การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3 และแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2559

ข่าวทั่วไป Thursday September 10, 2015 14:57 —สำนักโฆษก

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะแถลงว่า ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติ

• รับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3 ที่มีวงเงินปรับลดลง 132,365.87 ล้านบาท จากเดิม 1,597,566.30 ล้านบาท เป็น 1,465,200.43 ล้านบาท และ

• อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2559 ซึ่งประกอบด้วย 3 แผนย่อย วงเงินรวม 1,728,170.21 ล้านบาท ได้แก่ แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 563,926.88 ล้านบาท แผนการปรับโครงสร้างหนี้ วงเงิน 904,623.21 ล้านบาท และแผนการบริหารความเสี่ยง วงเงิน 123,114.54 ล้านบาท ล้านบาท และรับทราบแผนการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ วงเงิน 104,823.98 ล้านบาท และแผนการบริหารหนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ วงเงิน 31,681.60 ล้านบาท รายละเอียดดังนี้

แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ปรับปรุงครั้งที่ 3

การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3 ที่มีวงเงินปรับลดลง 132,365.87 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการปรับลดแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ดังนี้

• แผนการกู้เงินของรัฐบาล ปรับลดลง 106,011.85 ลบ. จากเดิม 432,628.28 ลบ. เป็น 326,616.43 ลบ. อาทิ เงินกู้เพื่อพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและขนส่งทางถนน ปรับลด 37,000 ลบ. ให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายในปี 58 และมีส่วนหนึ่งจะใช้เงินกู้ยืมจาก กสทช. แทน, เงินกู้ที่ กค. กู้ให้ รฟม. กู้ต่อปรับลด 1,849.90 ลบ., เงินกู้ที่ กค. กู้ให้ รฟท. กู้ต่อ (ในประเทศ) ปรับลด 19,037.85 ลบ. ได้แก่ ปรับลดวงเงินกู้ในประเทศสำหรับสายสีแดง บางซื่อ – รังสิต 5,204.06 ลบ. เนื่องจากได้กู้เงินจาก JICA แล้ว , ปรับวงเงินโครงการที่ รฟท. เลื่อนการใช้เงินไปปี 59 ออกจากแผน รวม 8,442.46 ลบ. ได้แก่ รถไฟทางคู่ 3 สายทาง (ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย ,ช่วงชุมทางจิระ – ขอนแก่น และช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร) และโครงการจัดหารถไฟฟ้าธรรมดา (City Line Airport Rail Link) 7 ขบวน และปรับวงเงินโครงการที่ดำเนินการล่าช้าและเกินระยะเวลาที่ ครม. อนุมัติไว้ ซึ่ง รฟท. จะต้องเสนอ ครม. ใหม่ 3 โครงการ ออกจากแผน รวม 5,391.33 ลบ. ได้แก่ 1) งานปรับปรุงสะพาน 2) งานติดตั้งรั้ว และ3) งานก่อสร้างโรงรถจักรแก่งคอย และเงินกู้ที่ กค. กู้ให้ รฟท. กู้ต่อ (ต่างประเทศ) ปรับลด 37,034.16 ลบ. ตามวงเงินที่ได้เจรจากับ JICA

• แผนการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจ ปรับลดลง 19,419.80 ลบ. จากเดิม 68,441.89 ลบ. เป็น 49,022.09 ลบ.

โดยเงินกู้เพื่อลงทุนปรับลด 10,562.81 ลบ. เนื่องจากการดำเนินการล่าช้า ใช้รายได้ดำเนินการ/ปรับแผนลงทุน ได้แก่ การประปานครหลวงและการไฟฟ้านครหลวง และการปรับลดตามวงเงินที่จัดซื้อจัดจ้างจริง ได้แก่ ขสมก. (โครงการซื้อรถ NGV 489 คัน) และเงินกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไปและอื่นๆ ปรับลดลง 8,856.99 ลบ. เนื่องจากการดำเนินการล่าช้า และใช้รายได้ดำเนินการ/ปรับลดตามใช้จริง

สำหรับแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีการปรับลดลงรวม 24,977.61 ลบ. (จากเดิม 848,939.08 ลบ. เป็น 823,961.47 ลบ.) ตามผลการดำเนินงานจริงซึ่งในส่วนที่ไม่ได้ดำเนินการในปี 2558 จะดำเนินการเมื่อหนี้ครบกำหนดต่อไป

แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2559

แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2559 มีวงเงินรวม 1,728,170.21 ลบ. สูงกว่าวงเงินแผนฯ ปี 58 ปรับปรุงครั้งที่ 3 จำนวน 262,929.8 ล้านบาท (สูงกว่าร้อยละ 18)

1. แผนการก่อหนี้ใหม่ ปี59 วงเงินรวม 563,926.88 ล้านบาท สูงกว่าวงเงินก่อหนี้ใหม่ในแผนฯ ปี 58 ปรับปรุงครั้งที่ 3 จำนวน 188,288.36 ลบ. (สูงกว่าร้อยละ 50) ประกอบด้วย

• แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล รวม 515,799.85 ลบ.

• เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 390,000.00 ลบ.

          • เงินกู้ ตาม พรก. ส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ         900.00 ลบ.

• เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) 2,700.00 ลบ.

• เงินกู้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและขนส่งทางถนน 36,700.00 ลบ.

• โครงการของกรมทางหลวง 21,736.00 ลบ.

  • โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา วงเงิน 11,696 ลบ.
  • โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 10,040 ลบ.

• เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้มาให้ รฟม. กู้ต่อ 16,012.00 ลบ.

• เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้มาให้ รฟท. กู้ต่อ (ในประเทศ) 17,179.14 ลบ.

• เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้มาให้ รฟท. กู้ต่อ (ต่างประเทศ) 27,570.47 ลบ.

• เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้มาให้การบินไทยกู้ต่อ (ต่างประเทศ) 3,002.24 ลบ.

• แผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ รวม 48,127.03 ลบ.

• แผนเงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการ 26,803.83 ลบ.

• แผนเงินกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไป 21,323.20 ลบ.

2. แผนการปรับโครงสร้างหนี้ ปี 59 วงเงินรวม 904,623.21 ล้านบาท สูงกว่าวงเงินในแผนฯ ปี 58 ปรับปรุงครั้งที่ 3 จำนวน 80,661.74 ลบ. (สูงกว่าร้อยละ 10)

3. แผนการบริหารความเสี่ยง ปี 59 วงเงินรวม 123,114.54 ล้านบาท สูงกว่าวงเงินในแผนฯ ปี 58 ปรับปรุงครั้งที่ 3 จำนวน 47,066.44 ลบ. (สูงกว่าร้อยละ 62) เนื่องจาก

ในปี 59 กระทรวงการคลังมีแผนการบริหารความเสี่ยงหนี้ในประเทศ วงเงิน 51,109.04 ลบ. โดยการกู้เงินใหม่เพื่อชำระคืนหนี้เดิม (Refinancing) , การแปลงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Interest Rate Swap: IRS) และการชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด (Prepayment) เพื่อปิดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและลดความเสี่ยงจากภาระการปรับโครงสร้างหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในปีงบประมาณหนึ่งๆ ในจำนวนที่สูงมาก

4 .แผนการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติ ครม. ปี 59 วงเงินรวม 104,823.98 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินในแผนฯ ปี 58 ปรับปรุงครั้งที่ 3 จำนวน 37,774.91 ลบ. (ต่ำกว่าร้อยละ 26)

• แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 43,130 ลบ.

• แผนการบริหารหนี้ วงเงิน 61,693.98 ลบ.

5.แผนการบริหารหนี้ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ต้องขออนุมัติ ครม. ปี 59 วงเงินรวม 31,681.60 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินในแผนฯ ปี 58 ปรับปรุงครั้งที่ 3 จำนวน 15,271.85 ลบ. (ต่ำกว่าร้อยละ 33)

•แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 31,681.60 ลบ.

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ