รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday November 25, 2015 15:02 —สำนักโฆษก

“เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2558 มีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนการบริโภคและการลงทุนภายใน ประเทศ และบทบาทนโยบายการคลังผ่านการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวได้ในระดับสูง ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 จะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง”

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2558 ว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2558 มีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ และบทบาทนโยบายการคลังผ่านการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวได้ในระดับสูง ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 จะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง” ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุดในรายละเอียดพบว่า

การบริโภคภาคเอกชนในเดือนตุลาคม 2558 มีปัจจัยบวกจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 62.2 ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลได้มีการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บบนฐานการใช้จ่ายภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่กลับมาหดตัวร้อยละ -4.1 ต่อปี โดยมีผลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ณ ราคาคงที่ซึ่งหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -15.3 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -6.5 ต่อปี จากการหดตัวของปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเขตภูมิภาคเป็นหลัก จากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และปริมาณอุปสงค์ในตลาดโลกที่ซบเซาทำให้กำลังซื้อของประชาชนชะลอลง

การลงทุนภาคเอกชนในเดือนตุลาคม 2558 มีสัญญาณทรงตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างสะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -4.6 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวได้ร้อยละ 0.2 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -6.5 ต่อปี สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่าหดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี

สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนตุลาคม 2558 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวในระดับสูงและดุลงบประมาณที่ขาดดุล ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณโดยรวมของรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2558 มีจำนวน 374.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 359.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 336.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 23.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 58.7 ต่อปี สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนตุลาคม 2558 ได้จำนวน 165.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.8 ต่อปี ทั้งนี้ ดุลงบประมาณในเดือนตุลาคม 2558 ขาดดุลจำนวน -218.1 พันล้านบาท สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย

ด้านอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -8.1 ต่อปี จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเป็นการหดตัวในทุกตลาดส่งออก ยกเว้นฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ที่ยังสามารถขยายตัวได้

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนตุลาคม 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน มาอยู่ที่ระดับ 84.7 จากการที่ยอดคำสั่งซื้อโดยรวมมีทิศทางดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากในช่วงท้ายปีผู้ประกอบการต่างจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ รวมทั้งได้รับผลดีจากการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับภาคการท่องเที่ยว สะท้อนได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามา ในประเทศไทย ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ต่อเดือน ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าในรอบ 2 เดือน สะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่แยกราชประสงค์เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ลดลง ขณะที่ภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคม 2558 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -4.8 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลพบว่าสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.4 ต่อเดือน โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของผลผลิตมันสำปะหลัง และข้าวโพด ที่ขยายตัวได้ดี กอปรกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ในขณะที่ผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือกยังคงหดตัวต่อเนื่อง จากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่หดตัว

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2558 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมหรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.8 ต่อปี เป็นผลมาจากการการหดตัวของราคาน้ำมัน ราคาไฟฟ้า และราคาเนื้อสัตว์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.3 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2558 ที่อยู่ในระดับสูงที่ 158.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า

รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามเอกสารแนบ

เอกสารแนบ

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2558

“เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2558 มีปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ และบทบาทนโยบายการคลังผ่านการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวได้ในระดับสูง ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 จะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง”

          1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนตุลาคม 2558 มีปัจจัยบวกจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 62.2 ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลได้มีการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่   ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการใช้จ่ายภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี    อย่างไรก็ตาม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่กลับมาหดตัวรอยละ -4.1 ต่อปี โดยมีผลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ณ ราคาคงที่ ซึ่งหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -15.3 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ    -6.5 ต่อปี จากการหดตัวของปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเขตภูมิภาค ที่หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -8.5 จากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำตามราคาน้ำมันดิบ และปริมาณอุปสงค์ในตลาดโลกที่ซบเซา ทำให้กำลังซื้อของประชาชนชะลอลง สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวร้อยละ -7.4 ต่อปี
          เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน    2557    2558
          Q1    Q2    Q3    ส.ค.    ก.ย.    ต.ค.    YTD
          ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)    0.4    1.0    1.7    -0.7    -2.4    2.1    -4.1    0.2
          %qoq_SA / %mom_SA        0.7    -0.5    -1.6    -1.8    4.0    -4.5
          ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)    1.5    10.8    2.0    1.5    10.4    -5.8    -7.4    3.3
          %qoq_SA / %mom_SA        -0.7    -3.9    0.1    3.5    -2.4    -2.3
          ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)    -41.4    -12.5    -27.3    -24.9    -24.0    -25.5    n.a.    -21.6
          %qoq_SA / %mom_SA        -7.0    -13.7    -7.2    -1.5    -1.8    -
          ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)    -14.3    10.9    -2.9    -10.6    -6.4    -0.7    -6.5    -1.5
          %qoq_SA / %mom_SA        8.5    -12.1    -3.6    18.6    7.4    -5.7
          รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)    -9.0    -10.2    14.1    -25.5    -13.2    -9.7    -10.1    -11.0
          ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค    65.0    68.4    64.9    61.8    61.5    61.2    62.2    64.8

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนตุลาคม 2558 มีสัญญาณทรงตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างสะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -4.6 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวได้ร้อยละ 0.2 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -6.5 ต่อปี นอกจากนี้ การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่าหดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี

          เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน    2557    2558
          Q1    Q2    Q3    ส.ค.    ก.ย.    ต.ค.    YTD

เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง

          ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)    -2.2    7.3     2.9     -0.5    8.4    -12.6    -4.6    2.3
          %qoq_SA / %mom_SA        -4.8    -4.8    3.3    -1.1    -3.8    0.2
          ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)    -3.2    -2.5    -0.2    -0.7    -0.6    0.4    -0.3    -1.1
          %qoq_SA / %mom_SA        0.8    1.7    -1.7    0.2    -0.9    -0.7
          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง    0.7    -3.7    -4.4    -5.7    -5.6    -6.1    -6.5    -4.8

เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร

          ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)    -26.8    -11.3    -17.3    -0.3    0.9    1.2    n.a.    -9.8
          %qoq_SA / %mom_SA        -7.2    -7.0    14.2    2.8    2.4    -
          ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)    -7.6    0.9    2.1    -10.8    17.9    -20.6    5.4    -2.1
          %qoq_SA / %mom_SA        0.5    -0.1    -6.2    6.8    -0.2    6.5
          ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ และรถไฟ (%yoy)    -4.8    0.1    -3.5    -2.3    10.4    -8.9    -2.7    -2.0
          %qoq_SA / %mom_SA        -1.0    -1.9    0.4    7.2    1.5    -2.6

3. สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนตุลาคม 2558 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวในระดับสูงและดุลงบประมาณที่ขาดดุล ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณโดยรวมของรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2558 มีจำนวน 374.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 359.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 336.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 23.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 58.7 ต่อปี สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลพบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนตุลาคม 2558 ได้จำนวน 165.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.8 ต่อปี ทั้งนี้ ดุลงบประมาณในเดือนตุลาคม 2558 ขาดดุลจำนวน -218.1 พันล้านบาท สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้ภาคการคลัง

          (พันล้านบาท)    FY2558    FY2558    FY 2559

Q1/

FY58 Q2/

FY58 Q3/

FY58 Q4/

FY58 กรอบวงเงิน

          งบประมาณ    ต.ค.    YTD

รายได้สุทธิของรัฐบาล

          (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)    2,207.5    507.5    469.9    652.5    577.5    2,330..0    165.3    165.3
          (%y-o-y)    6.4    0.8    7.5    7.2    9.9    0.2    -4.8    -4.8
          รายจ่ายรัฐบาลรวม    2,601.4    844.1     617.6     569.6     570.1    2,956.5    374.2    374.2
          (%y-o-y)    5.7    1.6    11.7    10.7    1.6    1.0    1.8    1.8
          รายจ่ายปีปัจจุบัน    2,378.1    766.4    557.7    529.4    524.6    2,720.0    359.6    359.6
          (%y-o-y)    5.9    0.7    15.6    11.1    -0.3    5.6    4.3    4.3
          รายจ่ายประจำ    2,106.6    725.1    481.0    452.3    448.1    2,181.8    336.1    336.1
          (%y-o-y)    7.4    12.5    7.3    8.1    -0.7    -1.1    1.8    1.8
          รายจ่ายลงทุน    271.6    41.3    76.7    77.1    76.4    538.2    23.5    23.5
          (%y-o-y)    -4.4    -64.6    123.2    32.4    2.1    46.1    58.7    58.7
          ดุลเงินงบประมาณ    -402.3    -347.3    -138.9    89.4    -5.5    -390.0    -218.1    218.1

4. การส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม 2558 มีมูลค่า 18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -8.1 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นสำคัญ โดยการส่งออกหดตัวเกือบทุกตลาด ยกเว้นฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ที่ยังสามารถขยายตัวได้ ทั้งนี้ การส่งออกที่ยังคงหดตัวลดลงมาจากการส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี การส่งออกในกลุ่มการส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -18.2 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนตุลาคม 2558 เกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก

          (สัดส่วนการส่งออกปี 56>>ปี 57)    2557    2558
          Q1    Q2    Q3    ส.ค.    ก.ย.    ต.ค.    YTD
          ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)    -0.4    -4.7    -5.0    -5.3     -6.7    -5.5     -8.1    -5.3
          %qoq_SA / %mom_SA        -6.3     -1.1     -1.1     -4.1     3.7     -0.4
          1.จีน (11.9%>>>11.0%)    -7.9    -14.4    1.2    -1.0    0.4    -1.7    -3.6    -4.9
          2.สหรัฐฯ (10.0%>>>10.5%)    4.1    5.6    2.6    0.2    -1.9    1.1    -1.4    2.3
          3.ญี่ปุ่น (9.7%>>>9.6%)    -1.9    -9.2    -3.8    -7.9    -7.1    -6.9    -13.9    -7.7
          4.สหภาพยุโรป (8.8%>>>9.2%)     4.7    -3.9    -8.4    -4.4    -2.3    -9.5    -12.3    -6.3
          5.มาเลเซีย (5.7%>>>5.6%)    -1.9    -14.6    -18.3    -18.7    -20.2    -19.1    -17.0    -17.2
          6.ฮ่องกง (5.8%>>>5.5%)    -4.4    -11.5    -9.0    -2.0    -7.2    1.2    2.4    -6.6
          PS.อาเซียน-9 (26.0%>>>26.1%)    0.2    -2.4    -5.9    -10.6    -14.9    -11.8    -11.4    -7.0
          PS.อาเซียน-5 (17.6%>>>17.0%)    -3.9    -9.4    -11.8    -19.5    -24.4    -20.1    -18.2    -14.2
          PS.อินโดจีน-4 (8.3%>>>9.1%)    9.0    10.6    5.5    7.2    5.5    4.7    1.0    7.0

5. สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนตุลาคม 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน มาอยู่ที่ระดับ 84.7 จากการที่มียอดคำสั่งซื้อโดยรวมมีทิศทางดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากในช่วงท้ายปีผู้ประกอบการต่างจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ รวมทั้งได้รับผลดีจากการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับภาคการท่องเที่ยว สะท้อนได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ต่อเดือน ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าในรอบ 2 เดือน สะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่แยกราชประสงค์เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ลดลง ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังคงเดินทางเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก ซึ่งขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปี สำหรับ ภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคม 2558 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -4.8 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลพบว่าสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.4 ต่อเดือน โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของผลผลิตมันสำปะหลัง และข้าวโพดที่ขยายตัวได้ดี กอปรกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ในขณะที่ผลผลิตในหมวดผลสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือกยังคงหดตัวต่อเนื่อง จากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับยางพารา และปาล์มน้ำมัน ที่หดตัว

          เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน    2557    2558
          Q1    Q2    Q3    ส.ค.    ก.ย.    ต.ค.    YTD
          ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)    -0.4    -3.9    -9.9    -9.3    -13.2    -7.6    -4.8    -6.2
          %qoq_SA / %mom_SA        3.1    -10.1    -1.4    -1.6    1.0    5.4    -
          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)    -4.6    0.1    -7.5    -6.1    -8.3    -3.6    n.a.    -4.4
          %qoq_SA / %mom_SA        -1.5    -7.9    1.8    0.3    3.4    -
          ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)    87.4    89.6    85.2    82.7    82.4    82.8    84.7    85.6
          นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)    -6.5    23.1    37.6    24.3    24.7    8.7    1.0    24.7
          %qoq_SA / %mom_SA        4.4    7.7    -1.8    -6.3    -8.8    1.9    -

6. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ -0.8 ต่อปี เป็นผลมาจากการการหดตัวของราคาน้ำมัน ราคาไฟฟ้า และราคาเนื้อสัตว์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับร้อยละ 43.3 ถือว่ายังอยู่ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2558 ที่อยู่ในระดับสูงที่ 158.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.8 เท่า

          เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ    2557    2558
          Q1    Q2    Q3    ส.ค.    ก.ย.    ต.ค.    YTD

ภายในประเทศ

          เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)    1.9    -0.5    -1.1    -1.1    -1.2     -1.1    -0.8    -0.9
          เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)    1.6    1.5    1.0    0.9    0.9     1.0    1.0    1.1
          อัตราการว่างงาน (yoy%)    0.8    1.0    0.9    0.9    1.0    0.8    0.9    0.9
          หนี้สาธารณะ/GDP    42.8    43.3    42.8    43.3    43.0    43.3    n.a.    43.3

ภายนอกประเทศ

          ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)    15.4    8.4     6.2     6.4     2.6    1.6     n.a.     20.9
          ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)    157.1    156.3     160.3    155.5     155.8    155.5     158.3     158.3
          ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)    23.1    19.7    18.4    13.3    13.7    13.3    12.1     12.1
          ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)    2.8    3.0    2.9    2.8    2.8    2.8    n.a.    2.8

สำหรับมาตรการการเงินการคลังที่กระทรวงการคลังได้ผลักดันตามนโยบายรัฐบาลโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมานั้น จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2558 และ 2559 ต่อไป โดยมีความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ถึง ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 ดังนี้

1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล มีเป้าหมายเพื่อกระจายการลงทุน การจ้างงาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปในพื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัดและผลักดันให้เกิดการพัฒนาในท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างทั่วถึงเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและบรรเทาผลกระทบในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเร่งการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย

1.1 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน (สินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน ดอกเบี้ยร้อยละ 0 วงเงินสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อแล้ว 22,450 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 22,492 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,288,022 ราย เป็นเงิน 19,158 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อนุมัติสินเชื่อแล้ว 20,226 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 20,739 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,264,124 ราย เป็นเงิน 20,226 ล้านบาท

1.2 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล (ลงทุนตำบลละไม่เกิน 5 ล้านบาท วงเงิน 37,913 ล้านบาท) โดยล่าสุดสำนักงบประมาณโดยสำนักจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ฯ ทยอยพิจารณาอนุมัติรายละเอียดโครงการและค่าใช้จ่ายประกอบการจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 100,958 โครงการ วงเงินรวม 30,893 ล้านบาท (หรือคิดเป็นร้อยละ 81.5 ของวงเงินรวม)

1.3 มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ลงทุนหน่วยงานละไม่เกิน 1 ล้านบาท กรอบวงเงิน 24,000 ล้านบาท (เฉพาะงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ของปีงบประมาณ 2558) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 23,343.4 ล้านบาท ได้รับการจัดสรรแล้ว 55,233 โครงการ วงเงินจัดสรร 22,731 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,035 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.6 ของวงเงินจัดสรร

2. มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

2.1 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs (Soft Loan SMEs ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ระยะเวลา 7 ปี วงเงินสินเชื่อ 100,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 ธนาคารออมสิน มียอดอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 68,665 ล้านบาท ให้กับลูกค้า SMEs แล้ว 8,036 ราย

2.2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) (ค้ำประกันไม่เกินร้อยละ 30 ต่อพอร์ต วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน 21,243 ล้านบาท ให้กับ SMEs จำนวน 5,360 ราย

3. มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งในส่วนของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง นั้น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 มีผู้ยื่นขอสินเชื่อแล้ว 11,552 ราย วงเงินสินเชื่อประมาณ 15,298 ล้านบาท โดย ธอส. ได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 903 ราย วงเงินอนุมัติ 1,070 ล้านบาท

ที่มา : กระทรวงการคลัง

ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ