เปิดแล้ว “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558” พลาดไม่ได้!!! กับ 4D Simulator พบกับสุดยอดเทคโนโลยีนวัตกรรม และตั๊กแตนไทยชนิดใหม่ของโลก

ข่าวทั่วไป Monday November 16, 2015 15:40 —สำนักโฆษก

นนทบุรี / 15 พฤศจิกายน 2558 –เริ่มแล้วอย่างยิ่งใหญ่กับงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558”(National Science and Technology Fair 2015)ภายใต้แนวคิด“จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” โดยรวมสุดยอดนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ มาจัดแสดงอย่างอลังการพลาดไม่ได้กับไฮไลท์ 4DSimulator เรือมหัศจรรย์ The Tomorrow Ship ในรูปแบบ 4DEffect สมจริงพร้อมพบกับหุ่นยนต์โรโบเทสเปียน ฮิวมานอยด์สุดอัจฉริยะและตั๊กแตนไทยชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบได้เฉพาะในประเทศไทย วันที่ 14-25 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในการเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558”ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานีว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558 จัดขึ้นเนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”พร้อมกันนี้เพื่อร่วมฉลองวาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้ปีนี้เป็น “ปีดินสากล” (UN International Year of Soils) และ “ปีสากลแห่งแสง” (UNESCO International Year of Light) ตามมติขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอีกด้วย ภายใต้แนวคิด“จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม”มหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ถือเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งปีระดับประเทศ และแถบภูมิภาคเอเชียในการแสดงผลงานความก้าวหน้าและศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ที่ทันสมัย และศักยภาพของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ของไทยโดยการผนึกกำลังร่วมกันของ 9 กระทรวง 7 ประเทศ มากกว่า 100 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน และปีนี้ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างประเทศมากกว่า 10 หน่วยงานเข้าร่วมจัดกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าทาง วทน. ได้แก่ ญี่ปุ่น (11 หน่วยงาน) จีน เกาหลีใต้ เวียดนาม สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาจัดแสดงและให้ความรู้จำนวนมากเต็มพื้นที่ในงาน อันจะเป็นการกระตุ้นความสนใจแก่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนที่ต้องเติบโตและเป็นกำลังสำคัญของประเทศในวันข้างหน้า ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปต่อยอดเพื่อพัฒนาชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศต่อไป

รศ. ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเสริมถึงความยิ่งใหญ่ของงานนี้ว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ในปีนี้ มีการดำเนินการปรับปรุงรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพิ่มกิจกรรมและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับทุกเพศทุกวัยให้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ร่วมสนุกและทดลองอย่างเพลิดเพลิน สำหรับนิทรรศการที่ไม่ควรพลาด คือ นิทรรศการ Royal Pavilion นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พบกับนิทรรศการย้อนอดีตไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ย้อนรอยสยามประเทศ “แสงสว่างแห่งปัญญา สยามประเทศก้าวหน้าสู่อารยะ” ชมพระวิสัยทัศน์และพระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช“พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ชื่นชมกับแสงสว่างจากปัญญาพระราชทาน สู่งานพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่ทรงนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาทดลองประยุกต์ใช้จนบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนไทยให้อยู่ดีกินดีได้อย่างยั่งยืนนอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระบรมวงศานุวงศ์อีกด้วย

ที่สำคัญในปีนี้ ยังมีวาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้ปีนี้เป็น “ปีดินสากล” (UN International Year of Soils) และ “ปีสากลแห่งแสง” (UNESCO International Year of Light) จึงได้จัดให้มีโซนพิเศษที่ไม่ควรพลาดเช่นกัน คือนิทรรศการดินดีชีวิตดีใน Soil Pavilion เพื่อเทิดพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็น “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” (Humanitarian SoilScientist) ที่ทรงสร้างคุณูปการให้กับประเทศชาติและนานาชาติจนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน นิทรรศการแสงคือชีวิตใน Light is Life Pavilion ที่จะทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของแสงกับชีวิต ท่องเข้าไปในอุโมงค์ที่จะทำให้เราได้ทดลองสัมผัสความรู้สึก “หากไร้แสงสว่าง...ปราศจากการมองเห็น” แล้วเราจะเป็นเช่นไร

ดร.พิเชฐ ได้กล่าวแนะนำถึงนิทรรศการหลักเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการที่ให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคมและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต อาทิ นิทรรศการสู้...วิกฤตลมฟ้าอากาศสัมผัสประสบการณ์4D Simulatorที่ทุกคนรอคอย กับการจำลองสถานการณ์ให้ผู้ชมอยู่บนเรือมหัศจรรย์ ล่องไปท่ามกลางอุบัติภัยทางธรรมชาติ ด้วย 4D Effect สมจริงเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเราและการช่วยกันแก้ปัญหาเพื่อการดำรงอยู่อย่างสมดุลบนโลกใบนี้นิทรรศการความหลากหลายสู่ความยั่งยืน เพลิดเพลินกับการค้นหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านภาพยนตร์ 3 มิติ เรื่อง การกำเนิดโลก และไฮไลท์ที่จะได้พบกับการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พบได้เฉพาะถิ่นของไทยถึง 4 ชนิด ได้แก่ ตั๊กแตนแม่โจ้แพร่มดต้นไม้สิรินธร มดหนามสาครและจิ้งหรีดต้นไม้สะแกราชนิทรรศการดิจิตอลเพื่ออนาคต พบหุ่นยนต์โรโบเทสเปียน (RoboTheSpian) ฮิวมานอยด์สุดอัจฉริยะ จากประเทศอังกฤษ ที่ถูกออกแบบให้มีโครงสร้างและการเคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์ และสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์นิทรรศการของเล่นภูมิปัญญาไทยและนิทรรศการช้างไทย ที่นำเรื่องไทยๆ ความเชื่อมานำเสนอในมุมมองวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมสำหรับเยาวชน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ลานกิจกรรมพัฒนาปัญญาเยาว์ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ลานกิจกรรมประกวดแข่งขัน แสดงผลงานและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ กิจกรรมประชุมสัมมนา กิจกรรมการอบรมสาธิตเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างอาชีพ ตลอดจนการแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ จากหน่วยงานร่วมจัดอีกมากมายโดยในส่วนของหน่วยงานเหล่านี้ยังมีไฮไลท์ที่น่าสนใจ อาทิแสงซินโครตรอน แสงจิ๋วทะลวงโลก แสงแห่งเอกภพ รู้จักกาแลกซี่ทางช้างเผือก ผลงาน 3D Printing Design Contest เปียโนล่องหน และสนุกกับกิจกรรม Soil for Life ฯลฯ

พร้อมกันนี้ในวันดังกล่าว ดร.พิเชฐฯ ยังเป็นประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ โครงการประกวดหุ่นยนต์บริการ ประจำปี 2558 โครงการประกวดรางวัลเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2558 และการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2557-2558 ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเยาวชนและผู้ประกอบการไทยในการคิดค้นพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้สามารถต่อยอดการผลิตและใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์อันจะก่อให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศต่อไป

ทั้งนี้ ดร.พิเชฐ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าขอเชิญชวนเยาวชนและประชาชนทุกท่านเข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2558 ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และหน่วยงานร่วมจัด ทุ่มเทเต็มที่เพื่อจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ระหว่างวันที่ 14-25 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมสนุกและเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ทุกคนสามารถเข้าชมได้อย่างเพลิดเพลิน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมและร่วมกิจกรรม

สำหรับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่โทร.02577 9960 เวลาที่เหมาะสมของการเข้าชมสำหรับประชาชนทั่วไป วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00-20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-20.00 น. ติดตามข่าวสารและรายละเอียดงานได้ที่ www.nstf2015.com หรือ facebook :มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร 0-2577-9999

ติดต่อกองประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

คุณพัชร์ชิสา (ปัญญ์) 094-486-5599 / คุณฐาปนี (เก๋ง) 085-772-9955 / คุณสุตานันท์ (กอล์ฟ) 089-499-5531

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558

คุณสุวรรณา (นา) 081-565-5540 / คุณพัสรา (ต่าย) 087-497-8183 / ดิศราพร (ปุ๋ย) T.086-985-6832

อีเมล: prnst2015@gmail.com

เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ

ถ่ายภาพ : นางสุนิสา ภาคเพียร นาวงษ์

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834

e-mail : pr@most.go.th

Facebook : sciencethailand

Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ