วันนี้ (16 กรกฎาคม 2558) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วยนายแพทย์ดนัย ธีวันดา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ แถลงข่าวการประชุมวิชาการ การพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6“สุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 5รอบ” ระหว่างวันที่ 22–24 กรกฎาคม 2558 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็ จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และให้บุคลากรการแพทย์นำเสนอผลงานการพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร โดยกราบบังคมทูลเชิญสมเด็ จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 เวลา 17.00 น.
ดร.นายแพทย์พรเทพกล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้สนองพระราชดำริสมเด็ จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยในสุขภาพอนามัยเด็ กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยจัดโครงการแก้ไขปัญหาและบริการส่งเสริมสุขภาพที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ห่างไกล ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริ การ บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมมากมาย ประกอบด้วย 1.โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดี น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิ ดโรคคอพอก ไอคิวต่ำ ในปี 2533 สนับสนุนการใช้น้ำเสริมไอโอดีน เกลือเสริมไอโอดีน ตรวจคอพอกและให้ความรู้ โรคขาดสารไอโอดีน ทำให้ปัญหาคอพอกในนักเรียนลดลง 44 เท่าตัวจากร้อยละ 22 ในปี 2535 เหลือร้อยละ 0.5 ในปี2554 2.โครงการส่งเสริมโภชนาการและบริการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร ในปี 2539 อัตราตายทารกและทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลงกว่าร้อยละ 50
3.โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่ นทุรกันดาร ตามพระราชดำริพระองค์ท่าน ดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ในเรื่องโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร สุขอนามัย ทันตสุขภาพ การออกกำลังกาย น้ำบริโภค ส้วม และจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งผลให้สุขภาพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่โครงการพระราชดำริดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังมีบางกลุ่มที่มีปัญหาด้ นโภชนาการและสุขภาพ โดยผลสำรวจสุขภาพปี 2556 ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พบเด็กเล็กเตี้ยร้อยละ 10 และเด็กประถมเตี้ยร้อยละ 9 มีเหาร้อยละ 20 ไม่ได้กินยาวิตามินเสริมธาตุ เหล็กร้อยละ 36 ฟันแท้ผุ ถอน อุดร้อยละ 46 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมมี สามเณรเตี้ยร้อยละ 7 อ้วนร้อยละ 14 ฟันแท้ผุ ถอน อุดร้อยละ 60 ส่วนในศูนย์การเรียนรู้ชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง (ศศช.) พบปัญหาการเข้าถึงบริการด้านอนามัยแม่และเด็ก มีแม่อายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 20 ไม่มาฝากครรภ์ร้อยละ 57 คลอดกับหมอตำแยร้อยละ 72 โดยกรมอนามัยได้จัดอบรมครูและนักเรียนเรื่องอาหาร โภชนาการ สร้างพฤติกรรมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ศศช. และจัดอบรมถวายความรู้แก่พระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง สามเณรแกนนำในโรงเรียนพระปริยัติธรรม รวมทั้งพัฒนาให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับที่สูงขึ้น
4.โครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ.2557-2558 สร้างและปรับปรุงส้วมโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริฯ ให้ได้มาตรฐาน สำเร็จแล้ว 81 แห่ง จำนวนกว่า 600 ส้วม ได้แก่ รร.ตำรวจตระเวนชายแดน 49 แห่ง รร.พระปริยัติธรรมจำนวน 10 แห่งรร.เอกชนสอนศาสนาอิสลาม 11 แห่ง ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง 10 แห่ง และรร.สังกัดอบจ.ระนอง 1 แห่ง จะขยายโครงการต่อระยะที่ 2 ปี 2558 – 2559 ในโรงเรียนเป้าหมายตามพระราชดำริฯ ที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดารอีก 60 แห่งใน 28 จังหวัด เพื่อพัฒนาสุขภาพอนามัยเด็กและประชาชนในพื้นที่ทุรกันดารให้มีสุขภาพดี มีส้วมใช้และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
ด้านนายแพทย์ดนัย ธีวันดา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กล่าวว่า ในการประชุม มีการนำเสนอผลงานเด่นการแก้ไขปัญหาอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่เป้าหมายตามพระราชดำริ ภายใต้แนวคิด วิถีเด็กไทยอนามัยดี สมองดีมีสุข แบ่งเป็น 3 ห้อง ห้องที่ 1 ด้านการส่งเสริมสุขภาพ อาทิ SMARTMONK กินดีมีสุข เติบโตสมวัย, สุขอนามัยเด็กไทยมุสลิม, คัดกรองสุขภาพนักเรียน ตชด. สมรรถภาพทางกายวิถีสมณสารูป, ดี เก่ง สุข รุกเด็ก ตชด. ห้องที่ 2 ด้านบริบทแวดล้อมต่อการส่งเสริมสุขภาพอาทิ สุขศึกษาพัฒนาอนามัยส่วนบุคคลสามเณร, สุขภาพนักเรียน ตชด., บริการสุขภาพอำเภอใส่ใจอนามัยเด็กวัยเรียน และห้องที่ 3 เป็นการเสนอผลงานของเครือข่ายสุขภาพและการแสดงนิทรรศการ “สุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ” ที่เป็นผลงานเด่นอาทิ สถานการณ์สุขภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ส้วมสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ อนามัยสามเณรน้อย สุขอนามัยเด็ก ตชด. เป็นต้น ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้
ทั้งนี้ จะมีพิธีพระราชทานประกาศเกียรติคุณ รวม 83 ราย ประกอบด้วย โล่รางวัล Princess Health Award แก่ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ทันตแพทย์ ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข็มเชิดชูเกียรติ ชั้นที่ 1 แก่ผู้ปฏิบัติงานในโครงการพระราชดำริ 14 ราย เข็มที่ระลึกแก่ผู้สนับสนุนโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา 23ราย และโล่เกียรติคุณสุดยอดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 45 แห่งด้วย
16 กรกฎาคม 2558
ที่มา: http://www.thaigov.go.th