สกศ. ระดมสมอง มุ่งสร้างพลเมืองผ่านการใช้กิจกรรม

ข่าวทั่วไป Tuesday December 22, 2015 14:20 —สำนักโฆษก

วานนี้ (๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘) รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์) เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดกรอบการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย การพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางทิพย์พาพร ตันติสุนทร ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษา และวานนี้ (๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘) รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์) เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดกรอบการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย การพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางทิพย์พาพร ตันติสุนทร ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายศึกษา และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต ชั้น ๒ อาคาร ๒ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ กล่าวว่า ปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ (๑๕ ปี) ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ และร่างมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๙ เรื่องของการสร้างความเป็นพลเมือง นับเป็นอีก ๑ เรื่องที่สำคัญและเป็นจุดเน้น เพื่อกำหนดคุณลักษะของผู้เรียนที่พึงประสงค์ สำหรับยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๖๑ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ ๑) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับเด็ก และเยาวชน ๒) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับผู้ใหญ่ ครอบครัว และชุมชน ๓) การสร้างพลเมืองในวงกว้างและการสร้างความตระหนักในสังคมโดยใช้สื่อมวลชน และ ๔) การเชื่อมประสานเครือข่ายภาครับและอกชน เพื่อพัฒนาการศึกาที่จะสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ในรูปแบบของกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการลงมือปฏิบัติ เพื่อฝึกฝนเสริมสร้างคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองให้แก่ผู้เรียน การระดมความคิดเห็นในวันนี้ สกศ. จะรวบรวมเพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กล่าวว่า ทุกประเทศล้วนเคยล้มเหลวในเรื่องของประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น แต่ประเด็นสำคัญคือว่าเขาทำอย่างไรประชาธิปไตยถึงกลับมามั่นคง เข้มแข็ง คำตอบ คือ Civic Education ซึ่งไม่ใช่กฎธรรมชาติ แต่เป็นการให้คนเคารพกติกาและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากความคิดเห็นของตน โดยการใช้กติกาและสติปัญญาในการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เราจะทำอย่างไร สมมติว่าถ้าหากเราเดินไปเข้าห้องน้ำแล้วมีคนเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ ท่านจะแก้ปัญหาอย่างไร ก. ด่าคนที่เปิดทิ้งไว้ ข. ติดป้ายบอกคนอื่นว่าอย่าเปิดน้ำทิ้งไว้ ค. เรียกร้องผู้มีอำนาจหน้าที่ให้มาปิดก๊อกน้ำ ง. ปิดก๊อกน้ำ คำตอบของหน้าที่พลเมือง คือ ข้อ ง. การปิดก๊อกน้ำ ทำอย่างไรจะสอนให้เคารพกติกา ทำอย่างไรจะสอนให้เคารพผู้อื่น และทำอย่างไรจะสอนให้รับผิดชอบต่อสังคม ตามมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ทำอย่างไรเราจะไม่เป็นภาระของเมือง ภาระของสังคม จึงต้องใช้การศึกษาควบคู่กับกิจกรรมการเรียนรู้ หรือ Active Learning ในแบบพลเมือง

นางทิพย์พาพร ตันติสุนทร กล่าวว่า ทุกระบอบการปกครองในโลกมีการออกแบบการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ทั้งในระบอบประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ล้วนมีการออกแบบคนของเขาตามแบบฉบับของตนเองให้มีเป้าหมายร่วมกัน คือ การเมืองมีเสถียรภาพ สังคมมั่นคง มีสันติสุข พลเมืองมีคุณภาพ มีวัฒนธรรมทางการเมืองและมีความศรัทธาในระบบการเมือง แต่ข้อแตกต่างของระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ คือ ประชาธิปไตยจะไม่มีการครอบงำหรือชี้นำทางความคิด ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ในการให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อให้สังคมเกิดสันติสุขร่วมกัน การเรียนการสอนเพื่อสร้างพลเมืองจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเมืองได้ แต่จะต้องสอนให้คนรู้เท่าทันการเมือง การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองนั้น นอกจจากเรื่องของหลักสูตรและกิจกรรมแล้ว จะต้องสร้างประชาธิปไตยแวดล้อมในโรงเรียน ทั้งโครงสร้าง ผู้อำนวยการ ครู บุคลากร ต้องเอื้ออำนวยและสนับสนุน บทบาทของครูในระบอบประชาธิปไตย คือ การยอมรับฟังความคิดเห็นของเด็ก รวมถึงครอบครัวและชุมชนต้องมีส่วนช่วยและส่งเสริมการสร้างพลเมือง เพราะเด็กจะเติบโตไปเป็นพลเมืองของชุมชนในอนาคต

ประชาสัมพันธ์ สกศ.

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ