ทำเนียบรัฐบาล--24 มี.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2540 นายวราเทพ รัตนากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวภายหลังการประชุม มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดประจำปี งบประมาณ 2541
ที่ประชุมได้พิจารณาแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2541 มีมติดังนี้
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด โดยมีทั้งหลักเกณฑ์ทั่วไปและหลักเกณฑ์เฉพาะสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะมูลฝอย
2. เห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2541 รวมทั้งสิ้น 902 โครงการ วงเงิน 10,692.5 ล้านบาท โดยจำแนก ดังนี้
2.1 เห็นชอบโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัดประจำปี 2541 รวม 868 โครงการ วงเงิน 3,898.97 ล้านบาท จำแนกได้เป็น
- กลุ่มโครงการฟื้นฟูและบำบัด จำนวน 265 โครงการ วงเงิน 3,781.43 ล้านบาท
- กลุ่มโครงการเผ้าระวังและป้องกัน จำนวน 65 โครงการ วงเงิน 17.45 ล้านบาท
- กลุ่มโครงการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 511 โครงการ วงเงิน 49.90 ล้านบาท
- กลุ่มโครงการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 27 โครงการ วงเงิน 50.19 ล้านบาท
2.2 เห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ที่ได้ประกาศเป็นเขต ควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2539 ไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2540-2544) สำหรับงบประมาณที่จะใช้เฉพาะในปี 2541 วงเงิน 228.13 ล้านบาท
โครงการนี้เป็นการก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว ความยาวประมาณ 260 กิโลเมตร เริ่มจากจุดรับส่งมอบก๊าซที่ชายแดนไทย-สหภาพพม่า จังหวัดกาญจนบุรี ไปยังโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยได้เลื่อนแนวเส้นทางที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สามารถรับส่งก๊าซได้ปริมาณสูงสุด วันละ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต ระยะเขตทาง (Right of Way) กว้างประมาณ 20-30 เมตร
- การปรับปรุงมาตรฐานค่ากีาซคาร์บอนมอนอกไซด์และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอน จากท่อไอเสียรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงจากยานพาหนะได้ทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ มหานครและเขตเมือง ในการควบคุมและแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องมีการปรับปรุงค่ามาตรฐานมลพิษในท่อไอเสียให้มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น
ที่ประชุมจึงมีมติให้ปรับปรุงมาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน ตามมติของคณะกรรมการควบคุมผลิต ดังนี้
1. รถยนต์เบนซินนั่งลักษณะเก๋งที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 (ที่ติดตั้ง Catalytic Converter)
- ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ต้องไม่เกินร้อยละ 1.5
- ค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ต้องไม่เกิน 200 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
2. รถยนต์เบนซินนั่งลักษณะเก๋งที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 (ที่ไม่ติดตั้ง Catalytic Converter)
- ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5
- ค่าก๊าซไฮโดรคาร์นอน (HC) ต้องไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
3. รถยนต์เบนซินประเภทอื่นๆ เช่น รถปิคอัพเบนซิน และรถตู้เบนซิน
- ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5
- ค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ต้องไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
4. วิธีการตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอน ให้ตรวจวัดขณะเครื่องยนต์เดินเบาด้วยเครื่องวัดระบบ นันดีสเปอร์ซีฟ อินฟราเรด ดีเทคชั่น (Non-Dispersive Infrared Detection)
- การกำหนดมาตรฐานการระบายสารมลพิษทงอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน
ที่ประชุมได้พิจารณาการกำหนดมาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน มีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้กำหนดความหมายของเตาเผาและมูลฝอย ค่ามาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศและวิธีการตรวจวัดสารมวลพิษทางอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอย ตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ
2. เห็นชอบกำหนดให้เตาเผามูลฝอยขนาดตั้งแต่ 1 ตัน/วัน ขึ้นไป เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ตามมาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- การปรับปรุงมาตรฐานค่าควันดำและมาตรฐานวิธีการตรวจวัดควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานค่าควันดำและค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ยินยอมให้ระบายออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ได้ แต่ที่ผ่านมายังคงมีข้อปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติบางประการ ที่ประชุมจึงมีมติให้ปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าว ตามมติของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ดังนี้
1. ระบบของเครื่องมือตรวจวัดควันดำแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ
(1) เครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง (Filter)
(2) เครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง (Opacity) แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบไหลผ่านทั้งหมด (Full Flow Opacity) แบบไหลผ่านบางส่วน (Partial Flow Opacity)
2. วิธีการตรวจวัดควันดำแบ่งเป็น 2 วิธี คือ ขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ขณะเครื่องยนต์มีภาระและอยู่บนเครื่องทดสอบ
3. ค่ามาตรฐานควันดำ
(1) ขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ต้องไม่เกินร้อยละ 50 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำ ระบบกระดาษกรอง และต้องไม่เกินร้อยละ 45 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านทั้งหมด
(2) ขณะเครื่องยนต์มีภาระ และอยู่บนเครื่องทดสอบ ต้องไม่เกินร้อยละ 40 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง และต้องไม่เกินร้อยละ 35 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง แบบไหลผ่านทั้งหมด หรือแบบไหลผ่านบางส่วน
ในปรับปรุงมาตรฐานค่าควันดำและมาตรฐานวิธีการตรวจวัดควันดำจากรถยนต์ดีเซล กำหนดให้สามารถใช้งานเครื่องมือตรวจวัดควันดำทั้งระบบกระดาษกรองและระบบวัดความทึบแสงควบคู่กันไป ในระยะแรกต้องใช้ทั้งสองระบบไปก่อน แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นเครื่องมือระบบวัดความทึบแสงต่อไป--จบ
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2540 นายวราเทพ รัตนากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวภายหลังการประชุม มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดประจำปี งบประมาณ 2541
ที่ประชุมได้พิจารณาแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2541 มีมติดังนี้
1. เห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด โดยมีทั้งหลักเกณฑ์ทั่วไปและหลักเกณฑ์เฉพาะสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะมูลฝอย
2. เห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัดประจำปีงบประมาณ 2541 รวมทั้งสิ้น 902 โครงการ วงเงิน 10,692.5 ล้านบาท โดยจำแนก ดังนี้
2.1 เห็นชอบโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัดประจำปี 2541 รวม 868 โครงการ วงเงิน 3,898.97 ล้านบาท จำแนกได้เป็น
- กลุ่มโครงการฟื้นฟูและบำบัด จำนวน 265 โครงการ วงเงิน 3,781.43 ล้านบาท
- กลุ่มโครงการเผ้าระวังและป้องกัน จำนวน 65 โครงการ วงเงิน 17.45 ล้านบาท
- กลุ่มโครงการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 511 โครงการ วงเงิน 49.90 ล้านบาท
- กลุ่มโครงการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 27 โครงการ วงเงิน 50.19 ล้านบาท
2.2 เห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ที่ได้ประกาศเป็นเขต ควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2539 ไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2540-2544) สำหรับงบประมาณที่จะใช้เฉพาะในปี 2541 วงเงิน 228.13 ล้านบาท
โครงการนี้เป็นการก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว ความยาวประมาณ 260 กิโลเมตร เริ่มจากจุดรับส่งมอบก๊าซที่ชายแดนไทย-สหภาพพม่า จังหวัดกาญจนบุรี ไปยังโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยได้เลื่อนแนวเส้นทางที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สามารถรับส่งก๊าซได้ปริมาณสูงสุด วันละ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต ระยะเขตทาง (Right of Way) กว้างประมาณ 20-30 เมตร
- การปรับปรุงมาตรฐานค่ากีาซคาร์บอนมอนอกไซด์และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอน จากท่อไอเสียรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงจากยานพาหนะได้ทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ มหานครและเขตเมือง ในการควบคุมและแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องมีการปรับปรุงค่ามาตรฐานมลพิษในท่อไอเสียให้มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น
ที่ประชุมจึงมีมติให้ปรับปรุงมาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีน ตามมติของคณะกรรมการควบคุมผลิต ดังนี้
1. รถยนต์เบนซินนั่งลักษณะเก๋งที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 (ที่ติดตั้ง Catalytic Converter)
- ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ต้องไม่เกินร้อยละ 1.5
- ค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ต้องไม่เกิน 200 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
2. รถยนต์เบนซินนั่งลักษณะเก๋งที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 (ที่ไม่ติดตั้ง Catalytic Converter)
- ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5
- ค่าก๊าซไฮโดรคาร์นอน (HC) ต้องไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
3. รถยนต์เบนซินประเภทอื่นๆ เช่น รถปิคอัพเบนซิน และรถตู้เบนซิน
- ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5
- ค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ต้องไม่เกิน 600 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
4. วิธีการตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอน ให้ตรวจวัดขณะเครื่องยนต์เดินเบาด้วยเครื่องวัดระบบ นันดีสเปอร์ซีฟ อินฟราเรด ดีเทคชั่น (Non-Dispersive Infrared Detection)
- การกำหนดมาตรฐานการระบายสารมลพิษทงอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน
ที่ประชุมได้พิจารณาการกำหนดมาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชน มีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้กำหนดความหมายของเตาเผาและมูลฝอย ค่ามาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศและวิธีการตรวจวัดสารมวลพิษทางอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอย ตามมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ
2. เห็นชอบกำหนดให้เตาเผามูลฝอยขนาดตั้งแต่ 1 ตัน/วัน ขึ้นไป เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ตามมาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- การปรับปรุงมาตรฐานค่าควันดำและมาตรฐานวิธีการตรวจวัดควันดำจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานค่าควันดำและค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ยินยอมให้ระบายออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ได้ แต่ที่ผ่านมายังคงมีข้อปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติบางประการ ที่ประชุมจึงมีมติให้ปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าว ตามมติของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ดังนี้
1. ระบบของเครื่องมือตรวจวัดควันดำแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ
(1) เครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง (Filter)
(2) เครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง (Opacity) แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบไหลผ่านทั้งหมด (Full Flow Opacity) แบบไหลผ่านบางส่วน (Partial Flow Opacity)
2. วิธีการตรวจวัดควันดำแบ่งเป็น 2 วิธี คือ ขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ขณะเครื่องยนต์มีภาระและอยู่บนเครื่องทดสอบ
3. ค่ามาตรฐานควันดำ
(1) ขณะเครื่องยนต์ไม่มีภาระ ต้องไม่เกินร้อยละ 50 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำ ระบบกระดาษกรอง และต้องไม่เกินร้อยละ 45 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสงแบบไหลผ่านทั้งหมด
(2) ขณะเครื่องยนต์มีภาระ และอยู่บนเครื่องทดสอบ ต้องไม่เกินร้อยละ 40 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง และต้องไม่เกินร้อยละ 35 เมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบวัดความทึบแสง แบบไหลผ่านทั้งหมด หรือแบบไหลผ่านบางส่วน
ในปรับปรุงมาตรฐานค่าควันดำและมาตรฐานวิธีการตรวจวัดควันดำจากรถยนต์ดีเซล กำหนดให้สามารถใช้งานเครื่องมือตรวจวัดควันดำทั้งระบบกระดาษกรองและระบบวัดความทึบแสงควบคู่กันไป ในระยะแรกต้องใช้ทั้งสองระบบไปก่อน แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นเครื่องมือระบบวัดความทึบแสงต่อไป--จบ