วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 นางแมรี่ โรบินสัน ( Mrs. Mary Robinson )ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ิเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
วันนี้เวลา 14.00 น. ณ ห้องรับรอง 1 อาคารรัฐสภา นางแมรี่ โรบินสัน (Mrs. Mary Robinson ) ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 9 ภายหลังกล่าวต้อนรับได้มีการสนทนา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีต้อนรับ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ พร้อมทั้งแสดงความขอบคุณที่สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคในครั้งนี้ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าประเทศไทยมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาคือ การยึดถือในระบอบประชาธิปไตย และวัฒนธรรมของสังคมไทย ที่ยึดความเมตตาเป็นพื้นฐานในการดำรงอยู่ร่วมกัน และเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบเนื่องกันมา ทั้งนี้ รัฐบาลก็มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น มีการตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขึ้น ตามที่บัญญติไว้ในรัฐธรรมนูญ และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธาณะที่พอเพียง และมีความเป็นอยู่ที่ดี โดยรัฐบาลจะได้เน้นให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ในชนบทให้มากขึ้นด้วย
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้แสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้เข้าเยี่ยมคารวะในวันนี้ และได้กล่าวชื่นชมบทบาทของประเทศไทยที่ได้มีการพัฒนาและให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และแสดงความหวังว่ารัฐบาลจะได้ดำเนินการสานต่อนโยบายเรื่องนี้ต่อไป พร้อมกันนี้ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้เปิดเผยว่าจะสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสำหรับประเทศในภูมิภาคขึ้นในประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีความพร้อมในหลายๆด้าน
รวมทั้งความโดดเด่นในเรื่องวัฒนธรรมและประเพณีอีกด้วย พร้อมทั้งกล่าวชื่นชม แนวทางการสร้าง
ศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย รวมถึงการแสดงจุดยืนของประเทศไทยในเรื่องการสร้างความสงบเรียบร้อยในภูมิภาค โดยการส่งกองกำลังทหารไปร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในติมอร์ตะวันออกด้วย นอกจากนี้ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้หยิบยกประเด็นปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องและเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกัน เช่น ปัญหายาเสพย์ติด ปัญหาสิทธิเด็ก และปัญหาการค้าประเวณีในประเทศไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวย้ำว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ และจะได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและชัดเจน เช่น รัฐบาลได้กำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวโดยให้เน้นเรื่องการนำเสนอด้านประเพณี วัฒนธรรม และธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหาภาพพจน์ของประเทศในเรื่องโสเภณีด้วย
--สำนักโฆษก--
-สส-
วันนี้เวลา 14.00 น. ณ ห้องรับรอง 1 อาคารรัฐสภา นางแมรี่ โรบินสัน (Mrs. Mary Robinson ) ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 9 ภายหลังกล่าวต้อนรับได้มีการสนทนา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีต้อนรับ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ พร้อมทั้งแสดงความขอบคุณที่สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคในครั้งนี้ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าประเทศไทยมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาคือ การยึดถือในระบอบประชาธิปไตย และวัฒนธรรมของสังคมไทย ที่ยึดความเมตตาเป็นพื้นฐานในการดำรงอยู่ร่วมกัน และเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบเนื่องกันมา ทั้งนี้ รัฐบาลก็มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น มีการตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขึ้น ตามที่บัญญติไว้ในรัฐธรรมนูญ และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธาณะที่พอเพียง และมีความเป็นอยู่ที่ดี โดยรัฐบาลจะได้เน้นให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ในชนบทให้มากขึ้นด้วย
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้แสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้เข้าเยี่ยมคารวะในวันนี้ และได้กล่าวชื่นชมบทบาทของประเทศไทยที่ได้มีการพัฒนาและให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และแสดงความหวังว่ารัฐบาลจะได้ดำเนินการสานต่อนโยบายเรื่องนี้ต่อไป พร้อมกันนี้ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้เปิดเผยว่าจะสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสำหรับประเทศในภูมิภาคขึ้นในประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีความพร้อมในหลายๆด้าน
รวมทั้งความโดดเด่นในเรื่องวัฒนธรรมและประเพณีอีกด้วย พร้อมทั้งกล่าวชื่นชม แนวทางการสร้าง
ศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย รวมถึงการแสดงจุดยืนของประเทศไทยในเรื่องการสร้างความสงบเรียบร้อยในภูมิภาค โดยการส่งกองกำลังทหารไปร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในติมอร์ตะวันออกด้วย นอกจากนี้ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้หยิบยกประเด็นปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องและเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกัน เช่น ปัญหายาเสพย์ติด ปัญหาสิทธิเด็ก และปัญหาการค้าประเวณีในประเทศไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวย้ำว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ และจะได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและชัดเจน เช่น รัฐบาลได้กำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวโดยให้เน้นเรื่องการนำเสนอด้านประเพณี วัฒนธรรม และธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหาภาพพจน์ของประเทศในเรื่องโสเภณีด้วย
--สำนักโฆษก--
-สส-