เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 เวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับนายเคียวซูเกะ ชิโนซาวา (Kyosuke Shinozawa) ผู้ว่าการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (Japan Bank of International Cooperation-JBIC) ณ โรงแรมอิมพิเรียล โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือของ JBIC ต่อประเทศไทยในโครงการต่าง ๆ เช่น การลงทุนในการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า รัฐบาลได้ดูแลเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 1.8 หมื่นล้าน ทั้งนี้ เชื่อว่าจะประหยัดได้ทั้งโครงการถึง 3 หมื่นล้านบาท
ในโอกาสนี้ ผู้ว่าการ JBIC ได้กล่าวแสดงความยินดีที่โครงการสนามบินสุวรรณภูมิมีความคืบหน้าไปมาก และกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีสำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ JBIC ยินดีให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของไทยต่อไป นอกจากนี้ ผู้ว่า JBIC ยังได้กล่าวถึงโครงการที่ยังมีปัญหา เช่น โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียสมุทรปราการ และการก่อสร้างรถไฟฟ้า จึงขอทราบความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการเหล่านี้
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอบว่า โครงการบำบัดน้ำเสียที่จังหวัดสมุทรปราการนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งนี้ การคัดค้านในโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากรัฐบาลมีการทำความเข้าใจกับประชาชนตั้งแต่ต้น ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้น แต่สำหรับโครงการนี้จะได้มีการแก้ไขปัญหาต่อไป สำหรับโครงการรถไฟฟ้านั้น เข้าใจว่าเส้นทางการเดินรถนั้นสั้นเกินไป ไปไม่ถึงแหล่งที่อยู่ของประชาชน จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
จากนั้นเวลา 14.25 น. นายทาเคโอะ ฮิรานูมา (Takeo Hiranuma) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (MITI) ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี โดยสรุปสาระสำคัญของการหารือได้ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมิติได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันยาวนานของไทยและญี่ปุ่น รวมถึงความสัมพันธ์ในระดับราชวงศ์ ก็มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกันนี้ ยังได้กล่าวชื่นชมในสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีที่สร้างความเชื่อมั่นและเชิญชวนนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนในประเทศไทย และเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีที่ว่า เอเชียนั้นมีศักยภาพสูง และประเทศต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันให้มากขึ้น
สำหรับเรื่องวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง MITI กล่าวว่า ต้องการให้ SMEs ของทั้งสองประเทศมีการติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้น เพราะญี่ปุ่นนั้น ร้อยละ 99 ของบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมดล้วนเป็น SMEs ดังนั้น SMEs จึงถือว่าเป็นตัวจักรที่สำคัญของเศรษฐกิจและยินดีที่ทราบว่ารัฐบาลไทยให้การสนับสนุน SMEs เช่นเดียวกัน
ในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่องพลังงาน เนื่องจากพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ดังนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจะได้มีการประสานงานในเรื่องนี้กับไทยต่อไป สำหรับความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งญี่ปุ่นได้มีการทดสอบผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มากว่า 40 ปีแล้ว และในประเทศไทยขณะนี้ก็มีการทดสอบแล้ว และจะขอความร่วมมือประเทศอื่น ๆ ในการให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้าน IT ต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมบทบาทของนายทาเคโอะ ฮิรานูมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง MITI ในการประชุมองค์การการค้าโลก ที่ได้กล่าวถึงปัญหาสินค้าเกษตรของประเทศกำลังพัฒนา พร้อมกับย้ำว่า ต่อไปนี้ไทยและญี่ปุ่นจะมีมิติความสัมพันธ์รูปแบบใหม่คือ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งความใกล้ชิดของสองประเทศตั้งแต่ในอดีตนั้น นับวันยิ่งมีการพัฒนาและจะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นในอนาคต และด้วยศักยภาพของเอเชียที่มีประชากรและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันกว่าครึ่งหนึ่งของโลก เอเชียจะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อยากให้ญี่ปุ่นมีบทบาทนำมากขึ้นในความร่วมมือดังกล่าว และจะเชิญชวนประเทศสมาชิกภูมิภาคเอเชียมาปรึกษาหาแนวทางร่วมกัน เพื่อดำเนินงานต่อไป
ต่อมาเวลา 15.00 น. นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวต่อสมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น Nippon Press Club สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้มีการเจรจาที่จะดำเนินการเขตการค้าเสรีร่วมกัน โดยจะแบ่งประเภทของสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สามารถดำเนินการได้ทันที กลุ่มที่ต้องมีการปรับเพื่อความเหมาะสม และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร จึงจะสามารถดำเนินการได้ เช่น สินค้าการเกษตรที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง รวมถึงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มประเทศในเอเชียให้มีธุรกรรมการค้า การลงทุน และการเงินกันมากขึ้น
การสร้างความมั่นใจต่อสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของญี่ปุ่นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพความพร้อม และความปลอดภัยที่จะรองรับนักเที่ยวจากญี่ปุ่น
การหารือกับสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจญี่ปุ่น (KEIDANREN) ว่า รัฐบาลได้ยืนยันและมุ่งมั่นในการดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะเป็นโอกาสของนักธุรกิจญี่ปุ่น ที่จะใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังอาเซียนและจีน เนื่องจากอาเซียนจะดำเนินการการค้าเสรีกับจีน (AFTA) จึงเป็นโอกาสของญี่ปุ่นที่ไปสู่ตลาดในจีน รวมทั้งเชิญชวนให้นักลงทุนญี่ปุ่นได้ร่วมสร้าง Value Added และการตลาดให้กับสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนในเรื่อง การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ว่าจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายการลงทุนจากไทยไปจีน ว่าตลาดของไทยนั้นมี 62 ล้านคน ขณะที่จีนมี 1.4 พันล้านคน เมื่อเปรียบเทียมแล้ว จะถือว่าเป็นโอกาสของไทยในการขยายสินค้าไปสู่จีน และได้มีการหารือกับจีนแล้วว่า จะมีการเจรจาเพื่อลดความเสียหายหากเกิดผลกระทบต่อไทย โดยใช้แนวทางการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ หรือการทำตลาดร่วมกัน ซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ เพราะไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแนบแน่นมานาน และความสัมพันธ์นี้ก็พัฒนาเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณสำหรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือของ JBIC ต่อประเทศไทยในโครงการต่าง ๆ เช่น การลงทุนในการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า รัฐบาลได้ดูแลเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 1.8 หมื่นล้าน ทั้งนี้ เชื่อว่าจะประหยัดได้ทั้งโครงการถึง 3 หมื่นล้านบาท
ในโอกาสนี้ ผู้ว่าการ JBIC ได้กล่าวแสดงความยินดีที่โครงการสนามบินสุวรรณภูมิมีความคืบหน้าไปมาก และกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีสำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ JBIC ยินดีให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของไทยต่อไป นอกจากนี้ ผู้ว่า JBIC ยังได้กล่าวถึงโครงการที่ยังมีปัญหา เช่น โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียสมุทรปราการ และการก่อสร้างรถไฟฟ้า จึงขอทราบความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการเหล่านี้
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอบว่า โครงการบำบัดน้ำเสียที่จังหวัดสมุทรปราการนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งนี้ การคัดค้านในโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากรัฐบาลมีการทำความเข้าใจกับประชาชนตั้งแต่ต้น ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้น แต่สำหรับโครงการนี้จะได้มีการแก้ไขปัญหาต่อไป สำหรับโครงการรถไฟฟ้านั้น เข้าใจว่าเส้นทางการเดินรถนั้นสั้นเกินไป ไปไม่ถึงแหล่งที่อยู่ของประชาชน จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
จากนั้นเวลา 14.25 น. นายทาเคโอะ ฮิรานูมา (Takeo Hiranuma) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (MITI) ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี โดยสรุปสาระสำคัญของการหารือได้ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมิติได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันยาวนานของไทยและญี่ปุ่น รวมถึงความสัมพันธ์ในระดับราชวงศ์ ก็มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกันนี้ ยังได้กล่าวชื่นชมในสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีที่สร้างความเชื่อมั่นและเชิญชวนนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนในประเทศไทย และเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีที่ว่า เอเชียนั้นมีศักยภาพสูง และประเทศต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันให้มากขึ้น
สำหรับเรื่องวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง MITI กล่าวว่า ต้องการให้ SMEs ของทั้งสองประเทศมีการติดต่อสัมพันธ์กันมากขึ้น เพราะญี่ปุ่นนั้น ร้อยละ 99 ของบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมดล้วนเป็น SMEs ดังนั้น SMEs จึงถือว่าเป็นตัวจักรที่สำคัญของเศรษฐกิจและยินดีที่ทราบว่ารัฐบาลไทยให้การสนับสนุน SMEs เช่นเดียวกัน
ในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่องพลังงาน เนื่องจากพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ดังนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจะได้มีการประสานงานในเรื่องนี้กับไทยต่อไป สำหรับความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งญี่ปุ่นได้มีการทดสอบผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มากว่า 40 ปีแล้ว และในประเทศไทยขณะนี้ก็มีการทดสอบแล้ว และจะขอความร่วมมือประเทศอื่น ๆ ในการให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้าน IT ต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมบทบาทของนายทาเคโอะ ฮิรานูมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง MITI ในการประชุมองค์การการค้าโลก ที่ได้กล่าวถึงปัญหาสินค้าเกษตรของประเทศกำลังพัฒนา พร้อมกับย้ำว่า ต่อไปนี้ไทยและญี่ปุ่นจะมีมิติความสัมพันธ์รูปแบบใหม่คือ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งความใกล้ชิดของสองประเทศตั้งแต่ในอดีตนั้น นับวันยิ่งมีการพัฒนาและจะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นในอนาคต และด้วยศักยภาพของเอเชียที่มีประชากรและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันกว่าครึ่งหนึ่งของโลก เอเชียจะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อยากให้ญี่ปุ่นมีบทบาทนำมากขึ้นในความร่วมมือดังกล่าว และจะเชิญชวนประเทศสมาชิกภูมิภาคเอเชียมาปรึกษาหาแนวทางร่วมกัน เพื่อดำเนินงานต่อไป
ต่อมาเวลา 15.00 น. นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวต่อสมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น Nippon Press Club สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้มีการเจรจาที่จะดำเนินการเขตการค้าเสรีร่วมกัน โดยจะแบ่งประเภทของสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สามารถดำเนินการได้ทันที กลุ่มที่ต้องมีการปรับเพื่อความเหมาะสม และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร จึงจะสามารถดำเนินการได้ เช่น สินค้าการเกษตรที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง รวมถึงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มประเทศในเอเชียให้มีธุรกรรมการค้า การลงทุน และการเงินกันมากขึ้น
การสร้างความมั่นใจต่อสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของญี่ปุ่นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพความพร้อม และความปลอดภัยที่จะรองรับนักเที่ยวจากญี่ปุ่น
การหารือกับสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจญี่ปุ่น (KEIDANREN) ว่า รัฐบาลได้ยืนยันและมุ่งมั่นในการดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะเป็นโอกาสของนักธุรกิจญี่ปุ่น ที่จะใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังอาเซียนและจีน เนื่องจากอาเซียนจะดำเนินการการค้าเสรีกับจีน (AFTA) จึงเป็นโอกาสของญี่ปุ่นที่ไปสู่ตลาดในจีน รวมทั้งเชิญชวนให้นักลงทุนญี่ปุ่นได้ร่วมสร้าง Value Added และการตลาดให้กับสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนในเรื่อง การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ว่าจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายการลงทุนจากไทยไปจีน ว่าตลาดของไทยนั้นมี 62 ล้านคน ขณะที่จีนมี 1.4 พันล้านคน เมื่อเปรียบเทียมแล้ว จะถือว่าเป็นโอกาสของไทยในการขยายสินค้าไปสู่จีน และได้มีการหารือกับจีนแล้วว่า จะมีการเจรจาเพื่อลดความเสียหายหากเกิดผลกระทบต่อไทย โดยใช้แนวทางการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ หรือการทำตลาดร่วมกัน ซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ เพราะไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแนบแน่นมานาน และความสัมพันธ์นี้ก็พัฒนาเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-