1. รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 มีนาคม 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,730,519.23 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.33 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 10,093.66 ล้านบาท ทั้งนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP มีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ปรับปรุงวิธีการคำนวณ GDP และปรับประมาณการในปี 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 23,846.11 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 16,102.76 ล้านบาท
- การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด จำนวน 5,000 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 2,398.08 ล้านบาท ประกอบด้วย การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย 1,956.08 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รถไฟสายสีแดงและโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) 442 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ จำนวน 200 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลล่วงหน้าที่จะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 จำนวน 9,014 ล้านบาท
- การชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 5,000 ล้านบาท
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินมียอดหนี้คงค้างลดลง 9,195.48 ล้านบาท ซึ่งในเดือนมีนาคม 2558 มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศเพื่อลงทุนในโครงการสำคัญๆ ได้แก่ โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักของการประปานครหลวง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 3,334.90 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หนี้หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลง 1,222.07 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของกองทุนอ้อยและน้ำตาล สำนักงานธนานุเคราะห์ และมหาวิทยาลัยพะเยา
การที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานของรัฐมียอดหนี้คงค้างลดลง เนื่องจากมีการชำระคืนมากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ และจากผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 เท่ากับ 5,730,519.23 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 5,388,803.31 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 94.04 และหนี้ต่างประเทศ 341,715.92 ล้านบาท (ประมาณ 10,385.37 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 5.96 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และ หากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 157,370.68 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว (ข้อมูล ณ 27 มีนาคม 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.60 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ
โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,570,643.93 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.21 และมีหนี้ระยะสั้นเพียง 159,875.30 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.79
2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประจำเดือนมีนาคม 2558
สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 90,805.83 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 62,995.76 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 27,810.07 ล้านบาท
- การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 62,995.76 ล้านบาท ประกอบด้วย
ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 18,167.89 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 16,102.76 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 2 รุ่น จำนวน 15,000 ล้านบาท มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.53 ต่อปี และพันธบัตรออมทรัพย์ จำนวน 1,102.76 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จำนวน 200 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
- การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,423.13 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 442 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 วงเงิน 2,500 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาล จำนวน 607.07 ล้านบาท ประกอบด้วยการเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 74.12 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องการจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง และการเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 532.95 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 23,014 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ปรับโครงสร้างหนี้สัญญาเงินกู้ระยะสั้น ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 14,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลทั้งจำนวน
- การปรับโครงสร้างหนี้ล่วงหน้า สำหรับพันธบัตรรัฐบาลที่จะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 การออก R-bill จำนวน 9,014 ล้านบาท
การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 21,206.80 ล้านบาท แบ่งเป็น
- การชำระหนี้โดยใช้เงินจากงบประมาณ จำนวน 11,297.65 ล้านบาท แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 3,000 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 8,297.65 ล้านบาท
- การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้มาเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 8,970.22 ล้านบาท โดยใช้เงินค่าธรรมเนียมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับจากธนาคารพาณิชย์ภายใต้ พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือ FIDF ฯ แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 5,000 ล้านบาท ชำระดอกเบี้ย 3,970.22 ล้านบาท
- การชำระหนี้ของเงินกู้ให้กู้ต่อของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 938.93 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย
*การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 27,810.07 ล้านบาท ประกอบด้วย
การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2,900 ล้านบาท แบ่งเป็น การออกพันธบัตรที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 2,000 ล้านบาท และการทำสัญญาเงินกู้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งกระทรวงการคลังค้ำประกันของการเคหะแห่งชาติ จำนวน 900 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 110.07 ล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายของการประปานครหลวง 90.03 ล้านบาท และการเบิกจ่ายของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 20.04 ล้านบาท
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ในเดือนมีนาคม 2558 รัฐวิสาหกิจได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ โดยการขยายอายุสัญญาเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงเงินรวม 24,800 ล้านบาท
คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505,5522,5903
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 ดังนี้
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2558 มีจำนวน 5,730,519.23 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.33 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 10,093.66 ล้านบาท ทั้งนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP มีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ปรับปรุงวิธีการคำนวณ GDP และปรับประมาณการในปี 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หนี้ของรัฐบาล 4,094,008.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23,846.11 ล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,051,550.97 ล้านบาท ลดลง 9,195.48 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 576,763.02 ล้านบาท ลดลง 3,334.90 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 8,196.65 ล้านบาท ลดลง 1,222.07 ล้านบาท
ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 ปรากฏตามแผนภาพที่ 1 และตารางที่ 1 ตามลำดับ
1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 19,832.11 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 603.15 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 4.80 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 598.35 ล้านบาท ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 19,228.96 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้เพิ่มขึ้น 18,102.76 ล้านบาท เนื่องจาก
การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 16,102.76 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 1,102.76 ล้านบาท
การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังสุทธิ 5,000 ล้านบาท
การชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการบริหารหนี้ ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 3,000 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 200 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ
- เงินกู้ให้กู้ต่อ เพิ่มขึ้น 484.20 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 1,057.10 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 396.60 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง 375.21 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 285.29 ล้านบาท
การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้น้อยกว่าการชำระคืน จำนวน 572.90 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 366.03 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง วงเงิน 313.91 ล้านบาท และโครงการรถไฟสายสีแดง วงเงิน 52.12 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 938.93 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ 442 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้ต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 2,500 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 5,000 ล้านบาท เกิดจากการชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 9,014 ล้านบาท โดยเป็นการออก R-bill ทั้งจำนวน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,161.68 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 687.84 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 473.84 ล้านบาท ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 757.65 ล้านบาท เนื่องจาก
- การเคหะแห่งชาติออกพันธบัตร 50 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 3,000 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 250 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 3,442.35 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 4,500 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,057.65 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2,505.72 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,381.60 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายเงินและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 1,124.12 ล้านบาท ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 4,770.43 ล้านบาท เนื่องจาก
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 2,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 75 ล้านบาท
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด 6,000 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 500 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 195.43 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 3,696.22 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 3,891.65 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 113.90 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 2.38 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยน ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 111.52 ล้านบาท ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 5
3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3,221 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 1,222.07 ล้านบาท เนื่องจาก
- กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 892.07 ล้านบาทโดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 0.50 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 892.57 ล้านบาท
- สำนักงานธนานุเคราะห์ชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ จำนวน 325 ล้านบาท
- มหาวิทยาลัยพะเยาชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ จำนวน 5 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2558 มีจำนวน 5,730,519.23 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,730,519.23 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 341,715.92 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.96 และหนี้ในประเทศ 5,388,803.31 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 94.04 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6
หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,730,519.23 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,570,643.93 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.21 และ หนี้ระยะสั้น 159,875.30 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.79 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 7
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,730,519.23 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,976,803.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.85 และหนี้ระยะสั้น 753,716.03 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.15 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 8
หมายเหตุ: การนำข้อมูลและ/หรือบทวิเคราะห์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะไปใช้และ/หรือเผยแพร่ต่อ ขอความร่วมมืออ้างแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512, 5522
เอกสารแนบ 2
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือนมีนาคม 2558 วงเงินรวม 90,805.83 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 62,995.76 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ 27,810.07 ล้านบาท
1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล วงเงินรวม 62,995.76 ล้านบาท
1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล กระทรวงการคลังกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 18,167.89 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้
1.1.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 16,102.76 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 1,102.76 ล้านบาท
1.1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จำนวน 200 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
1.1.3 การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,423.13 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น (1) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 375.21 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน จำนวน 396.60 ล้านบาท และสายสีเขียว จำนวน 285.29 ล้านบาท และ (2) การให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 52.12 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง จำนวน 313.91 ล้านบาท
1.1.4 การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 442 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลก เพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 วงเงิน 2,500 ล้านบาท
1.2 ผลการกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐบาล ในเดือนมีนาคม 2558 กระทรวงการคลังได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศ จำนวน 607.07 ล้านบาทรายละเอียดดังนี้
1.2.1 เบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องการจราจร (ระยะที่ 2 ) ของกรมทางหลวง จำนวน 2.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 74.12 ล้านบาท
1.2.2 เบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟ แห่งประเทศไทย สำหรับโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 1,948.40 ล้านเยน หรือคิดเป็น 532.95 ล้านบาท
1.3 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 23,014 ล้านบาท
1.3.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 14,000 ล้านบาท ในเดือนมีนาคม 2558 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้สัญญาเงินกู้ระยะสั้น ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 14,000 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลทั้งจำนวน
1.3.2 การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 9,014 ล้านบาท ในเดือนมีนาคม 2558 มีการกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) โดยเป็นการออก R-Bill จำนวน 9,014 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะฯ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558
1.4 การชำระหนี้ของรัฐบาล กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้ จำนวน 21,206.80 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
1.4.1 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากงบประมาณ เป็นจำนวน 11,297.65 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้
- ชำระหนี้ในประเทศ 11,289.15 ล้านบาท แบ่งเป็น ต้นเงิน 3,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 8,288.35 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 0.80 ล้านบาท
- ชำระหนี้ต่างประเทศ 8.50 ล้านบาท แบ่งเป็น ดอกเบี้ย 8.38 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 0.12 ล้านบาท
1.4.2 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากแหล่งอื่น เป็นจำนวน 9,909.15 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้
(1) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 1,096.12 ล้านบาท ซึ่งเป็นการชำระดอกเบี้ยทั้งจำนวน โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุน เพื่อการฟื้นฟูฯ
(2) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) จำนวน 7,874.10 ล้านบาท แบ่งเป็นการชำระต้นเงิน 5,000 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย 2,874.10 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
(3) การชำระหนี้ของเงินกู้ให้กู้ต่อของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 938.93 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย
2. การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ ในเดือนมีนาคม 2558 วงเงินรวม 27,810.07 ล้านบาท
2.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ในเดือนมีนาคม 2558 รัฐวิสาหกิจได้มีการกู้เงินในประเทศเป็นเงิน 2,900 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 3
2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ ในเดือนมีนาคม 2558 รัฐวิสาหกิจได้มีการเบิกเงินกู้ต่างประเทศเป็นเงิน 110.07 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.2.1 การประปานครหลวงเบิกจ่ายเงินกู้จาก JICA สำหรับโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก จำนวน 329.14 ล้านเยน หรือคิดเป็น 90.03 ล้านบาท
2.2.2 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารเพี่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JBIC) สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 73.27 ล้านเยน หรือคิดเป็น 20.04 ล้านบาท
2.3 ผลการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ในเดือนมีนาคม 2558 รัฐวิสาหกิจได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นเงิน 24,800 ล้านบาท
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ที่มา: http://www.thaigov.go.th