วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ. ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโยสุเคะ โฮริกูชิ (Mr. Yusuke Horiguchi) หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Head of Asia Pacific Department — International Monetary Fund) เข้าเยี่ยมคารวะ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2544 เพื่อหารือกับกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางด้านการเงินการคลังของไทย นำไปประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทย และรายงานให้คณะกรรมการ IMF ทราบ ภายหลังการกล่าว ต้อนรับ ได้มีการสนทนาสรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อาทิ นโยบายกองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งผลิตภัณท์หนึ่งตำบลว่า เพื่อให้ประชาชนทุกส่วนของสังคมสามารถหลุดพ้นจากปัญหาความยากจน โดยรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพของ สินค้า โดยการผนวกภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าในระบบเศรษฐกิจเสรีโลก และในขณะเดียวกันไทยก็ให้ความสำคัญกับการกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการตัดราคาระหว่างกัน สำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใน รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบองค์รวม อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ตั้งแต่ระบบรากหญ้าด้วย โครงการพักการชำระหนี้ของเกษตรรายย่อย พร้อมทั้งการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหา NPL มีประสิทธิภาพทั้งระบบ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตรวจสอบการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจทั้งภาคการเงินและการคลัง โดยคำนึงถึงวินัยทางการเงินการคลัง โดยเฉพาะการเพิ่มงบประมาณการขาดดุล ซึ่งได้กำหนดไว้ไม่เกิด 5% รวมถึงการจัดสรรงบประมาณขาดดุลเพิ่ม 50,000 ล้านบาท นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึง เป้าหมายการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในระยะกลางว่า โดยมีความปรารถนาที่จะทยอยลดการขาดดุลงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การจัดทำงบประมาณเกินดุลภายในอนาคต ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า นโยบายบางส่วนจะเพิ่มส่งผลในทางบวกภายใน 6 เดือน และยังยืนยันว่า จะไม่แทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงิน โดยจะปล่อยให้ดำเนินการไปตามเงื่อนไขและสภาพความเป็นจริงของตลาด
ในโอกาสนี้ หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้กล่าว ว่า IMF ให้ความสำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคโดยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญ ซึ่งเห็นว่าทั้ง IMF และรัฐบาลไทยต่างมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ การบรรเทาปัญหาความยากจนของประชาชน ทั้งนี้ IMF ให้ความสนใจและติดตามในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการกำหนดงบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะมีส่งผลต่อภาวะหนี้สาธารณของประเทศ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม จากการเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ ทำให้ได้รับทราบและเข้าใจถึงปรัชญาการกำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายเศรษฐกิจระยะกลาง ในการการลดงบประมาณการขาดดุลในอนาคต
--สำนักโฆษก--
-สส-
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ. ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโยสุเคะ โฮริกูชิ (Mr. Yusuke Horiguchi) หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Head of Asia Pacific Department — International Monetary Fund) เข้าเยี่ยมคารวะ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2544 เพื่อหารือกับกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางด้านการเงินการคลังของไทย นำไปประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทย และรายงานให้คณะกรรมการ IMF ทราบ ภายหลังการกล่าว ต้อนรับ ได้มีการสนทนาสรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล อาทิ นโยบายกองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งผลิตภัณท์หนึ่งตำบลว่า เพื่อให้ประชาชนทุกส่วนของสังคมสามารถหลุดพ้นจากปัญหาความยากจน โดยรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพของ สินค้า โดยการผนวกภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าในระบบเศรษฐกิจเสรีโลก และในขณะเดียวกันไทยก็ให้ความสำคัญกับการกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการตัดราคาระหว่างกัน สำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใน รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบองค์รวม อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ตั้งแต่ระบบรากหญ้าด้วย โครงการพักการชำระหนี้ของเกษตรรายย่อย พร้อมทั้งการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหา NPL มีประสิทธิภาพทั้งระบบ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตรวจสอบการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจทั้งภาคการเงินและการคลัง โดยคำนึงถึงวินัยทางการเงินการคลัง โดยเฉพาะการเพิ่มงบประมาณการขาดดุล ซึ่งได้กำหนดไว้ไม่เกิด 5% รวมถึงการจัดสรรงบประมาณขาดดุลเพิ่ม 50,000 ล้านบาท นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึง เป้าหมายการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในระยะกลางว่า โดยมีความปรารถนาที่จะทยอยลดการขาดดุลงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การจัดทำงบประมาณเกินดุลภายในอนาคต ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า นโยบายบางส่วนจะเพิ่มส่งผลในทางบวกภายใน 6 เดือน และยังยืนยันว่า จะไม่แทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงิน โดยจะปล่อยให้ดำเนินการไปตามเงื่อนไขและสภาพความเป็นจริงของตลาด
ในโอกาสนี้ หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้กล่าว ว่า IMF ให้ความสำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคโดยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญ ซึ่งเห็นว่าทั้ง IMF และรัฐบาลไทยต่างมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ การบรรเทาปัญหาความยากจนของประชาชน ทั้งนี้ IMF ให้ความสนใจและติดตามในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการกำหนดงบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะมีส่งผลต่อภาวะหนี้สาธารณของประเทศ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม จากการเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ ทำให้ได้รับทราบและเข้าใจถึงปรัชญาการกำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายเศรษฐกิจระยะกลาง ในการการลดงบประมาณการขาดดุลในอนาคต
--สำนักโฆษก--
-สส-