ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.ย.--บิสนิวส์
วันนี้ (12 ก.ย.) เมื่อเวลา 12.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ โรงแรมราฟเฟิลส์ (Raffles Hotel) ประเทศสิงคโปร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองนายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญจาก The Economist Conferences ไปกล่าวสุนทรพจน์แก่นักธุรกิจสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากสมาคมหอการค้าต่างประเทศประจำสิงคโปร์ (The Singapore International Chambers of Commerce) และสมาคมนักธุรกิจของสิงคโปร์ (The Singapore Regional Managers' Club and other Associations) ทั้งนี้ การเดินทางไปร่วมการประชุมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการยืนยันในเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการให้การสนับสนุนการจัดงานสัมมนาทางวิชาการ "THAILAND BUSINESS ROUNTABLE" ระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2540 ณ โรงแรมรีเจนท์ กรุงเทพฯ สาระสำคัญของสุนทรพจน์ สรุปได้ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัจจุบัน จากการที่ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวงจรทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และการขอรับแผนการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้น นอกจากรัฐบาลไทยจะต้องมีการดำเนินมาตรการประหยัดในเรื่องการใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นที่คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5 ต่อปี ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความเข้าใจดีว่าความยากลำบากในการดำเนินตามมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ตกลงไว้กับกองทุน IMF นั้น เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน เพื่อการแก้ไขปัญหาในจุดที่พบกพร่องในอดีต พร้อมกันนี้ ยังได้กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ได้ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินกู้แก่ประเทศไทยภายใต้แผนการของ IMF ด้วย ซึ่งนับเป็นการแสดงถึงความเป็นมิตรที่แท้จริงในยามที่ประเทศไทยมีความยากลำบากและต้องการความช่วยเหลือ
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการเปิดเสรีทางด้านการเงิน ในขณะเดียวกันระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของไทยถูกกำหนดให้อยู่คงที่ (fixed exchange rate) ทำให้เกิดภาวะของความเสี่ยงน้อย (risk free arbitrage) เงินทุนที่กู้ยืมจากต่างประเทศมีราคาถูกกว่าการกู้ยืมจากภายในประเทศ และได้นำไปสู่การก่อหนี้จำนวนมากของบริษัทเอกชนต่าง ๆและหนี้สินดังกล่าวได้เพิ่มสูงมากขึ้นอีก จากการที่ค่าเงินบาทได้ตกต่ำลงถึงร้อยละ 40 ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศนโยบายลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สำหรับในภาคธุรกิจการเงินของไทยนั้น ปัญหาที่สำคัญคือหนี้สินจำนวนมากที่เกิดขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของหนี้สูญจำนวนมากในสถาบันการเงินและธนาคารเอกชน อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยปัจจุบัน ได้ยืนยันว่าข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องตัวเลขของหนี้สินและจำนวนของเงินกู้ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิต (Non-Performing Loans - NPLs) หรือหนี้สูญรวมถึงตัวเลขเงินทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น จะได้รับการเปิดเผยโดยธนาคารแห่งประเทศไทยทุกสองสัปดาห์ เพื่อให้นักธุรกิจได้รับทราบข้อมูลด้วยความโปร่งใสและชัดเจน
นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า ปัญหาเร่งด่วนในขณะนี้ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินของไทยคือ ความเชื่อมั่นที่ลดน้อยถอยลง ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ ทั้งนี้ การขาดความเชื่อมั่นดังกล่าวได้ส่งผลต่อภาวะของดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อันสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของการให้สินเชื่อ และได้ส่งผลต่อภาวะสภาพคล่องทางการเงินในปัจจุบันของไทย ในช่วงที่ผ่านมา หนี้สินต่างประเทศของภาคเอกชนไทยมีปริมาณสูงกว่า 70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในจำนวนดังกล่าว ประมาณ 37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นหนี้ระยะสั้น ดังนั้นจึงมีความกังวลว่าการไหลออกของเงินทุนระยะสั้นดังกล่าว เป็นสาเหตุใหญ่ที่ได้ทำให้ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวลง อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้น จะช่วยลดข่าวแรงกดดันดังกล่าวได้
ในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลจึงได้มีข้อตัดสินใจว่า การปรับโครงสร้างทางการเงิน มีความสำคัญเร่งด่วนเป็นอันดับแรกสำหรับประเทศไทย ที่จะต้องดำเนินการในช่วงระยะเวลาข้างหน้านี้ พร้อมกันนี้รัฐบาลไทยยังได้ขอรับความช่วยเหลือจากธนาคารโลก (World Bank) เพื่อหารือถึงแผนการและมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการขอคำปรึกษาทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลกซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินการธนาคารในประเทศสวีเดน และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ซึ่งรวมถึงเม็กซิโกมาแล้ว ขณะเดียวกัน ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (The Asian Development Bank - ADB) ก็จะได้ร่วมให้การช่วยเหลือฟื้นฟูทางด้านตลาดเงินทุนไทยเช่นกัน ทั้งนี้ประมาณว่าธนาคารโลก และ ADB จะให้เงินช่วยเหลือแก่ประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯและ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อ เป็นเงินกู้สำหรับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและฟื้นฟูระบบการเงินของไทย (structural adjustments loans) รวมถึง เพื่อการเพิ่มพูนขีดความสามารถในการส่งออกของไทย และการปรับปรุงการให้บริการทางสังคมของไทยด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลตระหนักดีว่า การฟื้นฟูเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจมหภาค เป็นปัจจัยสำคัญอันแรกที่จะช่วยก่อให้เกิดบรรยากาศของการลงทุนและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อม ๆ กับการที่จะต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว และการยกระดับการให้บริการทางสังคมและสาธารณูปโภคด้วย ในด้านการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับภาคการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ อันจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนรายได้เงินตราต่างประเทศ และลดช่องว่างของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยไม่สามารถที่จะพึ่งพากับปัจจัยการผลิต เช่น แรงงานราคาถูก และการผลิตอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเทคโนโลยีขั้นต่ำและการใช้แรงงานจำนวนมากได้อีกต่อไป แต่จำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของพัฒนาคุณภาพแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การยกระดับของเทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ของเศรษฐกิจไทยซึ่งในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลไทยได้เน้นนโยบายการศึกษาแก่ประชาชน การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาโดยเสนอมาตรการแรงจูงใจทางภาษีต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนั้น รัฐบาลได้เน้นที่จะยกระดับเทคโนโลยีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ดังเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการปรับปรุงเครื่องจักรที่ทันสมัยแทนเครื่องจักรเก่าที่ล้าหลัง เป็นต้น
ในด้านการลงทุนด้านสาธารณูปโภค รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (mega-progects) เพื่อการรองรับการเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 และเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาทในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้ ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลไทยจึงได้สนับสนุนการลงทุนในโครงการชายฝั่งภาคทะเลตะวันออก เช่น การสร้างท่าเรือน้ำลึก การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และด้วยเหตุว่าการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศและการพาณิชย์ของไทย จะเป็นหัวใจสำคัญต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจของไทย รัฐบาลจึงได้เร่งเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่นการสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่สอง โครงการขนส่งสินค้าอากาศยานนานาชาติ (Thailand's Globals Transpark) โครงการรถไฟความเร็วสูง ศูนย์กลางการซ่อมแซมอากาศยาน เป็นต้น อันจะเป็นการรองรับกับธุรกิจและการเพิ่มขึ้นของตลาดใหม่ ๆ ทั่วโลก ที่จะเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเอเชีย อเมริกาเหนือและยุโรป ในด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจของไทยในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการพลังงาน การคมนาคม การขนส่ง การเกษตร การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม มีบทบาทอย่างสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ ประมาณว่าปริมาณมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจ 66 แห่งมีมูลค่าสูงถึง 2.47 ล้านล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติในปี 1996 อย่างไรก็ดี ในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จำเป็นต้องมีการขยายการลงทุนจำนวนมาก รัฐบาลไทยตระหนักดีว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่สิ่งสำคัญและประโยชน์ของการแปรรูปก็คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการให้บริการ การลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล และการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศอันจะช่วยให้สถานะของเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศดีขึ้น และเพิ่มสภาพคล่องภายในประเทศ ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจของไทยที่มีความพร้อมที่จะแปรรูปได้ และได้มีแผนการที่จะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าร่วมถือหุ้นมากขึ้นอีกภายในสิ้นปีนี้ ได้แก่ บริษัทการบินไทย เป็นต้น--จบ--
วันนี้ (12 ก.ย.) เมื่อเวลา 12.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ โรงแรมราฟเฟิลส์ (Raffles Hotel) ประเทศสิงคโปร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองนายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญจาก The Economist Conferences ไปกล่าวสุนทรพจน์แก่นักธุรกิจสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากสมาคมหอการค้าต่างประเทศประจำสิงคโปร์ (The Singapore International Chambers of Commerce) และสมาคมนักธุรกิจของสิงคโปร์ (The Singapore Regional Managers' Club and other Associations) ทั้งนี้ การเดินทางไปร่วมการประชุมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการยืนยันในเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยในการให้การสนับสนุนการจัดงานสัมมนาทางวิชาการ "THAILAND BUSINESS ROUNTABLE" ระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2540 ณ โรงแรมรีเจนท์ กรุงเทพฯ สาระสำคัญของสุนทรพจน์ สรุปได้ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัจจุบัน จากการที่ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวงจรทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และการขอรับแผนการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้น นอกจากรัฐบาลไทยจะต้องมีการดำเนินมาตรการประหยัดในเรื่องการใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นที่คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5 ต่อปี ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความเข้าใจดีว่าความยากลำบากในการดำเนินตามมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ตกลงไว้กับกองทุน IMF นั้น เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน เพื่อการแก้ไขปัญหาในจุดที่พบกพร่องในอดีต พร้อมกันนี้ ยังได้กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ได้ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินกู้แก่ประเทศไทยภายใต้แผนการของ IMF ด้วย ซึ่งนับเป็นการแสดงถึงความเป็นมิตรที่แท้จริงในยามที่ประเทศไทยมีความยากลำบากและต้องการความช่วยเหลือ
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการเปิดเสรีทางด้านการเงิน ในขณะเดียวกันระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของไทยถูกกำหนดให้อยู่คงที่ (fixed exchange rate) ทำให้เกิดภาวะของความเสี่ยงน้อย (risk free arbitrage) เงินทุนที่กู้ยืมจากต่างประเทศมีราคาถูกกว่าการกู้ยืมจากภายในประเทศ และได้นำไปสู่การก่อหนี้จำนวนมากของบริษัทเอกชนต่าง ๆและหนี้สินดังกล่าวได้เพิ่มสูงมากขึ้นอีก จากการที่ค่าเงินบาทได้ตกต่ำลงถึงร้อยละ 40 ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศนโยบายลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สำหรับในภาคธุรกิจการเงินของไทยนั้น ปัญหาที่สำคัญคือหนี้สินจำนวนมากที่เกิดขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของหนี้สูญจำนวนมากในสถาบันการเงินและธนาคารเอกชน อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยปัจจุบัน ได้ยืนยันว่าข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องตัวเลขของหนี้สินและจำนวนของเงินกู้ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิต (Non-Performing Loans - NPLs) หรือหนี้สูญรวมถึงตัวเลขเงินทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น จะได้รับการเปิดเผยโดยธนาคารแห่งประเทศไทยทุกสองสัปดาห์ เพื่อให้นักธุรกิจได้รับทราบข้อมูลด้วยความโปร่งใสและชัดเจน
นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า ปัญหาเร่งด่วนในขณะนี้ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินของไทยคือ ความเชื่อมั่นที่ลดน้อยถอยลง ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ ทั้งนี้ การขาดความเชื่อมั่นดังกล่าวได้ส่งผลต่อภาวะของดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อันสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของการให้สินเชื่อ และได้ส่งผลต่อภาวะสภาพคล่องทางการเงินในปัจจุบันของไทย ในช่วงที่ผ่านมา หนี้สินต่างประเทศของภาคเอกชนไทยมีปริมาณสูงกว่า 70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในจำนวนดังกล่าว ประมาณ 37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นหนี้ระยะสั้น ดังนั้นจึงมีความกังวลว่าการไหลออกของเงินทุนระยะสั้นดังกล่าว เป็นสาเหตุใหญ่ที่ได้ทำให้ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวลง อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้น จะช่วยลดข่าวแรงกดดันดังกล่าวได้
ในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลจึงได้มีข้อตัดสินใจว่า การปรับโครงสร้างทางการเงิน มีความสำคัญเร่งด่วนเป็นอันดับแรกสำหรับประเทศไทย ที่จะต้องดำเนินการในช่วงระยะเวลาข้างหน้านี้ พร้อมกันนี้รัฐบาลไทยยังได้ขอรับความช่วยเหลือจากธนาคารโลก (World Bank) เพื่อหารือถึงแผนการและมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการขอคำปรึกษาทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลกซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินการธนาคารในประเทศสวีเดน และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ซึ่งรวมถึงเม็กซิโกมาแล้ว ขณะเดียวกัน ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (The Asian Development Bank - ADB) ก็จะได้ร่วมให้การช่วยเหลือฟื้นฟูทางด้านตลาดเงินทุนไทยเช่นกัน ทั้งนี้ประมาณว่าธนาคารโลก และ ADB จะให้เงินช่วยเหลือแก่ประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯและ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อ เป็นเงินกู้สำหรับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและฟื้นฟูระบบการเงินของไทย (structural adjustments loans) รวมถึง เพื่อการเพิ่มพูนขีดความสามารถในการส่งออกของไทย และการปรับปรุงการให้บริการทางสังคมของไทยด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลตระหนักดีว่า การฟื้นฟูเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจมหภาค เป็นปัจจัยสำคัญอันแรกที่จะช่วยก่อให้เกิดบรรยากาศของการลงทุนและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อม ๆ กับการที่จะต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว และการยกระดับการให้บริการทางสังคมและสาธารณูปโภคด้วย ในด้านการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับภาคการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ อันจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนรายได้เงินตราต่างประเทศ และลดช่องว่างของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยไม่สามารถที่จะพึ่งพากับปัจจัยการผลิต เช่น แรงงานราคาถูก และการผลิตอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเทคโนโลยีขั้นต่ำและการใช้แรงงานจำนวนมากได้อีกต่อไป แต่จำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของพัฒนาคุณภาพแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การยกระดับของเทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคเพื่อรองรับกับการเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ของเศรษฐกิจไทยซึ่งในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลไทยได้เน้นนโยบายการศึกษาแก่ประชาชน การให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาโดยเสนอมาตรการแรงจูงใจทางภาษีต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนั้น รัฐบาลได้เน้นที่จะยกระดับเทคโนโลยีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ดังเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการปรับปรุงเครื่องจักรที่ทันสมัยแทนเครื่องจักรเก่าที่ล้าหลัง เป็นต้น
ในด้านการลงทุนด้านสาธารณูปโภค รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (mega-progects) เพื่อการรองรับการเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 และเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาทในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้ ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลไทยจึงได้สนับสนุนการลงทุนในโครงการชายฝั่งภาคทะเลตะวันออก เช่น การสร้างท่าเรือน้ำลึก การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และด้วยเหตุว่าการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศและการพาณิชย์ของไทย จะเป็นหัวใจสำคัญต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจของไทย รัฐบาลจึงได้เร่งเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่นการสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่สอง โครงการขนส่งสินค้าอากาศยานนานาชาติ (Thailand's Globals Transpark) โครงการรถไฟความเร็วสูง ศูนย์กลางการซ่อมแซมอากาศยาน เป็นต้น อันจะเป็นการรองรับกับธุรกิจและการเพิ่มขึ้นของตลาดใหม่ ๆ ทั่วโลก ที่จะเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเอเชีย อเมริกาเหนือและยุโรป ในด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจของไทยในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการพลังงาน การคมนาคม การขนส่ง การเกษตร การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม มีบทบาทอย่างสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ ประมาณว่าปริมาณมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจ 66 แห่งมีมูลค่าสูงถึง 2.47 ล้านล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติในปี 1996 อย่างไรก็ดี ในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จำเป็นต้องมีการขยายการลงทุนจำนวนมาก รัฐบาลไทยตระหนักดีว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่สิ่งสำคัญและประโยชน์ของการแปรรูปก็คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการให้บริการ การลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล และการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศอันจะช่วยให้สถานะของเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศดีขึ้น และเพิ่มสภาพคล่องภายในประเทศ ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจของไทยที่มีความพร้อมที่จะแปรรูปได้ และได้มีแผนการที่จะเปิดให้สาธารณชนได้เข้าร่วมถือหุ้นมากขึ้นอีกภายในสิ้นปีนี้ ได้แก่ บริษัทการบินไทย เป็นต้น--จบ--