พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการติดตามและรายงานความก้าวหน้าการดาเนินงานของทั้งสองฝ่าย ดังนี้
1. การศึกษา สารวจ ออกแบบและก่อสร้าง ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – แก่งคอย และช่วงที่ 3 แก่งคอย – นครราชสีมา ผลการดาเนินงานมีความก้าวหน้ามาก ส่วนช่วงที่ 2 แก่งคอย – มาบตาพุด และช่วงที่ 4 นครราชสีมา – หนองคาย อยู่ระหว่างการดาเนินงาน คาดว่าจะสามารถสรุปจานวนสถานี และสัดส่วนแนวเส้นทางเดิมและเส้นทางใหม่เพื่อใช้ในการออกแบบ ในช่วงที่ 1 และช่วงที่ 3 ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งจะออกแบบแล้วเสร็จภายในวันที่ 21 สิงหาคม 2558 และเริ่มดาเนินการก่อสร้างได้ภายในเดือนตุลาคม 2558
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรมบุคลากร ทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรม ระยะเวาที่ใช้ในการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างไทย – จีน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าว และจะมีการคัดเลือกผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร เข้าร่วมเป็นคณะทางานในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงรูปแบบความร่วมมือและการลงทุนว่า การลงทุนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ไทยจะรับผิดชอบการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่ 2 ไทยได้เสนอให้จีนพิจารณาร่วมลงทุนระหว่างไทย – จีน ในส่วนของเทคโนโลยี และการเดินรถ โดยหลักการจะเป็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน สาหรับแหล่งเงินทุนยังคงยึดหลักการเดิม คือ แหล่งเงินทุนจะมาจากหลายแหล่ง ดังนี้
1) งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
2) ขอบเขตงานของฝ่ายไทย (ก่อสร้างงานโยธา) ใช้เงินกู้ภายในประเทศ
3) ขอบเขตงานของฝ่ายจีน (ระบบรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบควบคุม) ใช้เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน และ/หรือ เงินกู้เชิงพาณิชย์จากธนาคารเพื่อการนาเข้าและส่งออกของจีน (China EXIM Bank)
4) งานเดินรถและการซ่อมบารุง จะมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างไทย – จีน
รวมถึงอาจมีการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น โดยฝ่ายจีนยินดีที่จะพิจารณาให้ไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นมิตรภาพที่สุดและเป็นประโยชน์กับประเทศไทยมากที่สุด และฝ่ายจีนไม่ได้กาหนดว่าจะต้องเป็นเงินสกุลหยวนเท่านั้น ซึ่งจะมีการหารือในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง เนื่องจากต้องรอผลการศึกษาแนวเส้นทางที่ชัดเจนก่อน
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นที่จะเชื่อมโยงแผ่นดินใหญ่ของจีน – ไทย – อาเซียน ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทาให้ตลาดการท่องเที่ยว และสินค้าส่งออกของไทยดียิ่งขึ้น
รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมในครั้งนี้ ได้หารือในเรื่องการศึกษาพื้นที่แก่งคอย จังหวัดสระบุรี เพื่อเตรียมพร้อมเป็นศูนย์ซ่อมใหญ่ของการเดินรถไฟเส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย ส่วนศูนย์สั่งการการเดินรถ ฝ่ายไทยได้ยืนยันให้จีนตั้งศูนย์สั่งการการเดินรถที่เชียงรากน้อย
นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมฯ ได้กาหนดการประชุมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2558 ณ เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน
"มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"
ที่มา, ผู้เสนอ : กองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
ที่มา: http://www.thaigov.go.th