วันที่ 25 เมษายน 2544
วันนี้ ณ โรงแรมมีเลีย (Melia Hotle) กรุงฮานอย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงผลการหารือข้อราชการแบบเต็มคณะของนายกรัฐมนตรีไทยและเวียดนาม ระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2544 สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การมาเยือนเวียดนามในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเยือนตามประเพณีแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดีระหว่างทั้งสองประเทศ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากขึ้น ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความปรารถนาให้มีความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและเวียดนามให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังประสงค์ที่จะให้มีการติดต่อกันระหว่างผู้นำโดยตรงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสามารถขจัดปัญหาความไม่เข้าใจกันในระดับต่างๆ รวมไปถึงการสร้างพื้นฐานความไว้วางใจซึ่งกันและกันตลอดทั้งขจัดความหวาดระแวงของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยข้อเสนอของไทยมีดังนี้
1. การสร้างเส้นทางมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-เว้-ดานัง เส้นทางสายนี้จะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการท่องเที่ยวและไปสิ้นสุดที่เมืองท่า โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศไทย ลาว และเวียดนาม ประสานโครงการดังกล่าวให้กระชับยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกันของทั้งสามประเทศ
2. ในเรื่องของการบิน นโยบายของรัฐบาลไทยนั้น ใช้หลักเส้นทางใดพร้อมก็ทำก่อน โดยจะคำนึงถึงสิทธิทางการบินเป็นลำดับรอง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นหลัก
ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของเวียดนาม นายกรัฐมนตรีเวียดนามก็ได้สนทนาถึงความเป็นไปทางเศรษฐกิจและการเมืองของเวียดนาม โดยเฉพาะการประชุมของสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 9 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม โดยได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลา 10 ปีของสหัสวรรษ เพื่อให้การเมืองพัฒนาและมีสเถียรภาพเศรษฐกิจจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2000 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามมีประมาณร้อยละ 6.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปีนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.5 แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจะทรุดตัวลงก็ตาม
สำหรับในเรื่องนโยบายต่างประเทศ เวียดนามจะเน้นความเป็นอิสระ เปิดกว้าง เป็นตัวของตัวเอง พร้อมเป็นมิตรกับทุกประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย นับวันบทบาทของไทยในประชาคมโลกจะมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงเห็นว่าความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี เวียดนามและไทยควรจะให้กระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศยกร่างกรอบความร่วมมืออย่างยาวนานในทศวรรษแรกนี้ โดยในวันที่ 6 สิงหาคม 2544 จะมีการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือ ซึ่งในโอกาสการฉลองครบรอบ 25 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของประเทศทั้งสอง น่าจะเป็นมีการลงนามความร่วมมือดังกล่าว
ในเรื่องของการค้า มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเวียดนามมีประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ เวียดนามขาดดุลการค้าไทยประมาณ 124 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น จึงมีความต้องการให้ทั้งสองประเทศร่วมมือกัน ในเรื่องเกี่ยวกับสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและยางพารา
สำหรับความร่วมมือในเรื่องข้าว ผลผลิตของประเทศมีมูลค่าในการ่งออกประมาณครึ่งหนึ่งของโลก การที่ราคาข้าวตกต่ำลง นับเป็นผลเสียต่อทั้งสองประเทศ เนื่องจากในเดือนกันยายน 2543 ได้มีการลงนามและร่วมมือการส่งออกข้าว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศให้ความร่วมมือกันมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสินค้าการเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าว ยางพารา ผลไม้ และสินค้าทางทะเล
ด้านความร่วมมือทางวิชาการ ในรอบสองปี (คศ.1998-2000) จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจในเรื่องการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ ความรู้ทางวิชาการ ซึ่งทางฝ่ายไทยก็เห็นชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
ในการนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีความร่วมมือกันในระดับรัฐมนตรี เพื่อจะได้ส่งสัญญาณการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยลดการลองผิดลองถูก และจัทำให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น
โอกาสนี้ ทางฝ่ายเวียดนามได้กล่าวถึงเรื่องของความร่วมมือการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-เขมร-เวียดนาม ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อในส่วนของเวียดนามทางตอนใต้ นั้นว่า ในส่วนของเวียดนามนั้น ไม่มีปัญหา แต่อาจติดขัดในส่วนของกัมพูชา
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับการประชุมคณะกรรมการร่วม การฉลองครบรอบ 25 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และจัมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับเวียดนาม
ในโอกาสเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้แสดงความห่วงในในกระแสโลกาภิวัฒน์ และได้กล่าวแสดงความปรารถนาให้ประเทศอาเซียนสามราถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ท่ามกลางกระสโลกาภิวัฒน์ที่มีอยู่ในขณะนี้
ในตอนท้าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ได้กล่าวว่า บรรยากาศการหารือกันในวันนี้ ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์เป็นไปได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความขอบคุณที่รัฐบาลเวียดนามได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และในส่วนของประเทศไทยจะเตรียมการทำงานร่วมกันอย่างจริงใจ เพื่อประโยชน์ของประชาชนของทั้งสองประเทศต่อไป
--สำนักโฆษก--
-สส-
วันนี้ ณ โรงแรมมีเลีย (Melia Hotle) กรุงฮานอย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงผลการหารือข้อราชการแบบเต็มคณะของนายกรัฐมนตรีไทยและเวียดนาม ระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2544 สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การมาเยือนเวียดนามในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเยือนตามประเพณีแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดีระหว่างทั้งสองประเทศ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากขึ้น ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความปรารถนาให้มีความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและเวียดนามให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังประสงค์ที่จะให้มีการติดต่อกันระหว่างผู้นำโดยตรงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสามารถขจัดปัญหาความไม่เข้าใจกันในระดับต่างๆ รวมไปถึงการสร้างพื้นฐานความไว้วางใจซึ่งกันและกันตลอดทั้งขจัดความหวาดระแวงของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยข้อเสนอของไทยมีดังนี้
1. การสร้างเส้นทางมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-เว้-ดานัง เส้นทางสายนี้จะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการท่องเที่ยวและไปสิ้นสุดที่เมืองท่า โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศไทย ลาว และเวียดนาม ประสานโครงการดังกล่าวให้กระชับยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกันของทั้งสามประเทศ
2. ในเรื่องของการบิน นโยบายของรัฐบาลไทยนั้น ใช้หลักเส้นทางใดพร้อมก็ทำก่อน โดยจะคำนึงถึงสิทธิทางการบินเป็นลำดับรอง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นหลัก
ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของเวียดนาม นายกรัฐมนตรีเวียดนามก็ได้สนทนาถึงความเป็นไปทางเศรษฐกิจและการเมืองของเวียดนาม โดยเฉพาะการประชุมของสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 9 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม โดยได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลา 10 ปีของสหัสวรรษ เพื่อให้การเมืองพัฒนาและมีสเถียรภาพเศรษฐกิจจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2000 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามมีประมาณร้อยละ 6.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปีนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.5 แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจะทรุดตัวลงก็ตาม
สำหรับในเรื่องนโยบายต่างประเทศ เวียดนามจะเน้นความเป็นอิสระ เปิดกว้าง เป็นตัวของตัวเอง พร้อมเป็นมิตรกับทุกประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย นับวันบทบาทของไทยในประชาคมโลกจะมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงเห็นว่าความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี เวียดนามและไทยควรจะให้กระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศยกร่างกรอบความร่วมมืออย่างยาวนานในทศวรรษแรกนี้ โดยในวันที่ 6 สิงหาคม 2544 จะมีการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือ ซึ่งในโอกาสการฉลองครบรอบ 25 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของประเทศทั้งสอง น่าจะเป็นมีการลงนามความร่วมมือดังกล่าว
ในเรื่องของการค้า มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเวียดนามมีประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ เวียดนามขาดดุลการค้าไทยประมาณ 124 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น จึงมีความต้องการให้ทั้งสองประเทศร่วมมือกัน ในเรื่องเกี่ยวกับสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและยางพารา
สำหรับความร่วมมือในเรื่องข้าว ผลผลิตของประเทศมีมูลค่าในการ่งออกประมาณครึ่งหนึ่งของโลก การที่ราคาข้าวตกต่ำลง นับเป็นผลเสียต่อทั้งสองประเทศ เนื่องจากในเดือนกันยายน 2543 ได้มีการลงนามและร่วมมือการส่งออกข้าว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศให้ความร่วมมือกันมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสินค้าการเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าว ยางพารา ผลไม้ และสินค้าทางทะเล
ด้านความร่วมมือทางวิชาการ ในรอบสองปี (คศ.1998-2000) จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจในเรื่องการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ ความรู้ทางวิชาการ ซึ่งทางฝ่ายไทยก็เห็นชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
ในการนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีความร่วมมือกันในระดับรัฐมนตรี เพื่อจะได้ส่งสัญญาณการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยลดการลองผิดลองถูก และจัทำให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น
โอกาสนี้ ทางฝ่ายเวียดนามได้กล่าวถึงเรื่องของความร่วมมือการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-เขมร-เวียดนาม ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อในส่วนของเวียดนามทางตอนใต้ นั้นว่า ในส่วนของเวียดนามนั้น ไม่มีปัญหา แต่อาจติดขัดในส่วนของกัมพูชา
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับการประชุมคณะกรรมการร่วม การฉลองครบรอบ 25 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และจัมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับเวียดนาม
ในโอกาสเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้แสดงความห่วงในในกระแสโลกาภิวัฒน์ และได้กล่าวแสดงความปรารถนาให้ประเทศอาเซียนสามราถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ท่ามกลางกระสโลกาภิวัฒน์ที่มีอยู่ในขณะนี้
ในตอนท้าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ได้กล่าวว่า บรรยากาศการหารือกันในวันนี้ ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์เป็นไปได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความขอบคุณที่รัฐบาลเวียดนามได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และในส่วนของประเทศไทยจะเตรียมการทำงานร่วมกันอย่างจริงใจ เพื่อประโยชน์ของประชาชนของทั้งสองประเทศต่อไป
--สำนักโฆษก--
-สส-