นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ. ได้ตระหนักว่าการวิจัยและพัฒนาเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะทำให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้ง “เครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา” สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานวิจัย เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2556 - 2557 ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้สำรวจปัญหา และความต้องการในด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ด้วยการประชุมระดมสมองในกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา เพื่อส่งต่อให้นักวิจัยพิจารณาดำเนินการวิจัยและพัฒนาร่วมกับผู้ประกอบการ
ขณะนี้มีผลงานวิจัยที่สำเร็จในระดับหนึ่งและเป็นงานวิจัยนำร่อง ได้แก่ การวิจัยและพัฒนายางล้อตัน การรักษาคุณภาพเนื้อไม้ยางพารา และการปรับปรุงคุณภาพยางล้อตันไร้รอยเปื้อน (Non – marking solid tire) ซึ่งผลงานการปรับปรุงคุณภาพยางล้อตันไร้รอยเปื้อน ผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำฐานข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น ฐานข้อมูลผลงานวิจัย ฐานข้อมูลนักวิจัยด้านยางและไม้ยางพารา รวมทั้งกิจกรรมพัฒนาความรู้ของสมาชิกเครือข่ายฯ ได้แก่ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนาวิชาการ ที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ประกอบการได้ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของเครือข่ายฯ เป็นอย่างดี
แนวทางการดำเนินงานในปี 2558 โดยเครือข่ายฯ ยังคงมีการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม การสัมมนาวิชาการ การพัฒนาเว็บไซต์ฐานข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยและนักวิจัย เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินการเรื่องการวิจัยและพัฒนาในปีนี้ เครือข่ายฯ จะดำเนินการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบความบกพร่องของเส้นด้ายยางยืดแบบอัตโนมัติ โดยได้จากการสำรวจความต้องการด้านการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเส้นด้ายยางยืด ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ยังช่วยผู้ประกอบการพัฒนา
โจทย์วิจัยที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถนำไปสู่การผลิตในเชิง พาณิชย์ได้ซึ่งจะก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างกว้างขวาง และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการริเริ่มการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มได้อีกทางหนึ่งสำหรับกิจกรรมที่ได้จัดเพิ่มเติมขึ้นและเป็นกิจกรรมที่เครือข่ายฯ ให้ความสำคัญมาก
เนื่องจากเป็นหัวใจสำคัญในการจัดตั้งเครือข่ายฯ คือ การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิกในเครือข่ายฯ โดยจัดกิจกรรมให้มีการพบปะระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา ด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการ หน่วยงานวิจัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิจัยและพัฒนา ได้พบปะ หารือ และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้และประสบการณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดความคุ้นเคย และไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญของการสร้างความร่วมมือกันทางด้านการวิจัยและพัฒนา โดยการประชุมกลุ่มย่อยที่เครือข่ายได้จัดไปแล้ว คือ เรื่อง การใช้ยางพาราในทางการทหาร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558ซึ่งได้รับผลการตอบรับจากผู้ประกอบการ และหน่วยงานต่างๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ยังจัดตั้ง “คลินิกยาง” เพื่อให?บริการวิเคราะห?ป?ญหา และให?คำปรึกษาในการแก?ไขป?ญหา การลดต?นทุนการผลิต ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ?แก?ผู?ประกอบการและผู้ที่สนใจ ผ่านช?องทางต?งๆ เช?น ทางโทรศัพท? อีเมล? เว็บไซต?ของเครือข?ยฯ และการเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษา
นายอุดม ผศอ. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินการดังกล่าวผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เริ่มมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่มากขึ้น เริ่มเปิดเผยความต้องการในการวิจัยและพัฒนา และให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายฯ คือ สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันภายในเครือข่ายเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยที่เกิดประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม โดยในปัจจุบันสมาชิกเครือข่ายฯ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา นักวิจัยด้านยางและไม้ยางพารา รวมทั้งนักศึกษา รวมทั้งสิ้น 246 คน และยังคงเปิดรับสมาชิกอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ดังนั้น สศอ. จึงริเริ่มที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างเครือข่ายนำร่องอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป
ที่มา: http://www.thaigov.go.th