ผลการดำเนินของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรอบ 6 เดือน มุ่งเป้าพร้อมใจแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน

ข่าวทั่วไป Friday April 24, 2015 12:16 —สำนักโฆษก

วันนี้ (24 เม.ย. 58) เวลา 13.30 น. ณ ห้องอารีย์สัมพันธ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงผลการดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรอบ 6 เดือน (12 กันยายน 2557 – 12 มีนาคม 2558) มุ่งเป้าแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน แก้ไขปัญหาของสังคมตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค์ต่อการปฏิบัติงาน รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและความเรียบร้อยของบ้านเมือง

1) การป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าภาคเหนือ ?

จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ โดยให้จังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบตามระบบศูนย์สั่งการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) เน้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้แนวคิด "120 วัน คืนฟ้าใส อากาศบริสุทธิ์ให้ชุมชน” ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2558

จัดทำมาตรการป้องกันเร่งด่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าภาคเหนือ อาทิ จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ (ศอ.กฟป.ชาติ) , จัดกำลังและยุทโธปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติในอำเภอที่เสี่ยง , การจัดทำประกาศห้ามเข้าไปในเขตป่าอนุรักษ์ทุกพื้นที่อย่างเด็ดขาด ในช่วงตั้งแต่ปัจจุบันถึงวันที่ 30 เมษายน 2558 ,จัดทำห้อง Clean Room , ประสานประเทศเมียนมาร์และลาว เพื่อขอความร่วมมือให้เร่งควบคุมและลดการเผา ตามข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน

2) การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

จัดทำและดำเนินงานตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน (6 เดือน) 2) ระยะปานกลาง (1 ปี) และ 3) ระยะยาว (1 ปี ขึ้นไป) เป้าหมายจัดการขยะมูลฝอยตกค้างสะสม 30.83 ล้านตัน/ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสม ได้แล้ว 9,262,364 ตัน จากจำนวนทั้งหมด 11,047,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 84 , คัดเลือกพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม 89 แห่ง , คัดเลือกพื้นที่ศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายชุมชนของจังหวัด ทั้งหมด 246 กลุ่มพื้นที่ , ส่งเสริมพื้นที่ที่มีศักยภาพในรูปการแปรรูปขยะมลฝอยเพื่อผลิตพลังงาน จำนวน 53 แห่ง , ยกร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... เสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายในเดือนเมษายน 2558 ส่วนร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแห่งชาติ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างยกร่างและดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ คาดว่าจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายในเดือนพฤษภาคม 2558

3) การจัดที่ดินแก่ผู้ไร้ที่ทำกิน กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2558 ดังนี้

การส่งมอบที่ดิน เพื่อนำไปจัดที่ดิน : คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน ส่งมอบที่ดินให้คณะอนุกรรมการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 53,697 ไร่ เพื่อไปดำเนินการ ใน 6 พื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ นครพนม มุกดาหาร และชุมพร

การจัดที่ดิน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 (ธันวาคม 2557 – กุมภาพันธ์ 2558) ได้มีการจัดที่ดินให้แก่ผู้ไร้ที่ทำกินพื้นที่แรก คือ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7,282 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน 1,235 ครัวเรือน

ระยะที่ 2 (มีนาคม 2558 – พฤษภาคม 2558) ดำเนินการในพื้นที่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 8 พื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลำปาง อุตรดิตถ์ เชียงราย พังงา ยโสธร และอุบลราชธานี พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน 4 พื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ชุมพร กาฬสินธุ์ และ นครราชสีมา 4) การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้

ผลการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ (ทวงคืนผืนป่า) ระหว่างวันที่

1 ตุลาคม 2557 - 30 มีนาคม 2558 สามารถจับกุมผู้กระทำผิดในการบุกรุกพื้นที่ป่า จำนวน 1,228 คดี ผู้ต้องหา 248 ราย พื้นที่บุกรุกทำลาย 42,881 ไร่ 34 งาน

ผลการจัดทำพื้นที่ปฏิบัติการ (AreaofOperation=AO) ภายใต้แผนการป้องกันและปราบปรามผู้บุกรุกพื้นที่ป่าไม้ สรุปได้ดังนี้

AO1 พื้นที่ป่าไม้ที่มีการบุกรุกมีการดำเนินคดีกับผู้ที่บุกรุก และคดีได้ถึงที่สุดแล้ว จำนวน 46,345 ไร่ ได้ดำเนินการรื้อถอน และนำพื้นที่กลับคืนมาจากคดีที่สิ้นสุดแล้ว จำนวน 9,889 ไร่

AO2 พื้นที่ป่าไม้ที่มีการบุกรุก และได้แจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว จำนวน 429,284 ไร่ ได้ดำเนินการคดีถึงที่สุดแล้ว จำนวน 18,077 ไร่

AO3 พื้นที่ป่าไม้ที่มีการตรวจพบ แต่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิสูจน์สิทธิ จำนวน 32,023,639 ไร่ ได้ดำเนินการตรวจพิสูจน์สิทธิ์แล้วเสร็จ จำนวน 36,541 ไร่

AO4 พื้นที่ป่าไม้ส่วนที่เหลือที่ต้องดูแลรักษา จำนวน 100,923,948 ไร่ ได้ดำเนินการป้องปราม โดยใช้มาตรการการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่เดินเท้า การลาดตระเวนทางอากาศ และการเฝ้าติดตามโดยวิเคราะห์จากภาพดาวเทียมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาป่า จำนวน 2,831,215 ไร่

5) การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

ผลการดำเนินการในปี 2558 - พิจารณาอนุมัติคำขอใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 74 คำขอ

จัดประชุมผู้ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง 6) การแก้ไขปัญหางาช้าง ตามมติคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา CITES

ผลการรับแจ้งครอบครองงาช้างแอฟริกา จำนวน 12 ราย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1) ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง (งาช้างสมบูรณ์) จำนวน 20 กิ่ง น้ำหนัก 400.06 ก.ก. /งาช้างท่อน จำนวน 2 ท่อน น้ำหนัก 2.56 ก.ก. /ประเภทที่ 2 ผลิตภัณฑ์ (งาช้าง) จำนวน 16 ชิ้น น้ำหนัก 11.25 ก.ก.

ผลการรับแจ้งครอบครองงาช้างตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 (ช้างบ้าน) จำนวน 10,172 ราย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1) กิ่งงาช้างสมบูรณ์ จำนวน 16,078 กิ่ง น้ำหนัก 76,718 ก.ก. ประเภทที่ 2) งาช้างท่อน จำนวน 3,840 ท่อน น้ำหนัก 3,284 ก.ก. ประเภทที่ 3) ผลิตภัณฑ์ จำนวน 266,676 ชิ้น น้ำหนัก 11,416 ก.ก.

ประชาสัมพันธ์รณรงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 7) การแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่า ผลการดำเนินงาน 6 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.57 –มี.ค.58)

การป้องกันและปราบปราม สามารถจับกุมการลักลอบตัดไม้พะยูง จำนวน 394 คดี ผู้ต้องหา จำนวน 325 คน / ตรวจยึด ไม้พะยูงของกลาง จำนวน 4,773 ท่อน/แผ่นเหลี่ยม ปริมาตร 195.53 ลูกบาศก์เมตร มูลค่า ประมาณ 97 ล้านบาท / 8) การบริหาร…

กำหนดนโยบายและแนวทาง การแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา

การจัดการไม้ของกลาง ได้ขนย้ายไม้พะยูงของกลางที่สิ้นสุดคดีแล้ว ปริมาตร 1,246.55 ลบ.ม. (ร้อยละ 68.25 ของเป้าหมาย) นำไปแปรรูป ณ โรงเลื่อยขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ

8) การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ผลจากการดำเนิน : จัดทำข้อมูลสถานภาพแนวปะการังหลังการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาว เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ผู้ประกอบการ ผู้ใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง /จัดทำแนวทางการจัดการเพื่อลดผลกระทบ เช่น พื้นที่บางบริเวณควรปิดการใช้ประโยชน์เพื่อช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวตามธรรมชาติของแนวปะการังที่เกิดการฟอกขาวตามความเหมาะสม / ดำเนินการติดตั้งและซ่อมแซมทุ่นจอดเรือในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแห่งชาติทางทะเล 8 แห่ง จำนวน 235 ลูก / จัดทำฐานข้อมูลสำหรับติดตามการกัดเซาะชายฝั่งเพื่อหาแนวทางป้องกันและเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลดำเนินการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล

9) การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

สามารถสูบน้ำเพื่อการเติมน้ำในแหล่งน้ำสำหรับระบบประปาและการเกษตร ในพื้นที่ 22 จังหวัด จำนวน 82 แห่ง ปริมาณน้ำ 20,936,943 ลูกบาศก์เมตร

สามารถเจาะบ่อบาดาล เพื่อหาน้ำสำหรับการอุปโภค/บริโภคและการเกษตร ในพื้นที่ 71จังหวัดแล้วเสร็จ 1,665 บ่อ อยู่ระหว่างดำเนินการ 1,044 บ่อ

การแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคได้กว่า 9 แสนลิตร 10) การจัดทำ Mobile Application ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยการเปิดตัว Mobile Application จำนวน 14 Applications เพื่อเพิ่มศักยภาพและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างรวดเร็วทุกสถานการณ์ สามารถแยกออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ • ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีจำนวน 5 Application

ด้านสิ่งแวดล้อม มีจำนวน 7 Application ด้านทรัพยากรน้ำ มี 2 Application

11) การอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำและระบบเตือนภัย

ดำเนินการจัดทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำ ได้แก่ การปรับปรุงขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศแหล่งน้ำ(ทางน้ำเข้า/ออก) การปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่ ติดตั้งระบบเตือนภัยน้ำท่วม – ดินถล่ม (Early Warning) ครอบคลุมหมู่บ้านเสี่ยงภัย

นอกจากการดำเนินงานข้างต้นแล้ว กระทรวงฯ ได้การจัดทำโครงการ/กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแสดงน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อาทิ การจัดงาน แสง สี เสียง "ช้างไทยตำนานยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดิน : The Great Legend of Thai Elephant” ประจำปี 2558 , การประกาศเจตนารมณ์ถวายปณิธานทำความดี ในโครงการ "ปณิธานความดี ปีมหามงคล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” , การจัดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่วนอุทยานไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก อีกด้วย

ทั้งนี้ ภายหลังแถลงผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ แล้ว พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำหัวหน้าหน่วยงาน รองหัวหน้าหน่วยงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงฯ และสื่อมวลชน เยี่ยมชมนิทรรศการผลงานบริเวณห้องโถง ชั้น 3 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสนี้ด้วย

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ