นายโยชิฮิสะ อะคิยามา (Yoshihisa Akiyama) ประธานสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งเขตคันไซ (The Kansai Economic Federation-Kankeiren) และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ. ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโยชิฮิสะ อะคิยามา (Yoshihisa Akiyama) ประธานสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งเขตคันไซ (The Kansai Economic Federation-Kankeiren) และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 ประเทศ โดยเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นประเทศแรก ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2544 โดยมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมในการสนทนาครั้งนี้ด้วย ภายหลังการต้อนรับได้มีการสนทนา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้พบกับประธานสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งเขตคันไซ (Kankeiren) และกล่าวว่า ที่ผ่านมานักธุรกิจญี่ปุ่น และรัฐบาลญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ได้ให้เงินช่วยเหลือประเทศไทยเป็นเงินถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และนักธุรกิจญี่ปุ่นก็ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกไปจากประเทศไทย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความหวังว่า ประเทศไทยและญี่ปุ่นจะมีความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งในระดับนักธุรกิจและระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT)
ในการนี้ ประธาน Kankeiren ได้กล่าวว่า รัฐบาลและนักธุรกิจญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญและสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาโดยตลอด และในช่วงหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจนักธุรกิจญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในการเดินทางมาเยือนประเทศไทยของตนและคณะในครั้งนี้ ก็เพื่อรับฟังนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านการลงทุนจากต่างประเทศ
โอกาสเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอบว่า สำหรับแนวนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้น รัฐบาลมีนโยบายอย่างต่อเนื่องเหมือนรัฐบาลชุดที่ผ่าน ๆ มา ในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้าลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือได้ว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรประเทศอย่างแท้จริง นายกรัฐมนตรีได้แสดงความหวังว่า ความร่วมมือในการลงทุนของญี่ปุ่นกับประเทศไทย จะสามารถเพิ่มพูนและขยายความร่วมมือกันได้ในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นการขยายความร่วมมือกันระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้อีกแขนงหนึ่ง นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่ารัฐบาลชุดนี้มีนโยบายที่จะการดำเนินการแก้ไขกฎหมายหรืออุปสรรคในการลงทุนจากต่างประเทศ โดยจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ การลงทุนใดที่มีความสำคัญอาจมีการเจรจาเป็นรายกรณี (case by case) สำหรับนโยบายเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศ เน้นการแก้ปัญหาความยากจนของคนในชนบท โดยจะใช้ความแข็งแกร่งที่มีอยู่ในด้านเกษตรกรรม ส่งเสริมการพัฒนาแรงงานและฝีมือเพื่อการผลิต ซึ่งเหมือนกับแนวทาง one village one product ของญี่ปุ่น การส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม จะมีการปรับใช้นโยบายที่เหมาะสมโดยไม่เน้นทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเพียงแบบเดียว นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยจะลดช่องว่างของคนยากจนและคนรวยได้อย่างรวดเร็ว จึงมีนโยบายที่จะเชื่อมโยง Internet ไปสู่ตำบล และเชื่อว่าเมื่อคนชนบทมีความเข้มแข้งในด้านการผลิตและการเกษตร จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมีความ
เข้มแข็งและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐบาลไทยปรารถนาที่จะเห็นการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย ที่เน้นในส่วนของการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอาจย้ายฐานการผลิตพวกอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ มายังประเทศไทยให้มากขึ้น
ในการนี้ ประธาน Kankeiren ได้กล่าวอวยพรให้นายกรัฐมนตรีประสบความสำเร็จตามภารกิจและนโยบายที่ได้วางไว้ และแสดงความเห็นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ต้องปรับปรุงและทบทวนนโยบายบางประการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยก็จะเน้นกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น โดยจะเน้นไปที่คนยากจนในชนบทเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้เสียจะไม่ตกเป็นภาระกับ
ประชาชน โดยจะมีการนำเอารัฐวิสากิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์สามารถเพิ่มทุนได้ และจะเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีการฝึกอบรมบุคลากรในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับกับการพัฒนาเทคโนยีที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโยโลยีสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งประธาน Kankeiren กล่าวว่า ปัจจุบัน Kankeiren กำลังดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเน้นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการจัดทำโครงการทั้ง IT Business Network ได้แก่โครงการที่เชื่อมบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางและขนาดย่อม โดยใช้เคเบิลไฟฟ้า ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการทดลองใช้และประสบความสำเร็จพอควร โดยจะมีการใช้อย่างสมบูรณ์ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ซึ่งการที่คณะ Kankeiren ได้มีโอกาสพบกลุ่มนักธุรกิจของไทย ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งฝ่ายไทยก็ได้แสดงความสนใจใน E-business network และฝ่ายญี่ปุ่นก็มีความสนใจในการทำงานร่วมกันกับไทยในด้านนี้ด้วย นอกจากนี้ ทางสมาพันธ์ Kankeiren ก็มีความสนใจในเรื่องการพัฒนาบุคลากร นอกจากนี้ ประธาน Kankeiren ได้เปิดเผยว่า ตนเองเป็นกรรมการในด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศในเอเชียในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยงบประมาณเป็นเงิน 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในตอนท้ายของการสนทนา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความปรารถนาดีและอวยพรให้ประธาน Kankeiren ประสบความสำเร็จในภารกิจต่าง ๆ และแสดงความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยและญี่ปุ่นจะได้มีความร่วมมือกันในด้านการค้าและการลงทุนให้ก้าวหน้าต่อไป--จบ--
-สส-
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ. ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโยชิฮิสะ อะคิยามา (Yoshihisa Akiyama) ประธานสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งเขตคันไซ (The Kansai Economic Federation-Kankeiren) และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 ประเทศ โดยเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นประเทศแรก ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2544 โดยมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมในการสนทนาครั้งนี้ด้วย ภายหลังการต้อนรับได้มีการสนทนา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้พบกับประธานสมาพันธ์องค์กรเศรษฐกิจแห่งเขตคันไซ (Kankeiren) และกล่าวว่า ที่ผ่านมานักธุรกิจญี่ปุ่น และรัฐบาลญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ได้ให้เงินช่วยเหลือประเทศไทยเป็นเงินถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และนักธุรกิจญี่ปุ่นก็ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกไปจากประเทศไทย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความหวังว่า ประเทศไทยและญี่ปุ่นจะมีความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งในระดับนักธุรกิจและระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT)
ในการนี้ ประธาน Kankeiren ได้กล่าวว่า รัฐบาลและนักธุรกิจญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญและสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาโดยตลอด และในช่วงหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจนักธุรกิจญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในการเดินทางมาเยือนประเทศไทยของตนและคณะในครั้งนี้ ก็เพื่อรับฟังนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านการลงทุนจากต่างประเทศ
โอกาสเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอบว่า สำหรับแนวนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้น รัฐบาลมีนโยบายอย่างต่อเนื่องเหมือนรัฐบาลชุดที่ผ่าน ๆ มา ในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้าลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือได้ว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรประเทศอย่างแท้จริง นายกรัฐมนตรีได้แสดงความหวังว่า ความร่วมมือในการลงทุนของญี่ปุ่นกับประเทศไทย จะสามารถเพิ่มพูนและขยายความร่วมมือกันได้ในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นการขยายความร่วมมือกันระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้อีกแขนงหนึ่ง นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่ารัฐบาลชุดนี้มีนโยบายที่จะการดำเนินการแก้ไขกฎหมายหรืออุปสรรคในการลงทุนจากต่างประเทศ โดยจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ การลงทุนใดที่มีความสำคัญอาจมีการเจรจาเป็นรายกรณี (case by case) สำหรับนโยบายเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างของประเทศ เน้นการแก้ปัญหาความยากจนของคนในชนบท โดยจะใช้ความแข็งแกร่งที่มีอยู่ในด้านเกษตรกรรม ส่งเสริมการพัฒนาแรงงานและฝีมือเพื่อการผลิต ซึ่งเหมือนกับแนวทาง one village one product ของญี่ปุ่น การส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม จะมีการปรับใช้นโยบายที่เหมาะสมโดยไม่เน้นทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเพียงแบบเดียว นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยจะลดช่องว่างของคนยากจนและคนรวยได้อย่างรวดเร็ว จึงมีนโยบายที่จะเชื่อมโยง Internet ไปสู่ตำบล และเชื่อว่าเมื่อคนชนบทมีความเข้มแข้งในด้านการผลิตและการเกษตร จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมีความ
เข้มแข็งและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐบาลไทยปรารถนาที่จะเห็นการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย ที่เน้นในส่วนของการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอาจย้ายฐานการผลิตพวกอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ มายังประเทศไทยให้มากขึ้น
ในการนี้ ประธาน Kankeiren ได้กล่าวอวยพรให้นายกรัฐมนตรีประสบความสำเร็จตามภารกิจและนโยบายที่ได้วางไว้ และแสดงความเห็นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ต้องปรับปรุงและทบทวนนโยบายบางประการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยก็จะเน้นกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น โดยจะเน้นไปที่คนยากจนในชนบทเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้เสียจะไม่ตกเป็นภาระกับ
ประชาชน โดยจะมีการนำเอารัฐวิสากิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์สามารถเพิ่มทุนได้ และจะเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีการฝึกอบรมบุคลากรในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับกับการพัฒนาเทคโนยีที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนาเทคโนโยโลยีสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งประธาน Kankeiren กล่าวว่า ปัจจุบัน Kankeiren กำลังดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเน้นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการจัดทำโครงการทั้ง IT Business Network ได้แก่โครงการที่เชื่อมบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางและขนาดย่อม โดยใช้เคเบิลไฟฟ้า ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการทดลองใช้และประสบความสำเร็จพอควร โดยจะมีการใช้อย่างสมบูรณ์ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ซึ่งการที่คณะ Kankeiren ได้มีโอกาสพบกลุ่มนักธุรกิจของไทย ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งฝ่ายไทยก็ได้แสดงความสนใจใน E-business network และฝ่ายญี่ปุ่นก็มีความสนใจในการทำงานร่วมกันกับไทยในด้านนี้ด้วย นอกจากนี้ ทางสมาพันธ์ Kankeiren ก็มีความสนใจในเรื่องการพัฒนาบุคลากร นอกจากนี้ ประธาน Kankeiren ได้เปิดเผยว่า ตนเองเป็นกรรมการในด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศในเอเชียในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยงบประมาณเป็นเงิน 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในตอนท้ายของการสนทนา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความปรารถนาดีและอวยพรให้ประธาน Kankeiren ประสบความสำเร็จในภารกิจต่าง ๆ และแสดงความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยและญี่ปุ่นจะได้มีความร่วมมือกันในด้านการค้าและการลงทุนให้ก้าวหน้าต่อไป--จบ--
-สส-