วันนี้ เวลา 11.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ เมืองบังคาลอร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมของนักธุรกิจ ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries --CII) ซึ่งมีบุคคลสำคัญระดับสูงเข้าร่วมรับฟัง เช่น ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Chairman of CII) และประธานสภาหอการค้าและ อุตสาหกรรมของอินเดีย (The President of the Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry--FICCI) เป็นต้น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ภายหลัง กล่าวแสดงความยินดีที่ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมนักธุรกิจอินเดีย ณ เมืองบังคาลอร์ ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีระดับสูง และนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีในการชี้แจงให้ทราบถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นฐานที่สำคัญของไทย และบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมาในยุทธศาสตร์การพัฒนาดังกล่าว รวมถึงจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักธุรกิจอินเดีย ถึงลู่ทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและอินเดียเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในอนาคต
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความสัมพันธ์ระดับประชาชนของระหว่างไทยและอินเดียได้ดำเนินมาช้านานแล้ว ชุมชนชาวอินเดียที่ได้ตั้งรกรากในไทย เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ทางการค้าของสองประเทศที่ต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีต นอกจากนี้ ภูมิปัญญาต่างๆของอินเดีย ก็ได้ปลูกฝังอยู่ในสังคมไทยทั้งในด้านศาสนาและวัฒนธรมของสยาม และทรัพยากรใหม่ของอินเดียในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมีความเจริญงอกงามมากยิ่งขึ้น ความร่วมมือทวิภาคีของทั้งสองประเทศในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมาได้มีพัฒนาการไปอย่างก้าวหน้า ทั้งในกรอบทวิภาคีและกรอบภูมิภาค เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีสองประเทศ (bilateral Free Trade Area) ความร่วมมือด้านการค้าข้าว ( a rice pool cooperation arrangement) และความเป็นไปได้ในการจัดตั้งการค้าระบบหักบัญชีกับอินเดีย
นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสำคัญของการเดินทางมาเยือนอินเดียในครั้งนี้ว่า ไม่เพียงแต่ต้องการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะขยายความสัมพันธ์กับอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และความร่วมมือในระดับ ภูมิภาคด้วย นอกจากนี้ ความตั้งใจที่สำคัญในการเยี่ยมชมเมืองบังคาลอร์ คือ เพื่อเรียนรู้จากของจริงถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาของอินเดียในเรื่องนี้ และเพื่อแสวงหาช่องทางในการเพิ่มพูนความ ร่วมมือด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (information and communications technology) เมืองบังคาลอร์แห่งนี้ ยังเป็นเมืองที่มีความน่าสนใจเยี่ยมชม เพราะคุณภาพของชีวิต ของประชาชนในบังคาลอร์และทรัพยากรทางด้านวิชาการที่มีอยู่สามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดีและสมานฉันท์ (harmoniously)
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออก สาเหตุของวิกฤตดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าไม่ได้มีการเตรียมพร้อมที่จะรับกับผลของกระแสโลกาภิวัฒน์ดีพอ และไม่ได้ตระหนักว่า โลกาภิวัฒน์นั้นนำมาซึ่งทั้งโอกาสและวิกฤตพร้อมกัน โลกาภิวัฒน์ท้าทายให้เราต้องมีประสิทธิภาพ (efficiency) รู้จักปรับตัว (adaptive) มีจินตนาการที่มากขึ้นด้วย (more imaginative) และรู้จักระวังถึงการพลิกผันอย่างรวดเร็วของการลงทุนระยะสั้น (rapid disruptive short-term capital flows) ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันจึงได้วางยุทธศาสตร์ที่จะช่วยสร้างฐานการผลิตและการตลาดภายในที่เข้มแข็งและเป็นไปได้ เพื่อจัดการกับวิกฤตจากภายนอก ขณะเดียวกัน ไทยยังคงดำเนินนโยบายที่ติดต่อกับโลกภายนอก การแสวงหาและการแข่งขันในตลาดโลก การต้อนรับการเข้ามาของแหล่งทุนจากภายนอก รวมถึงโอกาส ทักษะ และแนวความคิดต่างๆ โดยรัฐบาลได้ใช้แนวทางที่ยึดเอาประชาชนเป็นหลัก (a people-centred approach) มุ่งเน้นความเข้มแข็งภายในและเครือข่ายที่หลากหลายระหว่างกลุ่มประชาคมอาเซียน และประชาชนในภูมิภาคเอเชียในระดับรากหญ้า
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวด้วยว่า นับตั้งแต่ที่ได้ประสบกับภาวะเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ก็ได้มีการดำเนินการในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ทั้งสามด้านของปิรามิด โดยแนวทางทั้งสามมีลักษณะของความเป็นคู่ขนานกันไป
เบื้องต้น เพื่อการขจัดปัญหาความยากจนและลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับเงินทุน รัฐบาลได้มีการดำเนินการนโยบายการพักชำระหนี้แก่เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปีสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อช่วยลดภาระหนี้สิน จัดตั้งโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นมีการผลิตและทำการตลาดสำหรับสินค้าหรือการบริการที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษของท้องถิ่นตนเอง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาและความรู้ของชุมชนเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ
ระดับกลาง รัฐบาลได้มีการจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และกองทุนร่วมเสี่ยงขึ้น (a Venture Capital package) เพื่อการจัดหาเงินทุนให้แก่การประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับในการแข่งขันของธุรกิจดังกล่าว อันจะนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้วย และในระดับยอดของปิรามิดนั้น รัฐบาลกำลังเร่งลดระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกจากระบบ เพื่อให้สถาบันการเงินได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่ออีกครั้ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปิรามิดที่มีขนาดใหญ่พอเพียง จะลดการพึ่งพาผู้อื่นน้อยลง และสามารถยืนหยัดด้วยตัวเองได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ ปิรามิดต่างๆ ของเอเชียนั้นส่วนใหญ่ต่างมีความสัมพันธ์ที่ต้องผูกพันเกี่ยวข้องกับปิรามิดอื่นๆ ทั้งจากภายในภูมิภาคและนอกภูมิภาคและด้วยเหตุดังกล่าว ไทยต้องแสวงหาหนทางในการขยายความร่วมมือกับปิรามิดอื่นๆ ในทุกระดับ ระดับฐานของปิรามิดนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องแสวงหาความร่วมมือติดต่อกับฐานอื่น โดยผ่านช่องทางของเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต ระดับกลางนั้น ปิรามิดของไทยจะต้องติดต่อวิสาหกิจ SMEs กับปิรามิดอื่นๆ อย่างแข็งขัน และส่วนยอดของปิรามิด ยังต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับภาคการธนาคารทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย และในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ด้วยความรวดเร็วและเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวอีกว่า เมื่อปิรามิดจำนวนหลายอันถูกนำมาเรียงต่อกัน และด้านแต่ละด้านของปิรามิดอยู่ชนกันแล้ว ก็จะก่อให้เกิดรูปลักษณะสี่เหลี่ยมที่มีความแข็งแกร่งและแน่นหนา (a solid and cohesive block) ปิรามิดที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มจะช่วยสร้างพลังและความเข้มแข็งให้แก่กันและกัน และสิ่งนี้คือ หลักปรัชญาของการพัฒนาภูมิภาคเอเชียอย่างยั่งยืน (the concept of sustainable Asian development)
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเรียกร้องให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือในระดับภูมิภาคของเอเชียมากขึ้น (regionalization) และได้เสนอให้มีการจัดตั้ง “กลุ่มปรึกษาหารือเพื่อความร่วมมือในเอเชีย” (Asia Cooperation Dialogue) โดยเป็นเวทีที่มีเอกลักษณ์ของเอเชียร่วมกัน เพื่อประสานงานและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการร่วมกันในประเด็นปัญหาต่างๆ ของโลก ซึ่งเวทีดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมร่วมกันทั้งในส่งเสริมการค้า การลงทุนและความร่วมมือในภูมิภาคให้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และเวทีนี้ยังจะขยายรวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน (extended neighbourhood) จากเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตก ทั้งนี้ ประเทศในเอเชียต้องเรียนรู้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งภายในกลุ่มเอเชียและกับภายนอกกลุ่มประเทศเอเชียด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการสร้างความเข้มแข็ง ภายใน (inner strength) การเสริมสร้างทักษะของคนในชุมชน และการสร้างเครือข่ายตลาดเอเชียว่า มีความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาช่วยเสริมสร้าง และแนวทางการพัฒนาของไทยที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ของเศรษฐกิจชุมชนและชนบท (knowledge-based rural and urban economy) แม้ว่าจะมีรากฐานสำคัญที่ภาคเกษตรและการประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) รวมถึงวิสัยทัศน์ที่ต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากการพัฒนาของภาคเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้มแข็ง
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงนโยบาย “อินเทอร์เน็ตตำบล” ของไทยว่า การเพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชนในระดับล่างสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต จะเป็นการช่วยลดช่องว่างทางวิทยาการ (digital divide) ระหว่างเมืองและชนบท และรัฐบาลหวังว่าด้วยนโยบายดังกล่าว จะเป็นการช่วยสร้างให้เกิดแรงงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น อันจะเป็นการช่วยลดช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาในที่สุด ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้มีความจำเป็นที่จะต้องให้การฝึกอบรมแก่ประชาชน อันเป็นส่วนหนึ่งของ “การเสริมสร้างขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์” (human capacity building) ดังนั้น “การเรียนรู้ทางไกล” (Distance Learning) จะเป็นไปอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเข้าถึงการเรียนรู้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงหวังว่า ประเทศไทยและอินเดียจะสามารถมีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องดังกล่าว เพราะความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นยาขนานแท้ในการต่อสู้กับสงครามความยากจน (IT cooperation is precisely the prescription to fight the war on poverty)
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า ที่ผ่านมาประเทศในเอเชียต่างมองไปที่โลกตะวันตกเพื่อการสร้างทรัพยากรและการค้า ประเทศไทยเองก็ได้มองไปที่ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมาช้านาน อินเดียก็ได้มองไปที่ฝั่งทะเลอาราเบียน ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน แต่ถึงเวลาแล้วที่ทั้งสองประเทศควรจะมองซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การรวมตัวกัน (synergize) ทรัพยากรความร่ำรวยของเอเชียที่มีอยู่ควรจะได้รับการจัดการในทางที่จะเอื้อประโยชน์แก่เราทุกคนในภูมิภาค เมืองบังคาลอร์เป็นตัวอย่างหนึ่งที่โดดเด่นสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว ประเทศอินเดียได้รับการขนานนามว่าเป็น “หุบเขาซิลิคอนแห่งเอเชีย” (Silicon Valley of Asia) นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า เมื่อคำนึงถึงว่าประเทศไทยมีอุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้มแข็ง ไทยและอินเดียต่างมีโอกาสและศักยภาพที่จะเป็นหุ้นส่วนและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ (economic synergies and partnership) เพื่อการอำนวยความสะดวกในทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการวิจัยร่วมกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังเชื่อมั่นว่า บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดียจะมีบทบาทอย่างสำคัญและมีความหมายต่อเอเชียใหม่
ภายหลังการกล่าวสุนทรพจน์ นายกรัฐมนตรีได้เป็นสักขีพยาน การลงนามของภาคเอกชนไทยและอินเดีย ระหว่าง สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII) กับ คณะกรรมการการค้าไทย (Board of Trade of Thailand) สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII) กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( Federation of Thailand Industry) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย (The President of the Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry--FICCI) กับ หอการค้าไทย (Thai Chamber of Commerce) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย (The President of the Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry--FICCI) กับ สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII)
โดยเป็นการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระหว่างกัน อาทิ บันทึกความเข้าใจระหว่าง FICCI กับ BOT ว่าด้วยความร่วมมือด้าน Information Technology Sector เพื่อส่งเสริมให้ไทยและอินเดีย เป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสารโลก (Global Information Economy) ขยายความร่วมมือทุกๆ สาขา ได้แก่ ยา เภสัชกรรม เคมี โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วย โดยเป็นการลงนามระหว่าง นาย R.S. Lodha ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย (The President of the Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry--FICCI) กับนายอาชว์ เตาลานนท์ ประธานสภา หอการค้าแห่งประเทศไทย สำหรับบันทึกความเข้าใจระหว่าง BOT กับ CCI ได้เน้นการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งระหว่างสององค์กร เน้นการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดนิทรรศการการค้า ซึ่งกันและกันทั้งในไทยและอินเดีย โดยเป็นการลงนามระหว่างนาย Sanjiv Goenka ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII) และนายอาชว์ เตาลานนท์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
ภายหลัง กล่าวแสดงความยินดีที่ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมนักธุรกิจอินเดีย ณ เมืองบังคาลอร์ ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีระดับสูง และนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีในการชี้แจงให้ทราบถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นฐานที่สำคัญของไทย และบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมาในยุทธศาสตร์การพัฒนาดังกล่าว รวมถึงจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักธุรกิจอินเดีย ถึงลู่ทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและอินเดียเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในอนาคต
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความสัมพันธ์ระดับประชาชนของระหว่างไทยและอินเดียได้ดำเนินมาช้านานแล้ว ชุมชนชาวอินเดียที่ได้ตั้งรกรากในไทย เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ทางการค้าของสองประเทศที่ต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีต นอกจากนี้ ภูมิปัญญาต่างๆของอินเดีย ก็ได้ปลูกฝังอยู่ในสังคมไทยทั้งในด้านศาสนาและวัฒนธรมของสยาม และทรัพยากรใหม่ของอินเดียในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมีความเจริญงอกงามมากยิ่งขึ้น ความร่วมมือทวิภาคีของทั้งสองประเทศในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมาได้มีพัฒนาการไปอย่างก้าวหน้า ทั้งในกรอบทวิภาคีและกรอบภูมิภาค เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีสองประเทศ (bilateral Free Trade Area) ความร่วมมือด้านการค้าข้าว ( a rice pool cooperation arrangement) และความเป็นไปได้ในการจัดตั้งการค้าระบบหักบัญชีกับอินเดีย
นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสำคัญของการเดินทางมาเยือนอินเดียในครั้งนี้ว่า ไม่เพียงแต่ต้องการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะขยายความสัมพันธ์กับอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และความร่วมมือในระดับ ภูมิภาคด้วย นอกจากนี้ ความตั้งใจที่สำคัญในการเยี่ยมชมเมืองบังคาลอร์ คือ เพื่อเรียนรู้จากของจริงถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาของอินเดียในเรื่องนี้ และเพื่อแสวงหาช่องทางในการเพิ่มพูนความ ร่วมมือด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (information and communications technology) เมืองบังคาลอร์แห่งนี้ ยังเป็นเมืองที่มีความน่าสนใจเยี่ยมชม เพราะคุณภาพของชีวิต ของประชาชนในบังคาลอร์และทรัพยากรทางด้านวิชาการที่มีอยู่สามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดีและสมานฉันท์ (harmoniously)
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วต่อประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออก สาเหตุของวิกฤตดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าไม่ได้มีการเตรียมพร้อมที่จะรับกับผลของกระแสโลกาภิวัฒน์ดีพอ และไม่ได้ตระหนักว่า โลกาภิวัฒน์นั้นนำมาซึ่งทั้งโอกาสและวิกฤตพร้อมกัน โลกาภิวัฒน์ท้าทายให้เราต้องมีประสิทธิภาพ (efficiency) รู้จักปรับตัว (adaptive) มีจินตนาการที่มากขึ้นด้วย (more imaginative) และรู้จักระวังถึงการพลิกผันอย่างรวดเร็วของการลงทุนระยะสั้น (rapid disruptive short-term capital flows) ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันจึงได้วางยุทธศาสตร์ที่จะช่วยสร้างฐานการผลิตและการตลาดภายในที่เข้มแข็งและเป็นไปได้ เพื่อจัดการกับวิกฤตจากภายนอก ขณะเดียวกัน ไทยยังคงดำเนินนโยบายที่ติดต่อกับโลกภายนอก การแสวงหาและการแข่งขันในตลาดโลก การต้อนรับการเข้ามาของแหล่งทุนจากภายนอก รวมถึงโอกาส ทักษะ และแนวความคิดต่างๆ โดยรัฐบาลได้ใช้แนวทางที่ยึดเอาประชาชนเป็นหลัก (a people-centred approach) มุ่งเน้นความเข้มแข็งภายในและเครือข่ายที่หลากหลายระหว่างกลุ่มประชาคมอาเซียน และประชาชนในภูมิภาคเอเชียในระดับรากหญ้า
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวด้วยว่า นับตั้งแต่ที่ได้ประสบกับภาวะเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ก็ได้มีการดำเนินการในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ทั้งสามด้านของปิรามิด โดยแนวทางทั้งสามมีลักษณะของความเป็นคู่ขนานกันไป
เบื้องต้น เพื่อการขจัดปัญหาความยากจนและลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับเงินทุน รัฐบาลได้มีการดำเนินการนโยบายการพักชำระหนี้แก่เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปีสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อช่วยลดภาระหนี้สิน จัดตั้งโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นมีการผลิตและทำการตลาดสำหรับสินค้าหรือการบริการที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษของท้องถิ่นตนเอง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาและความรู้ของชุมชนเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ
ระดับกลาง รัฐบาลได้มีการจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และกองทุนร่วมเสี่ยงขึ้น (a Venture Capital package) เพื่อการจัดหาเงินทุนให้แก่การประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับในการแข่งขันของธุรกิจดังกล่าว อันจะนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้วย และในระดับยอดของปิรามิดนั้น รัฐบาลกำลังเร่งลดระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกจากระบบ เพื่อให้สถาบันการเงินได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่ออีกครั้ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปิรามิดที่มีขนาดใหญ่พอเพียง จะลดการพึ่งพาผู้อื่นน้อยลง และสามารถยืนหยัดด้วยตัวเองได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ ปิรามิดต่างๆ ของเอเชียนั้นส่วนใหญ่ต่างมีความสัมพันธ์ที่ต้องผูกพันเกี่ยวข้องกับปิรามิดอื่นๆ ทั้งจากภายในภูมิภาคและนอกภูมิภาคและด้วยเหตุดังกล่าว ไทยต้องแสวงหาหนทางในการขยายความร่วมมือกับปิรามิดอื่นๆ ในทุกระดับ ระดับฐานของปิรามิดนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องแสวงหาความร่วมมือติดต่อกับฐานอื่น โดยผ่านช่องทางของเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต ระดับกลางนั้น ปิรามิดของไทยจะต้องติดต่อวิสาหกิจ SMEs กับปิรามิดอื่นๆ อย่างแข็งขัน และส่วนยอดของปิรามิด ยังต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับภาคการธนาคารทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย และในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ด้วยความรวดเร็วและเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวอีกว่า เมื่อปิรามิดจำนวนหลายอันถูกนำมาเรียงต่อกัน และด้านแต่ละด้านของปิรามิดอยู่ชนกันแล้ว ก็จะก่อให้เกิดรูปลักษณะสี่เหลี่ยมที่มีความแข็งแกร่งและแน่นหนา (a solid and cohesive block) ปิรามิดที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มจะช่วยสร้างพลังและความเข้มแข็งให้แก่กันและกัน และสิ่งนี้คือ หลักปรัชญาของการพัฒนาภูมิภาคเอเชียอย่างยั่งยืน (the concept of sustainable Asian development)
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเรียกร้องให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือในระดับภูมิภาคของเอเชียมากขึ้น (regionalization) และได้เสนอให้มีการจัดตั้ง “กลุ่มปรึกษาหารือเพื่อความร่วมมือในเอเชีย” (Asia Cooperation Dialogue) โดยเป็นเวทีที่มีเอกลักษณ์ของเอเชียร่วมกัน เพื่อประสานงานและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการร่วมกันในประเด็นปัญหาต่างๆ ของโลก ซึ่งเวทีดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมร่วมกันทั้งในส่งเสริมการค้า การลงทุนและความร่วมมือในภูมิภาคให้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และเวทีนี้ยังจะขยายรวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน (extended neighbourhood) จากเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตก ทั้งนี้ ประเทศในเอเชียต้องเรียนรู้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งภายในกลุ่มเอเชียและกับภายนอกกลุ่มประเทศเอเชียด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการสร้างความเข้มแข็ง ภายใน (inner strength) การเสริมสร้างทักษะของคนในชุมชน และการสร้างเครือข่ายตลาดเอเชียว่า มีความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาช่วยเสริมสร้าง และแนวทางการพัฒนาของไทยที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ของเศรษฐกิจชุมชนและชนบท (knowledge-based rural and urban economy) แม้ว่าจะมีรากฐานสำคัญที่ภาคเกษตรและการประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) รวมถึงวิสัยทัศน์ที่ต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาคนั้น แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากการพัฒนาของภาคเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้มแข็ง
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงนโยบาย “อินเทอร์เน็ตตำบล” ของไทยว่า การเพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชนในระดับล่างสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต จะเป็นการช่วยลดช่องว่างทางวิทยาการ (digital divide) ระหว่างเมืองและชนบท และรัฐบาลหวังว่าด้วยนโยบายดังกล่าว จะเป็นการช่วยสร้างให้เกิดแรงงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น อันจะเป็นการช่วยลดช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาในที่สุด ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้มีความจำเป็นที่จะต้องให้การฝึกอบรมแก่ประชาชน อันเป็นส่วนหนึ่งของ “การเสริมสร้างขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์” (human capacity building) ดังนั้น “การเรียนรู้ทางไกล” (Distance Learning) จะเป็นไปอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเข้าถึงการเรียนรู้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงหวังว่า ประเทศไทยและอินเดียจะสามารถมีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องดังกล่าว เพราะความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นยาขนานแท้ในการต่อสู้กับสงครามความยากจน (IT cooperation is precisely the prescription to fight the war on poverty)
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า ที่ผ่านมาประเทศในเอเชียต่างมองไปที่โลกตะวันตกเพื่อการสร้างทรัพยากรและการค้า ประเทศไทยเองก็ได้มองไปที่ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมาช้านาน อินเดียก็ได้มองไปที่ฝั่งทะเลอาราเบียน ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน แต่ถึงเวลาแล้วที่ทั้งสองประเทศควรจะมองซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การรวมตัวกัน (synergize) ทรัพยากรความร่ำรวยของเอเชียที่มีอยู่ควรจะได้รับการจัดการในทางที่จะเอื้อประโยชน์แก่เราทุกคนในภูมิภาค เมืองบังคาลอร์เป็นตัวอย่างหนึ่งที่โดดเด่นสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว ประเทศอินเดียได้รับการขนานนามว่าเป็น “หุบเขาซิลิคอนแห่งเอเชีย” (Silicon Valley of Asia) นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า เมื่อคำนึงถึงว่าประเทศไทยมีอุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้มแข็ง ไทยและอินเดียต่างมีโอกาสและศักยภาพที่จะเป็นหุ้นส่วนและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ (economic synergies and partnership) เพื่อการอำนวยความสะดวกในทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการวิจัยร่วมกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังเชื่อมั่นว่า บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดียจะมีบทบาทอย่างสำคัญและมีความหมายต่อเอเชียใหม่
ภายหลังการกล่าวสุนทรพจน์ นายกรัฐมนตรีได้เป็นสักขีพยาน การลงนามของภาคเอกชนไทยและอินเดีย ระหว่าง สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII) กับ คณะกรรมการการค้าไทย (Board of Trade of Thailand) สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII) กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( Federation of Thailand Industry) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย (The President of the Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry--FICCI) กับ หอการค้าไทย (Thai Chamber of Commerce) สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย (The President of the Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry--FICCI) กับ สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII)
โดยเป็นการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระหว่างกัน อาทิ บันทึกความเข้าใจระหว่าง FICCI กับ BOT ว่าด้วยความร่วมมือด้าน Information Technology Sector เพื่อส่งเสริมให้ไทยและอินเดีย เป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสารโลก (Global Information Economy) ขยายความร่วมมือทุกๆ สาขา ได้แก่ ยา เภสัชกรรม เคมี โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วย โดยเป็นการลงนามระหว่าง นาย R.S. Lodha ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย (The President of the Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry--FICCI) กับนายอาชว์ เตาลานนท์ ประธานสภา หอการค้าแห่งประเทศไทย สำหรับบันทึกความเข้าใจระหว่าง BOT กับ CCI ได้เน้นการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งระหว่างสององค์กร เน้นการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดนิทรรศการการค้า ซึ่งกันและกันทั้งในไทยและอินเดีย โดยเป็นการลงนามระหว่างนาย Sanjiv Goenka ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (The Confederation of Indian Industries -CII) และนายอาชว์ เตาลานนท์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-