หลังจากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ประสานทีมที่ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นหน่วยงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีที่ทำงานในพื้นที่ร่วมกับศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคใต้ (ศวภ.3) โดยเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยทักษิณ พิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยกันบริเวณพื้นที่รอบบ้านที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้มีคนเข้าออกพลุกพล่าน มีการตั้งกล้องวงจรปิด 11 จุด ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อสังเกตการณ์และวิเคราะห์เปลวไฟว่าเกิดจากสารตั้งต้นตัวใด ใช้เครื่องมือตรวจจับแก๊ส พร้อมเก็บวัตถุที่เคยเกิดไฟไหม้นำไปตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีประเภท Oxidant ตรวจจับแก๊ส ทั้งในบ้านและรอบนอกตัวบ้าน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องตรวจวัดความร้อน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยทักษิณได้ดำเนินการตรวจสอบโครงสร้างทางธรณีวิทยาโดยตรวจสอบประจุไฟฟ้า และติดตั้งกล้องวัดอุณหภูมิ ความชื้นและรังสี 8 ตัว เพื่อวัดค่าที่เกิดขึ้นบริเวณบ้าน
รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า ข้อมูลเบื้องต้นจากการ Monitor ของมหาวิทยาลัยทักษิณยังไม่พบเหตุการณ์ ไฟลุกไหม้ในบริเวณที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด แต่ข้อมูลจากเครื่องวัดความร้อน พบว่ามีแก๊สไวไฟอยู่แต่ยังระบุไม่ได้ว่าเป็นแก๊สชนิดใด ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กำลังรอรายงานสรุปจากมหาวิทยาลัยทักษิณอีกครั้ง ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เน้นย้ำว่าเพื่อไม่ให้ประชาชนคนไทย หรือสังคมไทยมีความคิดโอนเอียงไปในทางความเชื่อหรือไสยศาสตร์มากนัก ดังนั้น โดยหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะดำเนินการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ไปลบล้างความเชื่อหรือวัฒนาธรรมชุมชนแต่ประการใด นอกจากจะนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนใช้ประกอบหรือเปรียบเทียบให้ตระหนักรู้ในสิ่งที่น่าจะเป็น ดังนั้น จึงอยากฝากให้สังคมไทยมีการฝึกฝนฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อปรับแนวคิด ความเชื่อประชาชนให้มีเหตุมีผลจนทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมฐานความรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป
ข่าวและภาพโดย: กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
อีเมลล์ : pr@most.go.th
ที่มา: http://www.thaigov.go.th