ในขณะเดียวกันการดำเนินการควบคุมและดูแลมาตรฐานสินค้าไทยที่อาจมีส่วนประกอบเป็นสินค้าสองทางตามมาตรฐานของประเทศคู่ค้าจะสามารถช่วยรักษาตลาดสินค้าส่งออกของไทยให้เป็นไปตามประกาศ DUI ของสหภาพยุโรป ตลอดจนช่วยป้องกันไม่ให้ประเทศคู่ค้านำเหตุผลว่าไทยไม่มีการควบคุมกำกับดูแลที่ดีพอ มาเป็นเหตุในการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีต่อสินค้าส่งออกของไทย”
โดยสาระสำคัญของร่างประกาศฯ คือ
1. กำหนดให้สินค้าที่ใช้ได้สองทาง หรือสินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือควรเชื่อว่าผู้ใช้สุดท้ายมีความเกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ต้องเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตการส่งออกจากกระทรวงพาณิชย์เสียก่อน
2. หากเป็นสินค้าบางรายการ เช่น กราไฟต์ธรรมชาติ สินแร่ และหัวแร่ยูเรเนียม น้ำมัน ก๊าซปิโตเลียม ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองตนเองไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ และต้องให้การรับรองต่อกรอบการค้าต่างประเทศว่าสินค้าที่ส่งออกไม่เป็นสินค้าที่ใช้ได้สองทาง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีสินค้าที่อยู่ในบัญชีรายการสินค้าที่ใช้ได้สองทางมีประมาณ 1,700 รายการ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกหลายแสนล้านบาทต่อปี โดยมีผู้ส่งออกประมาณกว่า 10,000 ราย
ทั้งนี้ มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSCR) ที่ 1540( 2004)ว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการภายในประเทศในการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงสินค้าที่ใช้ได้สองทาง โดยควบคุมผ่านระบบการพิจารณาให้อนุญาตการส่งออก การผ่านแดน การถ่ายลำ การนำเข้าเพื่อส่งกลับออกไป และการควบคุมนายหน้าของ DUI รวมทั้งต้องมีบทลงโทษการกระทำผิดตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาในปี 2554 ได้มีการออกข้อมติ UNSCR 1977(2011) ขยายเวลาจากข้อมูลเดิมต่อไปอีก 10 ปี จนถึงปี 2564 ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกจึงต้องปฏิบัติตามมติดังกล่าวด้วย
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
ที่มา: http://www.thaigov.go.th