เปิดเวที ASEAN COST’69: ไทยดึงอาเซียนทำโรดแม็พโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพเห็นร่วมการยกระดับมาตรวิทยาสู่สากล

ข่าวทั่วไป Friday May 29, 2015 17:47 —สำนักโฆษก

(28 พฤษภาคม 2558) ณ โรงแรมมูเว่นพิค รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.ภูเก็ต ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยายาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการอาเซียนซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ก่อนเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในวันนี้ ได้เริ่มดำเนินการประชุมย่อยตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมาซึ่งประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้นำเสนอประเด็น ท่าทีทีสำคัญต้องการผลักดันและขยายผลความร่วมมือในหลายๆ ด้าน โดยมีบางประเด็นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านมาตรวิทยาของอาเซียน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของฝ่ายไทยเรื่องดังกล่าว เพื่อต้องการผลักดันให้ มาตรวิทยาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแท้จริงเพื่อให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันที่มั่งคง ดึงดูดการลงทุน แข่งขันได้และยั่งยืน ซึ่งจะได้ดำเนินการจัดทำ Roadmap พร้อมแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อนำเข้ารับรองในที่ประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์อาเซียนช่วงปลายปีนี้

ดังนั้น หากสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งจะทำให้อาเซียนเมื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวจะมีความเข้มแข็งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป ส่วนประเด็นท่าทีสำคัญอื่นๆ ก็ได้รับความสนใจและอยู่ระหว่างเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทุกท่าทีหรือทุกประเด็นที่ฝ่ายไทยได้ผลักดันเข้าสู่ที่ประชุมเป็นเรื่องที่ประเทศไทยมีทรัพยากร องค์ความรู้ตลอดจนเทคโนโลยีที่สามารถแลกเปลี่ยนและสร้างประโยชน์ร่วมกันในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันทั้งสิ้น

ทั้งนี้ รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ได้ชี้แจงข้อมูลประเด็นท่าที และการริเริ่มผลักดันของฝ่ายไทยในเวที ASEAN COST ดังนี้

1.การจัดทำแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ฉบับปี 2558-2563 (ASEAN Plan of Action on Science, Technology and Innovation 2015-2020 - APASTI) เน้นความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและการบริหารงบประมาณ ซึ่งหากประเทศสมาชิกเห็นพ้องร่วมกันก็จะนำไปรับรองในการประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์อาเซียน ครั้งที่ 16 ณ กรุงเวียงจันทร์ สปป.ลาว ช่วงปลายปี 2558 และขณะนี้ยังมีบางประเทศยังไม่เห็นด้วยกับท่าทีดังกล่าว

2.การเคลื่อนย้ายกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Talent Mobility-ATM)

โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน) จัดประชุม เชิงปฏิบัติการเมื่อ วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2558 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ในอาเซียน พัฒนากลไกในการเข้าถึงบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจาในสาขาที่ขาดแคลน และสร้างโอกาสสำหรับหน่วยงานวิจัยในอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ผลสรุปจากที่ประชุมมีมติให้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมร่วมกับ National Focal Points และให้ส่งผลสำรวจภายในเดือนสิงหาคม 2558

3. การบริหารกองทุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาเซียน โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีความประสงค์จะเสนอ Concept “Global Crowd funding – Disruptive & Alternatives” ในการประชุม Advisory Body Meeting on the ASEAN Science Fund (ABASF) ขณะนี้ยังไม่มีผลการประชุม

4. ความร่วมมือด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) ได้จัดประชุม เรื่อง ระบบการบริหารจัดการน้ำของอาเซียน (ASEAN Water Management System) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ด้วยพิจารณาแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นเรื่องสำคัญที่นานาประเทศต่างมุ่งมั่นที่จะเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะภัยด้านน้ำ หากสามารถรู้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศก่อน เพื่อนำไปใช้ติดตามและคาดการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกับเหตุการณ์หรือภัยธรรมชาติที่จะมาถึง จะช่วยลดหรือบรรเทาภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

5. ความร่วมมือด้านมาตรวิทยา โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว) ในฐานะผู้ประสานงานไทยในคณะ Expert Group on Metrology (EGM) ได้จัดประชุม Experts Group on Metrology (EGM) ในช่วงวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2558 ซึ่งมีประเด็นหารือสำคัญ ใน 3 เรื่อง ได้แก่

(1) พิจารณาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) ด้านความร่วมมือด้านมาตรวิทยาของอาเซียน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้มาตรวิทยาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแท้จริง เพื่อให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันที่มั่งคง ดึงดูดการลงทุน แข่งขันได้และยั่งยืน

(2) พิจารณากรอบและแผนกิจกรรมของ EGM ที่สถาบันมาตรวิทยาของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN National Metrology Institute: ASEAN NMI) จะดำเนินการร่วมกัน เพื่อยกระดับความสามารถทางการวัดและการสอบกลับได้ทางมาตรวิทยาของ ASEAN NMIs โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย การเปรียบเทียบผลการวัดและการทดสอบความชำนาญระหว่างห้องปฏิบัติการของ ASEAN MNI /การอบรมด้านมาตรวิทยา/การถ่ายทอดความสามารถสอบกลับได้ทางมาตรวิทยาในอาเซียน (ASEAN Metrological Traceability Chain)

(3) พิจารณากรอบและแผนความร่วมมือกับสถาบันมาตรวิทยาของกลุ่มอาเซียนบวกสาม (เกาหลี จีน ญี่ปุ่น) และเยอรมัน ทั้งนี้ EGM ต้องการให้มีการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากมาตรวิทยาอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ (Quality Infrastructure: QI) ของอาเซียนสมบูรณ์และเข้มแข็ง รวมทั้งต้องการผลักดันให้มีการจัดทำแผนที่นำทาง (roadmap) ของการพัฒนามาตรวิทยาระดับอาเซียน และกรอบการพัฒนามาตรฐานการวัดอ้างอิงร่วมของอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพชีวิตและสินค้าส่งออกของอาเซียน ผลสรุปจากการประชุม เห็นชอบให้นำเสนอต่อ COST เพื่อให้ EGM เตรียมการจัดทำ Roadmap and Implementation Plan ว่าด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพเพื่อสนับสนุน ASEAN Post 2015

6. ความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน โดยเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ) ได้จัดประชุมคู่ขนาน Side eeting ในหัวข้อ Synchrotron Applications,Collaborations and Opportunities with SLRI วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการใช้ทรัพยากรทางการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศในอาเซียน ทั้งนี้ ตั้งแต่ในปี 2556 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้เริ่มขยายการให้บริการแสงซินโครตรอนไปสู่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อการมีส่วนร่วมของหน่วยงานรัฐต่อการพัฒนาประเทศอย่างจริงจังและยั่งยืน นอกจากนี้ สถาบันฯ ได้เริ่มเปิดประตูเพื่อขยายการให้บริการแก่นักวิจัยจากต่างประเทศและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิจัยในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนกับสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มผู้ใช้ที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ นักวิจัยจาก สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนิเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และที่สำคัญ ในปีนี้จะมีความร่วมมือกันระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (ประเทศไทย) กับสถาบัน National Nuclear Energy Agency of Indonesia (BATAN) (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) เพื่อร่วมกัน

7. ความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ได้ประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้

Sub-Committee on Space Technology and Applications (SCOSA) เมื่อวันที่ 25-26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผลสรุปจากที่ประชุม ดังนี้

(1) ที่ประชุม SCOSA ให้การรับรองอย่างเป็นทางการต่อข้อเสนอของ สทอภ. ประเทศไทย ในการจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ แห่งอาเซียน” หรือ ASEAN Research and Training Center for Space Technology and Application (ARTSA)

(2) ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยฯ ARTSA ดังกล่าว จะถูกจัดตั้งขึ้น ในพื้นที่ของอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ (Space Krenovation Park : SKP) อ.ศรีราชา จ. ชลบุรี

(3) ประเทศไทย คาดหวังให้ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยฯ ARTSA เป็นสถานที่สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศ และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ แก่บุคคลากรของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 และการสร้างความเข็มแข็งในภาพรวมด้านเทคโนโลยีอวกาศ ของภูมิภาค

(4) สทอภ. เสนอให้การสนับสนุน ด้านสถานที่ บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ และงบประมาณ บางส่วน เพื่อสนับสนุนในส่วนของการบริหารงานของศูนย์ โดยเฉพาะในช่วง 4 ปีแรกของการก่อตั้ง ทั้งนี้ในส่วนของการจัดกิจกรรมฝึกอบรมและหลักสูตรต่างๆ ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัย ARTSA จะเปิดรับการสนับสนุนทั้งด้านวิชาการ และงบประมาณ ทั้งจากหน่วยงานผู้ให้ทุน หน่วยงานองค์การระหว่างประเทศ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) และจากประเทศสมาชิกอาเซียนเอง

และยังมีประเด็นกิจกรรม/โครงการต่อเนื่อง ได้แก่

  • การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสถานีรับสัญญาณดาวเทียม (Ground Receiving Station Workshop)

a. SCOSA รับทราบข้อเสนอในการจัด ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสถานีรับสัญญาณดาวเทียม (Ground Receiving Station Workshop) โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ใน 3 ปี ข้างหน้า ได้แก่ ประเทศสิงค์โปร ในปี พ.ศ. 2558, ฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2559 และมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2560 ตามลำดับ โดยทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงานในทุกครั้ง

b. การจัด ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสถานีรับสัญญาณดาวเทียม เคยจัดมาแล้ว 3 ครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยเคยรับเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมฯ ดังกล่าวด้วย

  • โครงการกลุ่มดาวเทียมเสมือน (ASEAN Constellation)

a.เป็นโครงการที่สืบเนื่องจาก “ความริเริ่มกระบี่ 2553 หรือ Krabi Initiative 2010” ในหัวข้อ ASEAN EOS ที่เสนอให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างดาวเทียมสำหรับอาเซียน แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเทคนิค โครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ และบุคคลกรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน จึงได้มีการปรับลักษณะความร่วมมือไปเป็นการทำระบบ ASEAN Virtual Constellation หรือกลุ่มดาวเทียมเสมือนของอาเซียน

b.ระบบ ASEAN Constellation ได้รับการพัฒนาและทดสอบการใช้งานโดยทำเป็นโครงการต้นแบบความร่วมมือระหว่าง ไทย และเวียนนาม โดยใช้ดาวเทียม ไทยโชต และดาวเทียม VNREDSAT-1

c. ระบบดังกล่าวสามารถรองรับการวางแผนสั่งถ่ายภาพ และเผยแพร่ข้อมูลภาพดาวเทียมแก่ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งประเทศไทยได้เชิญชวนประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ทั้งที่มีดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมขนาดเล็ก (Microsatellite) หรือมีข้อมูลสำรวจระยะไกลแบบอื่นๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มดาวเทียมเสมือน เพื่อที่จะได้ส่งเสริมภารกิจที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน

8. ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หน่วยงานหลักในคณะ Sub-Committee on Mircroelectronics and Information Technology-SCMIT) มีโครงการสำคัญ ได้แก่“โครงการเชื่อมต่อประชาคมอาเซียนด้วยระบบอัตโนมัติแปลภาษา” Network-based ASEAN Language Translation Public Service โดยคณะนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ภายใต้เนคเทคร่วมมือกับคณะนักวิจัยจากประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศดำเนินโครงการ ระยะที่1 เป็นเวลา3ปี และสิ้นสุดโครงการในปี2558 โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเทคโนโลยีแปลภาษามาใช้สนับสนุนให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ข้ามภาษาระหว่างประชากรอาเซียนด้วยกันทั้งนี้ในระยะแรกจะมุ่งเน้นการใช้งานในภาคการท่องเที่ยวเป็นหลักเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคอาเซียนโดยรวมโครงการนี้ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆในเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ภูมิภาคอาเซียนในหลายมิติหลังจากที่โครงการนี้สิ้นสุดระยะที่1 ในปี 2558 นี้ คณะนักวิจัยทั้ง 10 ประเทศอาเซียน จะได้มีการวางแผนความร่วมมือ ระยะที่2 โดยจะเชิญประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 2 ต่อไป

9. ความร่วมมือด้านดาราศาสตร์ การผลักดันดาราศาสตร์ โดยเครือข่ายดาราศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Astronomy Network: SEAAN) ให้เป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับใน ASEAN COST ความร่วมมือด้านดาราศาสตร์ของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการผลักดันให้เป็นรูปธรรมผ่านความร่วมมือในรูปแบบของการก่อตั้งเครือข่ายดาราศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Astronomy Network: SEAAN) ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน ความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่สำคัญและตอบรับ กับการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการที่ดาราศาสตร์ได้รับการยอมรับในระดับ ASEAN COST จะเป็นก้าว ย่างที่สำคัญต่อการพัฒนาดาราศาสตร์ของภูมิภาคให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยใช้กลไกของ ASEAN COST เป็นแรงขับเคลื่อน อีกทางหนึ่งด้วย

10. ด้านการรับรอง/มาตรฐาน กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นหน่วยรับรองความสามารถบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 แห่งแรกของไทย โดยสาขาแรกที่เปิดให้การรับรองคือ “การควบคุมและจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ” และเล็งเห็นความสำคัญของการเคลื่อนย้ายบุคลากรคุณภาพในภาคเศรษฐกิจของอาเซียน จึงได้ริเริ่มการสร้างความร่วมมือด้านการรับรองความสามารถบุคลากร เสนอต่อที่ประชุม ASEAN COST ครั้งที่ 69 ผ่าน Sub-Committee on Infrastructure and Resource Development-SCIRD ซึ่งจะมีการจัดตั้งคณะทำงานการรับรองบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับการจัดทำขอบข่ายสมรรถนะสาขาต่างๆ สำหรับการจัดทำ “ข้อตกลงยอมรับร่วมอาเซียน” ต่อไป

ข้อมูลประกอบ: สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

ข่าวและภาพข่าว: กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวนีรนุช ตามศักดิ์

ภาพข่าวโดย : นางสาวพจนพร แสงสว่าง

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทร. 02 333 3727-3732 โทรสาร 02 333 3834

E-Mail : pr@most.go.th, facebook : sciencethailand

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ