ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่การกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป ภาคอุตสาหกรรมจะเป็นผู้รับจ้างผลิตเหมือนเดิมไม่ได้ วันนี้ต้องปรับตัว ปรับวิธีคิดทั้งนักวิจัยและผู้บริหาร องค์กรต่างๆ ต้องเปลี่ยนจากองค์กรแห่งความเป็นเลิศ มีบุคลากรที่มีความสามารถสูง ไปเป็นองค์กรเพื่อสร้างชาติ ต้องมองภาคสังคมและเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องนำความเชี่ยวชาญของนักวิจัยและภาคอุตสาหกรรมมาเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างประเทศไทย วันนี้เรากำลังคิดและทำรายละเอียดในการทำพื้นที่พิเศษเพื่อให้เอานวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ หากทำได้ประเทศไทยจะกระจายนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมอย่างมาก ทั้งนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรมสำหรับประชาชนทั่วไป
ด้าน รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ กล่าวว่า งานประชุมวิชาการโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหรรม (พวอ.) ครั้งที่ 1 "สร้างสรรค์งานวิจัย ตอบโจทย์อุตสาหกรรมมั่งคั่งและยั่งยืน" มีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 1,000 คน ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญที่บ่งบอกถึงความร่วมมือด้านการวิจัยที่ดีระหว่างนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ดำเนินการให้ทุนการวิจัยระยะที่ 1 พ.ศ. 2556-2563 โดยได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยในระดับปริญญาเอกและบัณฑิตศึกษารวมทั้งสิ้น 538 ทุน โดยโครงการวิจัยร่วมในระดับปริญญาเอกยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ แต่มีผลความก้าวหน้าต่อเนื่อง ขณะที่ทุนวิจัยร่วมในระดับปริญญาโทบางส่วนเริ่มเสร็จสิ้นและพร้อมเผยแพร่ให้ผู้สนใจและสาธารณชนทราบ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าองค์ความรู้และผลงานวิจัยที่แสดงในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม นักวิจัย และการทำวิจัยทั้งในสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่อไป
นอกจากนี้ ภายในงานมีการแสดงผลงานและนำเสนอความก้าวหน้าในงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกกว่า 100 ผลงาน จาก 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย (1) กลุ่มเกษตร เช่น เกษตรกรรม (พืช-สัตว์) และเครื่องจักรกลทางการเกษตร อาทิ งานวิจัยเรื่องการศึกษาภาวะของกรดเบสของอาหารสูตรรวมที่ต่างกันต่อการเพิ่มคุณภาพองค์ประกอบของเนื้อโค และการผลิตเนื้อโคสุขภาพ การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อการประมาณความชื่นของแป้งมันสำปะหลังของเครื่องอบแห่งแบบพาหะลมแบบออนไลน์ (2) กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มแปรรูปสินค้าการเกษตร อาทิ การดัดแปลงโครงสร้างของบะหมี่โภชนาการสูงคีนรูปเร็วโดยใช้ไมโครเวฟแบบต่อเนื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวพองสำเร็จรูปด้วยไมโครเวฟ การยืดอายุการเก็บรักษาก๋วยเตี๋ยวแบบกึ่งแห้งด้วยสารสกัดเปปไทด์จากถั่วแปะยี การพัฒนาสูตรและยืดอายุการเก็บรักษาหข้าวหลาม การรักษาความคงตัวของทักทิมกรอบสำเร็วรูป การเสริมใยอาหารปรเภทพรีไบโอติกในผลิตภัณฑ์ข้าวแผ่นกรอบ (3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เช่น ยา สมุนไพร ชีวเวชศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ อาทิ กลไกการยับยั้งเซลล์มะเร็ง และเชื้อรา Candida albicans โดยสารสกัดพรอพอลิสเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชะลอการงอกของเส้นขนจากสารสกัดชะเอมเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้นแบบสำหรับสตรีวัยทองจากผลหม่อน การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมีดอะมะลา (ไวน์น้ำผึ้งผสมมะขามป้อม) (4) กลุ่มเคมีและวัสดุศาสตร์ เช่น ปิโตรเลียมปิโตรเคมี ยางและผลิตภัณฑ์ยาง พอลิเมอร์ และเซรามิก เช่น การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อสมบัติของยางคอมพาวด์ที่ใช้ในการผลิตดอกยางล้อ การพัฒนาที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายสำหรับกระบวนการลามิเนตของฟิล์มพอลิโพรพิลีนที่ถูกดึงยืด (5) กลุ่มพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม เครื่องจักรโลหการและชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อาทิ การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการปรับแผนการผลิตของสายการผลิตชุดอ่านเขียนข้อมูลฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เป็นต้น
ผู้เขียนข่าว : ปราโมทย์ ป้องสุธาธาร
ถ่ายภาพ : นายไววิทย์ ยอดประสิทธิ์ , นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@most.go.th Facebook : sciencethailand
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
ที่มา: http://www.thaigov.go.th