นายดำเกิง ปานขำ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดเก็บค่าผ่านทาง รักษาการในตำแหน่งรองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ กทพ. เปิดเผยในเรื่องดังกล่าวว่า กทพ. ได้เปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Easy Pass) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 โดยได้ให้บริการในสายทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษบูรพาวิถี ตามลำดับ จนถึงปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนกว่า 1,020,000 บัตร มีปริมาณจราจรที่ใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติจำนวนกว่า 5.4 แสนเที่ยว/วัน คิดเป็นร้อยละ 35 ของปริมาณรถ 4 ล้อ ที่ใช้ทางพิเศษทั้งหมด และการเปิดให้บริการเติมเงินในบัตร Easy Pass ผ่านช่องทางธุรกรรมของธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ จะทำให้ผู้ใช้ Easy Pass สามารถมีทางเลือกในการใช้บริการที่หลากหลาย และได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยสามารถดำเนินการเติมเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ช่องทางบริการผ่านบัตร ATM ช่องทางบริการผ่าน Internet ช่องทางบริการผ่าน IVR และช่องทางบริการผ่าน Mobile App ซึ่งจะไม่เสียค่าธรรมเนียมเป็นเวลา 3 เดือน
นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์ลูกค้าธุรกิจ ลูกค้ารายย่อย และลูกค้าบุคคล ธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ กล่าวว่า “ความร่วมมือของกรุงศรีและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในครั้งนี้ มุ่งมอบความสะดวกในการเติมเงินให้กับผู้ใช้บัตร Easy Pass ผ่านช่องทางที่หลากหลายเข้าถึงง่าย ทั้งเครื่องกรุงศรี เอทีเอ็ม, กรุงศรี ออนไลน์, กรุงศรี โมบาย แอพ และกรุงศรีโฟน 1572 ตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบัน ที่เน้นความคล่องตัว ความง่าย และสะดวกสบาย ขณะเดียวกันก็ยังเป็นโอกาสให้ธนาคารได้แสดงความพร้อมในการร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การชำระเงินให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรธุรกิจต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ทั้งนี้ เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.Krungsriasset.com
www.exat.co.th
www.thaieasypass.com
www.facebook.com/etceasypass
และ EXAT Call Center 1543
"มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"
ที่มา : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ผู้เสนอ : กองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
ที่มา: http://www.thaigov.go.th