การประชุมหารือท่าทีและแนวทางของราชอาณาจักรไทย ในครั้งนี้ มีวาระการประชุมที่สำคัญ จำนวน 3 วาระ สรุปได้ดังนี้
1) การรายงานสถานภาพการอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ที่อาจจะถูกขึ้นบัญชีเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย กรณีนี้ ได้จัดทำรายงานสถานภาพการอนุรักษ์ และกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานและจัดทำแผนขับเคลื่อน (Road Map) เพื่อมิให้พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ถูกบรรจุไว้ในบัญชีดังกล่าว
2) การายงานสถานภาพการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาหลังน้ำท่วม กรณีนี้ได้จัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายหลังน้ำท่วมและโครงการหลักที่จะทำให้อนาคต พร้อมจัดทำรายงานสถานภาพการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2559 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการมรดกโลก พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 41 ที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ.2560
3) การขึ้นทะเบียนมรดกโลก ได้แก่ พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ซึ่งร่างข้อมติเห็นว่าพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานมีศักยภาพและคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ข้อที่ 10 (ความหลากหลายทางชีวภาพ) แต่เนื่องจากขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ในบางประการนั้น กรณีนี้ ได้จัดทำแผนขับเคลื่อน (Road Map) เพื่อให้พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ อีกทั้งได้เตรียมแนวทางชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนชุมชนกระเหรี่ยงและการดำเนินการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการอนุรักษ์ของชนิดพันธุ์ที่คุกคาม
ที่มา: http://www.thaigov.go.th