วันนี้ (17 พ.ย.59) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (คนพ.) ครั้งที่ 1/2559 โดยมีรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
ภายหลังการประชุม นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญว่า ที่ประชุม คนพ. มีมติเห็นชอบโครงการสำคัญภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564) ที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 2560 จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 6,992.67 ล้านบาท โดยให้ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป พร้อมกับ มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของคณะกรรมการไปดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะการเร่งรัดดำเนินการตามแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้บังเกิดผลโดยเร็วภายใน 1-3 ปี และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมในเรื่องการสร้างความรับรู้ความเข้าใจ การเตรียมแผนรองรับผลกระทบ ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
พร้อมกันนี้ ที่ประชุม คนพ. มอบหมาย สศช. ประสานกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯในแต่ละกลุ่ม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้บรรลุผลในทางปฏิบัติอย่างครอบคลุม อาทิ อุตสาหกรรมศักยภาพ สิทธิประโยชน์ เขตการค้าเสรี การประชาสัมพันธ์ ระบบคมนาคมและโลจิสติกส์ ไฟฟ้าและพลังงานระบบน้ำ การพัฒนาเมือง และสิ่งแวดล้อมเมือง การท่องเที่ยว สาธารณสุขและระบบบริการที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นวัตกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการแปรรูปเพื่อเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร เป็นต้น และมอบหมาย สศช. ปรับปรุงแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี แผนงบประมาณ พร้อมทั้งระบุผลประโยชน์ที่จะได้รับ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
สำหรับแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564) ที่สำคัญ ได้แก่ แผนงาน 1. กฎหมาย พรบ. EEC 2. โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิติกส์ (คค.) 2.1 ถนน - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) หมายเลข 7 (ก่อสร้างด่านเก็บเงิน/ ก่อสร้างส่วนขยาย พัทยา-มาบตาพุด) [รองรับรถ 72,000 คัน/วัน] - ก่อสร้าง/บูรณะ/ขยายช่องจราจร เช่น no.3 33 36 304 314 331 / ก่อสร้างทางแยก/สะพานลอย [ระยะทางรวมประมาณ 1,000 กิโลเมตร] 2.2 รถไฟ - รถทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย - รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยอง [รองรับผู้โดยสาร 43,200 คน/วัน – สิ้นสุดสถานีที่มาบตาพุด] - สถานีรถไฟอู่ตะเภา (ก่อสร้างสถานี และสิ่งอำนวยความสะดวก) - รถไฟทางคู่ศรีราชา-เขาชีจรรย์-มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด (ศึกษา/ดำเนินการต่อเนื่อง) 2.3 ท่าเรือ - ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 [รองรับสินค้าเหลว ก๊าช อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ฯลฯ / พื้นที่ถมทะเล] (รวมศึกษา) - ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ระยะที่ 3 [รองรับตู้สินค้าเป็น 18 ล้านTEUต่อปี / รองรับรถยนต์ผ่านท่า 2.95 ล้านคันต่อปี] (รวมศึกษา) - ศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟแหลมฉบัง (SRTO) [รองรับตู้สินค้า 2 ล้านTEU/ปี] - ท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง - ท่าเทียบเรือขนส่ง และท่าเทียบเรือท่องเที่ยวเกาะล้าน (รวมศึกษาเรือเฟอร์รี่) - ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ (ปรับปรุงร่องน้ำและพื้นที่จอดเรือ / ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น / ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ /-ปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำมัน) 2.4 สนามบินอู่ตะเภา (Aviation Hub) ระยะแรก -ศึกษาความเหมาะสม และ EIA/EHIA (ภาพรวมการพัฒนาสนามบิน และรายกิจกรรมสำคัญ) - ติดตั้งระบบ IT กล้องวงจรปิด เครื่อง X-Ray และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 – ก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน ระยะที่ 2-ก่อสร้าง High Speed Taxiway และ Taxiway - ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 [รองรับอากาศยาน Code 4F /การขนส่งทางอากาศ/ อุตสาหกรรมการบิน/ MRO และท่องเที่ยว] - ก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO [Commercial Airplane และ Private Jet/Helicopter / 2Hangars / 72 aircraft (144engines)] -ก่อสร้างศูนย์ขนส่งทางอากาศ Air Cargo ระยะที่ 3 -ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 [รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคน/ปี] - ก่อสร้าง Commercial Gateway (headquarter/ Technology/ Research/ Recreation Center) -พัฒนาพื้นที่ Free trade zone และ Medical Hub
3. อุตสาหกรรมศักยภาพ (อก.) 3.1 อุตสาหกรรมเป้าหมาย-จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม s-curve 3.2 สิ่งแวดล้อม-Eco town (พัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมนิเวศ ใน 3 พื้นที่ / กำกับตรวจสอบ และยกระดับมาตรฐานโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม) 3.3 การส่งเสริมการลงทุน-สิทธิประโยชน์ [ปัจจุบันพื้นที่ EEC ขอรับ boi-นโยบายคลัสเตอร์ 18,354 ลบ. (ทั้งประเทศรวม 25,538 ลบ.) ] 3.4 การประชาสัมพันธ์-จัดทำ VDO ประชาสัมพันธ์ / Roadshows (เชิญชวนนักลงทุน / ทำความเข้าใจภาคประชาชน) 3.5 OSS [ระดับพื้นที่ 2 แห่ง เช่น แหลมฉบัง มาบตาพุด] 4. Free Trade Zone (กค.) -กำหนดพื้นที่ FTZ 5. นวัตกรรม (วท.) -พัฒนานวัตกรรม และพัฒนาบุคลากรรองรับ EEC 6. เทคโนโลยีสารสนเทศ (ดท.) -พัฒนาระบบ/เครือข่ายที่เชื่อมโยงครอบคลุม มีประสิทธิภาพสูง รองรับ e-commerce / Smart City 7. ไฟฟ้า/พลังงาน (พน.) -พัฒนาระบบไฟฟ้า / ขยาย ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพ / พัฒนาระบบสายส่งและสถานี / พัฒนาโครงข่าย Smart Grid พัทยา
8. ระบบน้ำ (มท.) 8.1 อ่างเก็บน้ำ-เพิ่มความจุอ่างฯ / เพิ่มระบบสูบน้ำ/ผันน้ำ เชื่อมโยงเครือข่าย / ก่อสร้างท่อส่งน้ำ / ปรับปรุงระบบระบายน้ำ 8.2 ระบบประปา -ก่อสร้างขยายระบบประปา / เพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายน้ำ 8.3 ท่อส่งน้ำ -ปรับปรุงระบบสูบน้ำ / ก่อสร้างวางท่อส่งน้ำ / พัฒนาบ่อดินเก็บน้ำ / ก่อสร้างระบบสูบน้ำ 9. พัฒนาเมือง (มท.) 9.1 ผังเมือง-การวางผังพื้นที่กลุ่มจังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา / ผังเมืองรวม / ผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ (ศึกษา) 9.2 สิ่งแวดล้อมเมือง ขยะ -เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ จ.ระยอง / ก่อสร้างระบบเตาเผาขยะ แหลมฉบัง / ก่อสร้างระบบกำจัดขยะแบบบูรณาการ พัทยา น้ำเสีย -เพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย พัทยา (จ.ระยอง อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบระบบ) ระบายน้ำ-ก่อสร้างระบบระบายน้ำป้องกันน้ำท่วม พัทยา 10. ท่องเที่ยว (กก.) 11. สาธารณสุข (สธ.) -พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศการให้บริการ และพัฒนาการให้บริการด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม –การบริหารจัดการและลงทุนโรงพยาบาลเมืองพัทยา 12. ภาพรวมโครงการ (สศช.) –การศึกษาจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก -จัดตั้งสำนักงานฯ ชั่วคราว / ทีม Management
---------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
(ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการ คนพ.)
ที่มา: http://www.thaigov.go.th