พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงถึงนโยบายนี้ว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจโดยรวมเพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 20 ของราคาบ้านที่ซื้อ นำมาหารเฉลี่ยใช้ลดหย่อนภาษีปีละเท่าๆ กันต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี และจากอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ์รวมถึงการจดจำนองที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.01 ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนให้มีเงินเหลือพอที่จะนำไปจับจ่ายใช้สอยหรือซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งเป็นการเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
นอกจากนี้รัฐบาลยังได้กำหนดคุณสมบัติผู้ที่ซื้อบ้านจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท และกำหนดราคาบ้านไม่เกิน 3,000,000 บาท โดยวงเงินกู้จะลดหลั่นลงไปตามสัดส่วนของรายได้ กล่าวคือ รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท กู้ได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท รายได้ไม่เกิน 20,000 บาท กู้ได้ไม่เกิน 2,000,000 บาท สูงสุดที่ 3,000,000 บาท สำหรับรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท เพื่อให้รายได้ของผู้ซื้อมีความสอดคล้องกับราคาบ้าน ไม่เป็นภาระแก่ผู้ซื้อมากจนเกินไป ที่สำคัญยังมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมคงที่ปีแรกที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยปกติ การกำหนดราคาบ้านที่เหมาะสมนี้จะช่วยให้ประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางสามารถซื้อบ้านได้จริง เพราะหากตั้งราคาบ้านในวงเงินที่สูงเกินไปหรือไม่กำหนดเพดานรายได้ตามสัดส่วนข้างต้นก็จะเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนกลุ่มอื่นซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมาย
สำหรับในประเด็นที่มีบางกลุ่มเปรียบเทียบนโยบายนี้กับนโยบายบ้านหลังแรกของรัฐบาลที่ผ่านมานั้น ก็ขออนุญาตไม่เปรียบเทียบเกรงว่าจะเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง แต่ยืนยันว่าการกำหนดวงเงินเพดานของบ้านกับรายได้ของผู้ซื้อให้มีความเหมาะสมกัน ไม่กำหนดวงเงินบ้านสูงจนผู้ซื้อที่มีรายได้น้อย – ปานกลางเข้าไม่ถึงหรือเมื่อผู้ซื้อ ตกลงใจที่จะซื้อแล้วกลับเป็นภาระที่หนักเกินไปจะเป็นผลดีต่อผู้ซื้อบ้านมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายของรัฐบาลจะกำหนดอัตราสูงสุดของการใช้สิทธิ์แต่ละรายที่ 3,000,000 บาท ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนผู้สนใจจะต้องใช้สิทธิ์สูงสุดตามจำนวนเงินนั้น แต่ขอให้พิจารณาถึงปัจจัยสำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น รายได้และประมาณการเพิ่มขึ้นของรายได้ในอนาคต ตลอดจนค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกและค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนรวมถึงเงินออมของครอบครัวด้วยว่าอัตราการผ่อนชำระแต่ละเดือนนั้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพียงพอที่จะผ่อนชำระไปจนสิ้นสุดสัญญาหรือไม่ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ซื้อจนประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนชำระต่อไปได้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่าการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลนั้น นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับผลที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยทุกคนเป็นลำดับแรก ดังนั้นหากที่ผ่านมามีโครงการใดที่ดำเนินการแล้วได้ผลดีรัฐบาลก็ยินดีที่จะดำเนินโครงการนั้นต่อไปแต่อาจมีการปรับวิธีการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง แต่ถ้าโครงการใดไม่ประสบความสำเร็จรัฐบาลจะเรียนรู้เพื่อเป็นบทเรียนไม่ให้เกิดความผิดพลาดเหมือนที่ผ่านมา
นอกเหนือจากนั้น การที่มีคนบางกลุ่มพยายามเปรียบเทียบนโยบายนี้กับนโยบายรถคันแรก ก็ขอให้ทำความเข้าใจว่าไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากบ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามวันเวลา ต่างกับรถยนต์ซึ่งไม่ใช่ปัจจัย 4 แต่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและมีมูลค่าลดลงเมื่อเวลาผ่านไป บ้านและรถจึงมีระดับความจำเป็นที่แตกต่างกัน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้ทางทีมเศรษฐกิจอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติในรายละเอียดที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุดะจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเรื่องการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางที่จะมีโอกาสเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น มีหลักทรัพย์เพื่ออนาคต มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการลดความเหลื่อมล้ำและคืนความสุขให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงถึงนโยบายนี้ว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจโดยรวมเพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 20 ของราคาบ้านที่ซื้อ นำมาหารเฉลี่ยใช้ลดหย่อนภาษีปีละเท่าๆ กันต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี และจากอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ์รวมถึงการจดจำนองที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.01 ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนให้มีเงินเหลือพอที่จะนำไปจับจ่ายใช้สอยหรือซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งเป็นการเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
นอกจากนี้รัฐบาลยังได้กำหนดคุณสมบัติผู้ที่ซื้อบ้านจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท และกำหนดราคาบ้านไม่เกิน 3,000,000 บาท โดยวงเงินกู้จะลดหลั่นลงไปตามสัดส่วนของรายได้ กล่าวคือ รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท กู้ได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท รายได้ไม่เกิน 20,000 บาท กู้ได้ไม่เกิน 2,000,000 บาท สูงสุดที่ 3,000,000 บาท สำหรับรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท เพื่อให้รายได้ของผู้ซื้อมีความสอดคล้องกับราคาบ้าน ไม่เป็นภาระแก่ผู้ซื้อมากจนเกินไป ที่สำคัญยังมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมคงที่ปีแรกที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยปกติ การกำหนดราคาบ้านที่เหมาะสมนี้จะช่วยให้ประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางสามารถซื้อบ้านได้จริง เพราะหากตั้งราคาบ้านในวงเงินที่สูงเกินไปหรือไม่กำหนดเพดานรายได้ตามสัดส่วนข้างต้นก็จะเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนกลุ่มอื่นซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมาย
สำหรับในประเด็นที่มีบางกลุ่มเปรียบเทียบนโยบายนี้กับนโยบายบ้านหลังแรกของรัฐบาลที่ผ่านมานั้น ก็ขออนุญาตไม่เปรียบเทียบเกรงว่าจะเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง แต่ยืนยันว่าการกำหนดวงเงินเพดานของบ้านกับรายได้ของผู้ซื้อให้มีความเหมาะสมกัน ไม่กำหนดวงเงินบ้านสูงจนผู้ซื้อที่มีรายได้น้อย – ปานกลางเข้าไม่ถึงหรือเมื่อผู้ซื้อ ตกลงใจที่จะซื้อแล้วกลับเป็นภาระที่หนักเกินไปจะเป็นผลดีต่อผู้ซื้อบ้านมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายของรัฐบาลจะกำหนดอัตราสูงสุดของการใช้สิทธิ์แต่ละรายที่ 3,000,000 บาท ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนผู้สนใจจะต้องใช้สิทธิ์สูงสุดตามจำนวนเงินนั้น แต่ขอให้พิจารณาถึงปัจจัยสำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น รายได้และประมาณการเพิ่มขึ้นของรายได้ในอนาคต ตลอดจนค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกและค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนรวมถึงเงินออมของครอบครัวด้วยว่าอัตราการผ่อนชำระแต่ละเดือนนั้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพียงพอที่จะผ่อนชำระไปจนสิ้นสุดสัญญาหรือไม่ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ซื้อจนประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนชำระต่อไปได้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่าการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลนั้น นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับผลที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยทุกคนเป็นลำดับแรก ดังนั้นหากที่ผ่านมามีโครงการใดที่ดำเนินการแล้วได้ผลดีรัฐบาลก็ยินดีที่จะดำเนินโครงการนั้นต่อไปแต่อาจมีการปรับวิธีการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง แต่ถ้าโครงการใดไม่ประสบความสำเร็จรัฐบาลจะเรียนรู้เพื่อเป็นบทเรียนไม่ให้เกิดความผิดพลาดเหมือนที่ผ่านมา
นอกเหนือจากนั้น การที่มีคนบางกลุ่มพยายามเปรียบเทียบนโยบายนี้กับนโยบายรถคันแรก ก็ขอให้ทำความเข้าใจว่าไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากบ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามวันเวลา ต่างกับรถยนต์ซึ่งไม่ใช่ปัจจัย 4 แต่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและมีมูลค่าลดลงเมื่อเวลาผ่านไป บ้านและรถจึงมีระดับความจำเป็นที่แตกต่างกัน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้ทางทีมเศรษฐกิจอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติในรายละเอียดที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด
ที่มา: http://www.thaigov.go.th