กฎหมายในสถานการณ์การฉุกเฉิน (Emergency Law) แต่ก็มีเงื่อนไขผลลัพธ์ที่ตามมาแตกต่างกัน
เมื่อมีการประกาศ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ นั้น สิ่งที่ตามมามีลักษณะสำคัญ คือ 1) ไม่มีการประกาศกฎอัยการศึก หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน 2) การดำเนินคดีใน 4 ความผิดสำคัญ คือ ความผิดต่อสถาบัน / ความผิดด้านความมั่นคง / ความผิดอาวุธปืน อาวุธใช้ในสงคราม และการละเมิดประกาศและคำสั่งของคณะ คสช. เท่านั้น นอกจากฐานความผิดดังกล่าวว่า จะเป็นไปตามกระบวนตามปกติทางกฎหมาย 3) เจ้าหน้าทีสามารถจับกุมและควบคุมผู้ต้องสงสัย ได้ภายใน 7 วัน ซึ่งจะต้องไม่ใช้ห้องขังหรือสถานีตำรวจ 4) การชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน สามารถดำเนินการได้ หากได้รับการเห็นชอบจากคณะ คสช. 5) การละเมิดคำสั่ง/ประกาศ คสช.สามารถได้รับการยกเว้นการดำเนินคดีได้ 6) การละเมิดคำสั่ง ฯ ที่ 3/2558 ยังไม่มีความรุนแรงเทียบเท่าการละเมิดกฎอัยการศึกษา หรือ กฎหมายการรักษาความมั่นคงภายใน นอกจากนี้ ผู้กระทำความผิดใน 4 ลักษณะความผิดข้างต้น ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ซึ่งภายใต้กฎอัยการศึกไม่สามารถดำเนินการได้
โดยก่อนหน้านั้น รองโฆษกกองทัพบก ได้ชี้แจ้งถึงเหตุผลและความจำเป็นว่า คณะ คสช. จะต้องมีกฎหมายพิเศษที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสถานการณ์ก่อนหน้านี้มีความขัดอย่างรุนแรงของคนในชาติ สื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกปั่นให้มีความเกลียดชัง รวมทั้งการล่วงละเมิดสถาบันที่เป็นที่เคารพและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ล้วนกระทบต่อความมั่นคงและสังคมอย่างรุนแรง เป็นภาวะไม่ปกติ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีเครื่องพิเศษ เพื่อผู้บริหารสามารถแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและเป็นเครื่องมือสำหรับการรักษาความมั่นคง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ดังนั้น กฎอัยการศึก จึงเป็นเครื่องมือหลัก ที่ผ่านแสดงให้เห็นแล้วว่า มีการใช้บางมาตราเท่าที่จำเป็นและดำเนินการอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและความเป็นสากล เพื่อความมั่นคงและทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยเท่านั้น
ปัจจุบัน กฎอัยการศึก ถูกยกเลิกแต่ภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมยังคงต้องดำเนินต่อไป จึงได้มี การประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ภายใต้ มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยมีประเด็นหลัก คือ ให้เจ้าพนักงานสามารถดำเนินต่อผู้กระทำผิด ใน 4 ลักษณะสำคัญ คือ ความผิดต่อสถาบัน / ความผิดด้านความมั่นคงตามกฎหมายอาญา มาตรา 113-118 / ความผิดอาวุธปืน อาวุธใช้ในสงคราม/ ฝ่าฝืนประกาศและคำสั่งของคณะ คสช. นอกจากนี้ ยังเป็นไปเพื่อความร่วมมือในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน เพื่อมิให้กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม รวมทั้งการขอสงวนการชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม นักการเมืองยังสามารถนำเสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางที่เหมาะสมที่มีอยู่ในขณะนี้
รองโฆษกกองทัพบกยังกล่าวสรุปในตอนท้ายว่า การใช้กฎอัยการศึกที่ผ่านมา เป็นเสมือนเครื่องมือเพื่อความมั่นคงที่ใช้เพื่อการดูแลชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้ประชาชนทั่วไปมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตยิ่งขึ้น เท่านั้น
ในตอนท้าย รองนายกรัฐมนตรีและพลตรีวีรชน ฯ ยังได้ตอบข้อซักถามจากผู้ต่างประเทศและสื่อมวลชนต่างประเทศ ที่ให้ความสนใจความชัดเจนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ปฏิวัติงานว่า เจ้าหน้าที่พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ จะต้องเป็นไปตามคำสั่งของ หัวหน้าคณะ คสช. เท่านั้น ซึ่งจะสามารถขอตรวจบัตรหรือเอกสารประจำตนได้ จนถึง ขอให้มั่นใจเจ้าหน้าที่ให้ความปลอดภัยและประเทศไทยยินดีต้อนรับชาวต่างประเทศและนักท่องเที่ยวทุกคน
ที่มา: http://www.thaigov.go.th