พระราชกรณียกิจด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์
เมื่อปี พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณและพยากรณ์ว่า ปีมะโรง พ.ศ. 2411 วันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 จะเกิดปรากฏการณ์ สุริยุปราคามืดหมดดวง จะเห็นได้ชัดที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งทรงพยากรณ์ล่วงหน้าถึง 2 ปี โดยไม่มีหลักฐานการคำนวณจากประเทศตะวันตก และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 อันเป็นวันสำคัญใน ประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนบรรดาผู้มาเข้าเฝ้าทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ต่างเฝ้ารอคำพยากรณ์จากการคำนวณทางดาราศาสตร์ ในตอนแรกไม่มีผู้ใดแลเห็น สุริยุปราคาตอนเริ่มจับ พระองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า คลาสเริ่มจับเวลา 10.04 น. รอจนถึง 10.16 น. คลาสเริ่มจับมากขึ้นทุกที ท้องฟ้าที่สว่างเริ่มมืดสลัวลง จนถึงเวลา 11.20 น. ท้องฟ้ามืดลงจนมองเห็นดวงดาว คลาสจับ เต็มดวงเมื่อเวลา 11.36 น. 20 วินาที กินเวลานานถึง 6 นาที 45 วินาที ท้องฟ้ามืดจนเป็นเวลากลางคืน นับ เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงตรงตามเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ทุกประการ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคของวิทยาศาสตร์มาแต่บัดนั้น การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้น ถือเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยพระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นผู้คำนวณด้วยพระองค์เองต่อ หน้าคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และแขกเมืองชาวต่างประเทศ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2525 เทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มา: http://www.thaigov.go.th