วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2544) ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 (The 7th ASEAN Summit) โดยการประชุมได้เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) และในโอกาสดังกล่าว ได้มีการประชุมสุดยอดในวาระพิเศษว่าด้วยโรคเอดส์ และนายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า วาระการประชุมสุดยอดในประเด็นว่าด้วยเรื่องโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ (HIV/AIDS) นี้ นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับประเทศอาเซียนที่จะได้ยืนยันถึงพันธกิจทางการเมืองของอาเซียน ในการปราบปรามโรคที่อันตรายถึงชีวิตนี้กันอีกครั้งหนึ่ง โรคเอดส์ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์โลก แต่ยังเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศอีกด้วย
คำประกาศของที่ประชุมว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่ 7 ซึ่งจะได้รับความเห็นชอบร่วมกันในวันนี้ ได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องของการป้องกันการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะเป็นการถางทางให้หน่วยงานทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ จะสามารถใช้ทรัพยากร เพื่อแก้ญหาโรคร้ายดังกล่าว ด้วยวิธีการที่รอบด้าน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงกองทุน Global Fund to Flight AIDS, Tuberculosis and Malaria —GFATM ซึ่งริเริ่มโดยนายคอฟี่ อานัน เลขาธิการสหประชาติ ถือได้ว่าเป็แห่งทุนแห่งหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ ทั้งนี้ อาเซียนเองควรร่วมมือกันเพื่อให้เกิดโอกาสอันเท่าเทียมในทุกภูมิภาค เพื่อให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางป้องกัน ด้วยเหตุการณ์ ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนานาชาติ The Asia-Pacific Country Consultation on Global Fund to Flight AIDS, Tuberculosis and Malaria ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2544 ด้วยมุมมองที่สำคัญคือการแสวงหามาตรการที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคของเราในการเข้าถึงแหล่งทุน พร้อมในโอกาสนี้ ยังได้กล่าวเชิญชวนประเทศสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย
จากการแถลงการณ์ ที่สนับสนุนแนวทางแบบองค์รวม (Holistic Approach) และเป็นการร่วมมือและประสานงานกันของฝ่ายต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์นี้ ซึ่งเป็นแนวทางที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวสรุปถึงการดำเนินการของประเทศไทยให้ที่ประชุมได้รับทราบดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะการติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์ โดยเมื่อปลายปีที่แล้ว มีประชาชนประมาณ 984,000 คนที่ติดเชื้อ HIV นับตั้งแต่โรคนี้ได้เริ่มแพร่กระจายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2527 (1984) ซึ่งในบรรดาผู้ที่ติดเชื้อนั้น มีอยู่ประมาณ 289,000 คนที่เสียชีวิตไปแล้ว และที่เหลือที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยโรคร้านนั้น ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งในเรื่องกำลังแรงงานและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทยเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในประเทศต่างๆ ที่ได้กำหนดรูปแบบการดำเนินการปราบปรามโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่มีการตรวจพบโรค-เอดส์ในประเทศไทยเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ประเทศไทยก็ได้เน้นการป้องกันและการควบคุมโรคเอดส์ การป้องกันโรคเอดส์ในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่า มีความสำคัญเป็นอันดับแรก และงบประมาณของรัฐบาลที่ใช้จ่ายในเรื่องของการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์ก็ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีน้อยกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐในปี 1984 เป็น 35 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2002 ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นถึง 700 เท่า
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า แผนยุทธศาสตร์โรคเอดส์แห่งชาติของไทย ได้ใช้แนวทางแบบองค์รวม (Holistic Approach) ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่มนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของฝ่ายต่างๆ ได้เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามโรคเอดส์ในประเทศไทย ทุกฝ่ายในสังคมไทยได้ระดมความพยายามร่วมกันในการดำเนินการทุกระดับ (Multisectoral involvement) ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ หรือหมู่บ้าน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว คือการรณรงค์ทางการศึกษา ซึ่งได้ดำเนินการผ่านสื่อมวลชน โดยการชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบถึงอันตรายของโรคเอดส์ ได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมทางเพศของประชาชน
นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของแผนการป้องกันการติดเชื้อ HIV ของไทย คือการดำเนินการตามนโยบายการใช้ถุงยางอนามัย 100% (100 percent condom use policy) นับตั้งแต่ปี 1991 นโยบายดังกล่าวได้ป้องกันไม่ให้ลูกค้าเข้ามาซื้อบริการทางเพศ เว้นเสียแต่ว่าลูกค้าเหล่านั้นจะใช้ ถุงยางอนามัย ผลก็คือ โรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ต่างๆ ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่มีมากกว่า 400,000 ราย ในช่วงก่อนปี 1991 ลดลงเหลือน้อยกว่า 14,000 รายต่อปี นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ยิ่งไปกว่านี้ภาวะการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มที่เสียงต่อการติดเชื้อ ก็ได้ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สำหรับประเทศไทยนั้น นอกจากจะได้เตรียมการทั้งในส่วนของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้ว ยังได้เตรียมจัดหาความช่วยเหลือทางเทคนิคที่เหมาะสมให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อีกด้วย สำหรับในส่วนของโครงการของอาเซียนว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 นั้น ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะมีบทบาทในเชิงรุก (proactive role) ในฐานะประเทศผู้นำในการดำเนินโครงการต่างๆ ของภูมิภาคนี้ ที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ HIV หรือเอดส์
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวว่า ประเทศไทยมีความยินดีในการเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติที่สำคัญ คือ The 5th International Conference on Home and Community Care for Persons Living with HIV/AIDS ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17-20 ธันวาคม 2544 และ The 15th International Conference on ADIS ที่กรุงเทพฯ ในปี 2048
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเรียกร้องการสนับสนุนจากประเทศอาเซียน ในการดำเนินการตามคำประกาศในเรื่องเอดส์ของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 นี้ รวมทั้งโครงการของอาเซียนว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความเชื่อมั่นว่า พันธกิจทางการเมืองและการดำเนินการร่วมกันของอาเซียนนั้น จะช่วยระงับการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ในภูมิภาคนี้ได้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเชื่อมั่นด้วยว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ในการทำงานร่วมกันกับประเทศสมาชิกอาเซียน ในการดำเนินความพยายามป้องกันและปราบปรามโรคเอดส์
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า วาระการประชุมสุดยอดในประเด็นว่าด้วยเรื่องโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ (HIV/AIDS) นี้ นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับประเทศอาเซียนที่จะได้ยืนยันถึงพันธกิจทางการเมืองของอาเซียน ในการปราบปรามโรคที่อันตรายถึงชีวิตนี้กันอีกครั้งหนึ่ง โรคเอดส์ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์โลก แต่ยังเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศอีกด้วย
คำประกาศของที่ประชุมว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่ 7 ซึ่งจะได้รับความเห็นชอบร่วมกันในวันนี้ ได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องของการป้องกันการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะเป็นการถางทางให้หน่วยงานทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ จะสามารถใช้ทรัพยากร เพื่อแก้ญหาโรคร้ายดังกล่าว ด้วยวิธีการที่รอบด้าน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงกองทุน Global Fund to Flight AIDS, Tuberculosis and Malaria —GFATM ซึ่งริเริ่มโดยนายคอฟี่ อานัน เลขาธิการสหประชาติ ถือได้ว่าเป็แห่งทุนแห่งหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ ทั้งนี้ อาเซียนเองควรร่วมมือกันเพื่อให้เกิดโอกาสอันเท่าเทียมในทุกภูมิภาค เพื่อให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางป้องกัน ด้วยเหตุการณ์ ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนานาชาติ The Asia-Pacific Country Consultation on Global Fund to Flight AIDS, Tuberculosis and Malaria ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2544 ด้วยมุมมองที่สำคัญคือการแสวงหามาตรการที่เหมาะสมสำหรับภูมิภาคของเราในการเข้าถึงแหล่งทุน พร้อมในโอกาสนี้ ยังได้กล่าวเชิญชวนประเทศสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย
จากการแถลงการณ์ ที่สนับสนุนแนวทางแบบองค์รวม (Holistic Approach) และเป็นการร่วมมือและประสานงานกันของฝ่ายต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์นี้ ซึ่งเป็นแนวทางที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวสรุปถึงการดำเนินการของประเทศไทยให้ที่ประชุมได้รับทราบดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะการติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์ โดยเมื่อปลายปีที่แล้ว มีประชาชนประมาณ 984,000 คนที่ติดเชื้อ HIV นับตั้งแต่โรคนี้ได้เริ่มแพร่กระจายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2527 (1984) ซึ่งในบรรดาผู้ที่ติดเชื้อนั้น มีอยู่ประมาณ 289,000 คนที่เสียชีวิตไปแล้ว และที่เหลือที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยโรคร้านนั้น ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งในเรื่องกำลังแรงงานและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทยเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในประเทศต่างๆ ที่ได้กำหนดรูปแบบการดำเนินการปราบปรามโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่มีการตรวจพบโรค-เอดส์ในประเทศไทยเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ประเทศไทยก็ได้เน้นการป้องกันและการควบคุมโรคเอดส์ การป้องกันโรคเอดส์ในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่า มีความสำคัญเป็นอันดับแรก และงบประมาณของรัฐบาลที่ใช้จ่ายในเรื่องของการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์ก็ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีน้อยกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐในปี 1984 เป็น 35 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2002 ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นถึง 700 เท่า
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า แผนยุทธศาสตร์โรคเอดส์แห่งชาติของไทย ได้ใช้แนวทางแบบองค์รวม (Holistic Approach) ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่มนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของฝ่ายต่างๆ ได้เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามโรคเอดส์ในประเทศไทย ทุกฝ่ายในสังคมไทยได้ระดมความพยายามร่วมกันในการดำเนินการทุกระดับ (Multisectoral involvement) ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ หรือหมู่บ้าน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว คือการรณรงค์ทางการศึกษา ซึ่งได้ดำเนินการผ่านสื่อมวลชน โดยการชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบถึงอันตรายของโรคเอดส์ ได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมทางเพศของประชาชน
นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของแผนการป้องกันการติดเชื้อ HIV ของไทย คือการดำเนินการตามนโยบายการใช้ถุงยางอนามัย 100% (100 percent condom use policy) นับตั้งแต่ปี 1991 นโยบายดังกล่าวได้ป้องกันไม่ให้ลูกค้าเข้ามาซื้อบริการทางเพศ เว้นเสียแต่ว่าลูกค้าเหล่านั้นจะใช้ ถุงยางอนามัย ผลก็คือ โรคติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ต่างๆ ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่มีมากกว่า 400,000 ราย ในช่วงก่อนปี 1991 ลดลงเหลือน้อยกว่า 14,000 รายต่อปี นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ยิ่งไปกว่านี้ภาวะการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มที่เสียงต่อการติดเชื้อ ก็ได้ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สำหรับประเทศไทยนั้น นอกจากจะได้เตรียมการทั้งในส่วนของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้ว ยังได้เตรียมจัดหาความช่วยเหลือทางเทคนิคที่เหมาะสมให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อีกด้วย สำหรับในส่วนของโครงการของอาเซียนว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 นั้น ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะมีบทบาทในเชิงรุก (proactive role) ในฐานะประเทศผู้นำในการดำเนินโครงการต่างๆ ของภูมิภาคนี้ ที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ HIV หรือเอดส์
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวว่า ประเทศไทยมีความยินดีในการเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติที่สำคัญ คือ The 5th International Conference on Home and Community Care for Persons Living with HIV/AIDS ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17-20 ธันวาคม 2544 และ The 15th International Conference on ADIS ที่กรุงเทพฯ ในปี 2048
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเรียกร้องการสนับสนุนจากประเทศอาเซียน ในการดำเนินการตามคำประกาศในเรื่องเอดส์ของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 นี้ รวมทั้งโครงการของอาเซียนว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความเชื่อมั่นว่า พันธกิจทางการเมืองและการดำเนินการร่วมกันของอาเซียนนั้น จะช่วยระงับการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ในภูมิภาคนี้ได้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเชื่อมั่นด้วยว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ในการทำงานร่วมกันกับประเทศสมาชิกอาเซียน ในการดำเนินความพยายามป้องกันและปราบปรามโรคเอดส์
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-