ทั้งในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า และการเจรจาจับคู่ธุรกิจ(Business Matching)
โดยการเยือนชิลีได้หารือกับผู้บริหารสภาอุตสาหกรรม และกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และกล่าวสุนทรพจน์ในงาน Business Forum เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จาก FTA ไทย – ชิลี โดยไทยได้เจรจากับผู้แทนการค้า ผลักดันให้ชิลีเร่งรัดดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็ว โดยเสนอให้ตั้งเป้าหมายการบังคับใช้ความตกลงฯ ภายในช่วงการประชุมผู้นำเขต เศรษฐกิจเอเปค เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อช่วยขยายมูลค่า การค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งไทยจะใช้ชิลีเป็นประตูการค้าเปิดตลาดสินค้าไทยไปสู่ภูมิภาคลาตินอเมริกา ขณะที่ชิลีก็สามารถใช้ประโยชน์จากไทยในการบุกตลาดอาเซียนได้
จากการที่ไทยมีภูมิศสาตร์ที่ได้เปรียบเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ และโดยเฉพาะรัฐบาลกำลังมีโครงการพัฒนาระบบรางและถนนที่ชัดเจนในขณะนี้ โดยไทยเสนอให้ทางชิลีจัดคณะผู้แทนภาคเอกชนเดินทางมาเยือนไทยต่อไป
นอกจากนี้ ด้านการขยายการลงทุนของชิลีในไทยนั้นได้หารือกับประธานบริษัท Sigdo Kopper
ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดในชิลี ซึ่งปัจจุบันได้มาลงทุนในไทยแล้ว
และมีแผนที่จะขยายกิจการเพิ่มขึ้น จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตลูกเหล็ก (Steel ball) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการถลุงแร่ เพื่อกระจายไปในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งฝ่ายชิลีมีความมั่นใจในประเทศไทยเป็นอย่างดี
สำหรับการเยือนเปรูได้หารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศและการท่องเที่ยวเปรู (H.E. Mr. Edgar Vasquez) นั้น ไทยและเปรูตั้งเป้าหมายการลงนามความตกลงการค้าเสรี ไทย-เปรู ฉบับสมบูรณ์ (ซึ่งเป็น ส่วนขยายพิธีสารเพื่อเร่งลดภาษีสินค้าส่วนแรกที่มีผลบังคับใช้ เมื่อปี ๒๕๕๔) ในช่วงการประชุมผู้นำ เขตเศรษฐกิจเอเปค เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศจะ จัดทำแผนงานเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างกันให้มากยิ่ง ขึ้น เช่น การจัดคณะนักธุรกิจเพื่อ เจรจาธุรกิจ การส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและประมง และการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทาง เทคโนโลยีการเกษตร เป็นต้น และฝ่ายไทยได้แจ้งถึงการจัดตั้ง Trade Representative ของไทย
ประจำประเทศเปรู เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการค้าระหว่างไทย –เปรู ให้เพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต และในขณะนี้กำลังสรุปรายละเอียดเพื่อบังคับใช้ FTA ฉบับสมบูรณ์ในปี 2558 นี้ ซึ่งเป็นปีที่
ไทย - เปรู มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 50 ปี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเร่งจัดการดำเนินกิจกรรมทางการค้า เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จาก FTA ไทย – เปรู ให้มากยิ่งขึ้น เช่น
การจัดคณะผู้แทนการค้า การจัด Press Mission เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจการใช้ประโยชน์จาก FTA
นางอภิรดี กล่าวว่า ในการเดินทางครั้งนี้มีการจัดกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการไทย 21 บริษัท กับผู้ประกอบการทั้งสองประเทศ โดยสินค้าต่างๆที่ไปเปิดตลาดและมีโอกาสได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งสินค้าไทยเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดชิลี และเปรู โดยเฉพาะรถกระบะของไทย
ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตรถกระบะขนาด 1 ตัน รายใหญ่ที่สุดของโลก นอกจากนี้ภาคเอกชนไทยได้แยกไปจับคู่เจรจาธุรกิจ(Business Matching)ที่ประเทศโคลัมเบียด้วย ซึ่งจากการจัด Business Matching กับทั้ง 3 ประเทศ ประสบความสำเร็จเกินคาดดังนี้
-ประเทศชิลี วันที่ 8 มิถุนายน 2558 มีจำนวน Buyer/importer/trader เข้าร่วม 41 บริษัท
มีมูลค่าการซื้อขายทันที 232,500 เหรียญสหรัฐฯ และ มูลค่าที่คาดว่าจะสั่งซื้อภายใน 1 ปี 1,897,000 เหรียญสหรัฐฯ
-ประเทศเปรู วันที่ 10 มิถุนายน 2558 มีจำนวน Buyer/importer/trader เข้าร่วม 62 บริษัท
มีมูลค่าการซื้อขายทันที 240,000 เหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าที่คาดว่าจะสั่งซื้อภายใน 1 ปี 2,182,000 เหรียญสหรัฐฯ
-ประเทศโคลัมเบีย วันที่ 12 มิถุนายน 2558 มีจำนวน Buyer/importer/trader เข้าร่วม 140 บริษัท มีมูลค่าการซื้อขายทันที 110,000 เหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าที่คาดว่าจะสั่งซื้อภายใน 1 ปี 1,861,000 เหรียญสหรัฐฯ
สำหรับสินค้าที่ได้รับความนิยมใน 3 ประเทศได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ rubber auto part อุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ สรุปรวม 3 ประเทศสั่งซื้อทันที 582,500 เหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะสั่งซื้อภายใน 1 ปีอีก 5,940,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา: http://www.thaigov.go.th