นายกรัฐมนตรีการขับเคลื่อนการประชาคมอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานพัฒนาประเทศ ขอให้ทุกหน่วยงานเชื่อมโยง คน งานและเงิน เพื่อผลสัมฤทธิ์

ข่าวทั่วไป Wednesday January 27, 2016 15:24 —สำนักโฆษก

วันนี้ (27 ม.ค. 2559) เวลา 14.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตึกสันติไมตรี (หลังใน) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ผู้แทนภาคเอกชนจาก 3 สมาคม เข้าร่วมด้วย

นาย วิทวัส ศรีวิหค รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวบรรยายสรุปภาพรวม ซึ่งครอบคลุมในประเด็นเรื่องการเตรียมความพร้อมตามการเตรียมความพร?อมตามพันธกรณีและกฎระเบียบ การเตรียมความพร?อมภาครัฐ ภาคประชาชน ด?นโครงสร?งพื้นฐาน ตลอดจนการดำเนินการในด้านต?ง ๆ เพื่อให?ประชาชนได?ประโยชน?จากประชาคมอย?งแท?จริง

จากนั้น เป็นการบรรยายสรุปของแต่ละเสา ได้แก่ เสาการเมืองและความมั่นคง โดย นายอภิชาติ ชินวรรโณปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เสาเศรษฐกิจ โดยนางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เสาวัฒนธรรมและความสังคม โดยนายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้ง ความพร้อมทางด้านกฎหมาย โดย นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและด้านการประชาสัมพันธ์ โดยนายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ตามที่ ผู้นำอาเซียนได้กำหนดให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอันประกอบด้วย 3 เสา ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2563 นั้น ปัจจุบันไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนได?ดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนแล?ว ร้อยละ 97.96 (เสาการเมืองและความมั่นคงสำเร็จร?อยละ 100 /เสาเศรษฐกิจ สำเร็จร?อยละ 93.9) ซึ่งในส่วนของไทย มีความคืบหน้าในการดำเนินการด้านต่างๆ ได้แก่

เสาการเมืองและความมั่นคง มีการจัดทำยุทธศาสตร์ต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (2558-2564) และแผนงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงภายหลังปี 2558 แผนการบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (2558-2564) แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (2558-2564) นอกจากนี้ มีการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการชายแดน ซึ่งมีการพัฒนากลไกหารือระดับภูมิภาค ด้านการค้ามนุษย์ มีการจัดทำอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ มีการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งรวมถึง การลักลอบการค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและการลักลอบขนคน ทั้งนี้ ยังมีความท้าทายที่จะต้องเตรียมรับมือต่อไป คือ พลวัตภัยคุกคามด้านความมั่นคงและก่อการร้ายที่เริ่มขยายตัวเข้ามาในภูมิภาคนี้

เสาเศรษฐกิจ มีการดำเนินการที่คืบหน้าในหลายด้าน ได้แก่ การส่งเสริมภาคบริการ การส่งเสริมการค้าชายแดนและข้ามแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน การเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตร การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัล การสร้างความเชื่อมโยงทางถนน โดยยังมีความท้าทายที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทยให้มากขึ้น การพัฒนาสินค้าเกษตร รวมถึง การเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพและความเชี่ยวชาญ

เสาประชาสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาเซียนเน้นการเป็นประชาคมเอื้ออาทรและแบ่งปัน โดยมีการดำเนินการใน 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองสวัสดิการสังคม ความยุติธรรมและสิทธิ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างเพื่อการพัฒนา โดยมีความท้าทายที่สำคัญ อาทิ การเร่งรัดจัดระบบแรงงานย้ายถิ่นฐาน การยกระดับขีดความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน การกำหนดมาตรการรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่

ด้านกฎหมาย มีการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กฎหมายตามพันธกรณี และกฎหมายเพื่อเสริมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ซึ่งมีกฎหมายที่ต?องออกหรือแก?ไขตามพันธกรณีเพิ่มเติม 5 ฉบับและกฎหมายเพื่อเสริมความพร?อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข?งขันของไทย 26 ฉบับ

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบแนวทางในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนของไทย โดยกำชับว่า ทุกหน่วยงานของรัฐบาลจะต้องมองการขับเคลื่อนอาเซียนทั้งสามเสาหลัก เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารประเทศ โดยต้องมีการกำหนดกิจกรรมหลัก/กิจกรรมรอง/และกิจกรรมเสริม ให้เกิดความเชื่อมโยงทั้งแผนงาน โครงการ บุคคลและงบประมาณ และมีการวาง Roadmap อย่างชัดเจน โดยมีการเสนอรายงานทุกสามเดือนหรือรายไตรมาสเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยหลักการทำงานเช่นนี้ จะสามารถทำให้เห็นภาพได้ว่า ในอีก 1 ปีข้างหน้า อาเซียนจะได้อะไร นายกรัฐมนตรียังได้ย้ำความสำคัญว่า ประชาคมอาเซียนจะต้องส่งเสริมทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม เช่นเดียวกับหลักการประชารัฐ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาชน ในการขับเคลื่อนทั้งสามเสาหลักของอาเซียน

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนเสาการเมืองและความมั่นคง โดยเน้นการสร้างความเชื่อมโยง การอำนวยความสะดวกการเดินทาง ให้ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยจากภัยในรูปและดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ ความร่วมมือเสาเศรษฐกิจนั้น ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนคือหนึ่งเดียวกัน การร่วมมือกันเพื่อพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันและการสร้างตลาดอาเซียน เพื่อให้เกิด ASEAN Brand เป็นที่ยอมรับและรู้จักกันในตลาดโลก สำหรับความร่วมมือเสาวัฒนธรรม จะต้องส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสนับสนุนความเป็นหนึ่งของประชาชนอาเซียน โดยจะต้องก้าวข้ามความแตกต่างๆทั้งชาติพันธ์และศาสนา การส่งเสริมการศึกษา ความร่วมมือวัฒนธรรมและประเพณีที่ร่วมกัน ขณะเดียวกันภาคเอกชนจะต้องมีการเตรียมความพร้อม สร้างเครือข่ายระหว่างเอกชน เพื่อให้ประชาคมอาเซียนนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ประเทศไทยและอาเซียนจะต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน เพราะไทยคือส่วนหนึ่งของอาเซียน ขณะเดียวกันอาเซียนก็เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ดังนั้น การพัฒนาประชาคมอาเซียนจะต้องมุ่งสู่ความยั่งยืน สอดคล้องกับแนวการพัฒนาของโลกโดยสหประชาชาติที่กำหนดกรอบการพัฒนา 15 ปี ที่ประกาศไว้ในการประชุมสหประชาชาติที่ผ่านมา

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ