ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

ข่าวทั่วไป Tuesday June 16, 2015 16:45 —สำนักโฆษก

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับเกียรติให้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน" ภายในงานสัมมนาเรื่อง “อนาคตประเทศไทยกับการเป็นศูนย์กลางโซลาร์รูฟเสรีและยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน” จัดโดย คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยมี ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกรรมาธิการคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน และคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ให้การต้อนรับ ภายในงานมีนิทรรศการเรื่อง”อนาคตประเทศไทยกับการเป็นศูนย์กลางโซลาร์รูฟเสรีและยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน” ณ สโมสรทหารบก (วิภาวดี) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ได้มีการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคการศึกษา ภาคเอกชนบอกว่าได้มีการผลิตใช้ในงานแฟร์ต่างๆ อยู่แล้ว ระยะต่อไปในเชิงยุทธศาสตร์ เรื่อง ความปลอดภัย (safety) และมาตรฐานต่างๆ เป็นตัวตั้งในโครงสร้างพื้นฐาน ตัวเลือกต่างๆ รถโดยสารไฟฟ้าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีบางส่วนอาจจะให้ต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมด้วย หน่วยงานวิจัยภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หน่วยหลักได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งวิจัยเชิงวัสดุโครงสร้าง ระบบฟ้าของรถ และมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเข้ามาเกี่ยวข้องในอนาคตจะมีการดึงเอาเด็กมหาวิทยาลัยเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น บุคลากร เป็นเรื่องที่สำคัญ ในด้านการส่งเสริมให้มีการใช้งานจะส่งเสริมควบคู่ไปกับการผลิต และในการคิดเรื่องนี้เราจะต้องดูอารยประเทศด้วยว่าเขาคิดอย่างไร ล่าสุดเป็นประเทศจีน สหรัฐ และอินเดีย จะเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องมาตรฐานด้วย การประกอบรถไฟฟ้า จุดที่สำคัญที่เรายังขาด เช่น มาตรฐานเรื่องแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ตั้งแต่การวิจัยไปจนถึงการผลิต ความปลอดภัย ความคงทนถาวร การชาร์ทไฟ การเปลี่ยนระบบแบตเตอรี่ และเมื่อใช้แบตเตอรี่จนเสื่อมแล้วจะเปลี่ยนอย่างไร โดยโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตเราจะมีปั๊มไฟฟ้า การกระจายการให้บริการปั๊มไฟฟ้าจะกระจายอย่างไร

ในระดับอาเซียนต้องคิดจุดแข็งในระยะยาว เรื่องภาษี การวิจัยและพัฒนา ซึ่งควรจะร่วมมือกันตั้งแต่ระดับต้นๆ ภาคเอกชนควรจะมีการตั้ง lab มากขึ้น ในโอกาสต่อไปในอนาคต E-Bus จะเป็นตัวแรกๆ และภาครัฐจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้ยานยนต์ประเภทนี้มากๆ ตลาดภาครัฐจะเป็นตลาดแรกๆ ให้เอกชนปรับตัวเกิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ ภาครัฐก็ยินดีที่จะสนับสนุนให้เกิด

โครงสร้างตัวรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีน้ำหนักไม่มากนัก ความแข็งแรง การใช้พลังงานจะสัมพันธ์กับน้ำหนัก คุณภาพและการทดสอบ จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราจะเดินเรื่องนี้อย่างไร การออกแบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ร่วมถึงความปลอดภัยของแบตเตอรี่ด้วย สร้างระบบแรงจูงใจ หาตลาดภาครัฐ จะทำให้เราเข้มแข็งและรองรับตลาดอาเซียนได้ ในอนาคตเราจะทำให้ผู้บริโภคไว้วางใจในยานยนต์ไฟฟ้า

ผู้เขียนข่าว : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์

ภาพถ่าย : นายรัฐพล หงสไกร , น.ส. นีรนุช ตามศักดิ์

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ