ที่ออกหาปลาในบริเวณเขตชายฝั่งตะนาวศรีของทะเลอันดามัน ซึ่งมีชายแดนทางทะเลติดต่อกับจังหวัดระนอง
ของไทย นิยมนำเรือบรรทุกปลาที่จับได้มาขึ้นฝั่งที่ท่าเทียบเรือประมงระนอง เพราะมีระบบสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบสาธารณูปโภค การบริหารจัดการที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ เช่น โรงแช่เย็น โรงงานแปรรูปอาหารทะเล โรงงานกระป๋อง ถึงแม้จะเดินทางมาไกลและถูกกดราคาแต่ก็ยอม เพราะมีความสะดวกในแทบทุกด้าน
และยังเป็นแหล่งรวมโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเพื่อส่งออกที่ผู้ซื้อจากทั่วโลก อาทิ สิงคโปร์ มเลเซีย สก็อตแลนด์ เข้ามาซื้ออาหารทะเลแบบเหมา รวมถึงเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก เมื่อเปรียบเทียบกับ
ตลาดปลาในรัฐตะนาวศรี จะพบว่ายังขาดแคลนระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมาก ซึ่งทั้งท่าเทียบเรือสะพานปลาภาครัฐและเอกชนในจังหวัดระนอง จะมีเรือประมงชาวเมียนมามากกว่า 1,000 ลำ มาจอดเทียบท่าเพื่อขายปลาโดยเฉพาะปลาน้ำลึกราคาแพง เช่น ปลาเต๋าเต้ย ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาจาระเม็ด และยังมีปลาอื่นๆเช่น ปลาทู ปลาหมึก ปลาครืดคาด ปลาเบญจพรรณ์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาคเอกชนของเมียนมาในเกาะสองและรัฐตะนาวศรีก็มีความหวังว่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาตลาดปลาและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลในอนาคตได้ แต่ในขณะเดียวกัน
ก็กำลังมองหาตลาดปลาในประเทศที่อยู่เมืองทางตอนเหนือ เช่น เมาะลำไย ย่างกุ้ง ซึ่งอาจจะช่วยให้ขายปลาได้
ในราคาที่สูงขึ้นกว่าตลาดปลาในจังหวัดระนองของไทย
สำหรับการส่งออกสินค้าประมงของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ย.58) มีมูลค่าส่งออกรวม 1,261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปมากที่สุดตามลำดับคือ กลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ส่วนปลาต่างๆที่ส่งออกไป เช่น ปลาหมึกสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 222 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื้อปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง 139 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลาแห้ง 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลามีชีวิตและพันธุ์ปลา 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา: http://www.thaigov.go.th