1. การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุการณ์ เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร การอบรมเพิ่มความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน เตรียมเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องมือ เครื่องจักรกล ป้ายเตือนต่าง ๆ การตรวจสอบเพื่อป้องกันทางหลวงชนบทในความรับผิดชอบ โดยเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ หรือเคยได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติที่ผ่านมา ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของถนนและสะพาน การขุดลอก และทำความสะอาด ตัดแต่งกิ่งไม้ที่กีดขวางช่องทางระบายน้ำ รวมทั้งติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ทช. ได้เตรียมความพร้อม โดยจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางที่สำคัญ และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าไว้ประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย สนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักร และยานพาหนะ เมื่อหน่วยงานในพื้นที่ร้องขอ
2. การเตรียมความพร้อมระหว่างเกิดเหตุการณ์ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรายงานสถานการณ์ผ่านระบบ FMS (Flood Management System) และติดตามสถานการณ์อำนวยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การนำวัสดุ อุปกรณ์ ป้องกันน้ำท่วมช่องทางจราจรสายหลัก เป็นต้น หากเส้นทางสำคัญที่เป็นแหล่งชุมชน เส้นทางอพยพหรือขนส่งไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ต้องเร่งฟื้นฟูสายทางให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ กรณีเกิดดินโคลนถล่มปิดทับเส้นทาง ต้องนำเครื่องจักรเข้าดำเนินการเปิดเส้นทางจราจรให้เร็วที่สุด กรณีถนน สะพานขาด เร่งติดตั้งสะพานเหล็กชั่วคราว (แบริ่ง) ให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางผ่านได้ พร้อมจัดยานพาหนะสนับสนุนด้านการสัญจรไปมาให้ประชาชนเข้าถึงที่อาศัย รวมทั้งแจกจ่ายเครื่องอุปโภค และบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตชั่วคราว
3. การเตรียมความพร้อมหลังเกิดเหตุการณ์ ดำเนินการฟื้นฟูสายทางที่ได้รับผลกระทบ ชำรุดเสียหาย โดยระยะเร่งด่วนจะเข้าฟื้นฟูให้ประชาชนสัญจรไปมาได้ชั่วคราวภายใน 7 วัน ก่อนดำเนินการสำรวจออกแบบ ประมาณราคา และตรวจสอบความเสียหาย เพื่อจัดทำแผน ขอตั้งงบประมาณ เมื่อได้รับงบประมาณ ทช. จะเร่งดำเนินการการฟื้นฟูสายทางให้กลับคืนสู่สภาพเดิม เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สัญจรได้อย่างสะดวก และปลอดภัย
"มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"
ที่มา : กรมทางหลวงชนบท
ผู้เสนอ : กองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
ที่มา: http://www.thaigov.go.th