วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2544) ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 (The 7th ASEAN Summit) โดยการประชุมได้เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น)
ทั้งนี้ การหารือในช่วงเช้าระหว่างเวลา 09.00-10.30 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุมฯ ในหัวข้อ "สิ่งท้าทายต่อประเทศอาเซียนและการเร่งรัดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่ม อาเซียน" (Responding to Challenges and Accelerating Economic Integration) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าประเทศไทยเห็นพ้องกับความเห็นของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนที่ว่า ประเทศอาเซียนยังคงต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ มากมาย ดังเช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความท้าทายในเรื่องขีดความสามารถของอาเซียน ปัญหาการก่อการร้าย ยาเสพติด และปัญหาอาชาญากรรมข้ามชาติ ทั้งนี้ อาเซียนกำลังอยู่ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน (transformation period) โดยการรับประเทศสมาชิกใหม่เข้ามาร่วม จึงมีความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องดำรงบทบาทในเชิงรุก (pro-active) และพลังต่างๆไว้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment) ในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับการส่งออกที่ถดถอยลงได้ส่งผลต่อการกระตุ้นการเติบโตของภูมิภาค และวิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจในปี 1997 ได้แสดงให้เห็นถึง ความเปราะบาง(vulnerability) ของภูมิภาคที่มีต่อพลังภายนอกและการที่ต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกเป็นอย่างมาก
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การที่อาเซียนกำลังตกอยู่ในสถานะที่ต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ นั้น อาเซียนจำเป็นต้องเพิ่มพูนและขยายความร่วมมือกิจกรรมทางการเมือง รวมถึงการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นด้วย ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เสนอว่า อาจจำเป็นต้องใช้กลไกของ ASEAN Troika ในการสนับสนุนการดำเนินงานของประธานอาเซียน เพื่อการติดตามและการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อที่ว่าอาเซียนจะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้อย่างทันท่วงที และประเทศเอเชียควรที่จะได้มีการปรึกษาหารือกันมากขึ้น (dialogue among Asian countries) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับบทบาทและการมีส่วนร่วมของเอเชียต่อเวทีระดับโลกอย่างแข็งขัน
ทางด้านการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การเงินนั้น นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า ประเทศต่างๆ ควรที่จะมองไปข้างหน้า (look forward) เพื่อการแสวงหาเป้าหมายใหม่ๆ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นไปอีก และอาเซียนต้องมีมาตรการป้องกัน (preventive measures) เพื่อมิให้วิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจเกิดขึ้นซ้ำอีก นายกรัฐมนตรีกล่าวเรียกร้องว่า ประเทศสมาชิกควรจะได้มีความพยายามร่วมกัน (concerted attempt)ในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศใหม่ (international financial architecture) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันถึงสภาพแวดล้อมโลกที่มีความมั่นคง ทั้งนี้ ความร่วมมือทางการเงินในระดับภูมิภาค จะประกอบไปด้วยระบบการติดตามตรวจสอบระดับภูมิภาคและความร่วมมือทางด้านธุรกรรมทางการเงิน (regional surveillance system and a cooperative financing arrangement) ทั้งนี้ กระบวนการติดตามตรวจสอบของอาเซียนนั้น ควรได้รับการสร้างเสริมให้มีความเข้มแข็งและควรมีความครอบคลุมขยายไปถึงกลุ่มประเทศอาเซียน และอีกสามประเทศ (ASEAN + 3) อันได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเรียกร้องว่า หากว่าอาเซียนต้องการที่จะสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นสำหรับภูมิภาคแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธกิจตามข้องตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า (AFTA - ASEAN Free Trade Area) อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่า อาเซียนควรจะต้องหันมาเน้นการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อปกป้องอาเซียนจากผลกระทบทางลบอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลก นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการดำเนินการของรัฐบาลไทยซึ่งมีนโยบายที่เน้นประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง (people-centred) ว่า มีจุดประสงค์เพื่อการกระตุ้นความต้องการภายในประเทศและความสามารถของประชาชนในระดับรากหญ้า นโยบายกองทุนหมู่บ้านและกองทุนหมุนเวียนโดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท ธนาคารประชาชนและการพักชำระหนี้เกษตรกรที่มีหนี้สินไม่เกินรายละหนึ่งแสนบาท ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวจะเป็นการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของท้องถิ่น ที่อยู่บนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและวิทยาการของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังได้ส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์ของประชาชนในระดับรากหญ้าด้วยการจัดตั้งโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" (One-Village, One-Product Scheme) ซึ่งในโครงการดังกล่าว รัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดหาความช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำต่างๆ ในด้านเทคโนโลยี การตลาด และการบริหารจัดการ เพื่อให้สินค้าที่ผลิตขึ้นมาเป็นที่ดึงดูดสำหรับตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เสนอว่า ประเทศอาเซียนสามารถที่จะนำวิธีการของการค้าแบบหักบัญชี หรือ account trade มาใช้ เนื่องจากวิธีการดังกล่าวนอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกทางการค้าแล้ว ยังจะเป็นการลดการใช้สกุลเงินต่างประเทศด้วย และขณะนี้ประเทศไทยได้มีการเจรจาทำความตกลงในเรื่องการค้าแบบหักบัญชีกับประเทศต่างๆ หลายประเทศแล้ว เช่น กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปีหน้า ในระหว่างวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 และขณะนี้ภาคเอกชนไทยยังมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN CEO Summit ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ในเรื่องบทบาทของภาคเอกชนนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า เพื่อให้ภาคเอกชนของอาเซียนมีการติดต่อและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด จึงน่าจะมีการจัดตั้งเครือข่ายของศูนย์การวิจัยต่างๆ ร่วมกัน (networking of research centers) เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนร่วมกัน ซึ่งในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีเสนอว่าอาจมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางธุรกิจที่เรียกว่า “ Business Think-Tank ” เพื่อช่วยวางแนวทางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาในภูมิภาคว่า อาเซียนควรส่งเสริมการให้บริการทางการศึกษาระหว่างกัน โดยเฉพาะ ในเรื่องการเพิ่มมูลค่าทางการศึกษานั้น เปรียบเสมือนกับเป็น “สินค้าส่งออก” (export commodity) ของอาเซียนอย่างหนึ่งเช่นกัน และในการนี้ จึงมีความจำเป็นที่อาเซียนควรจักได้เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เรียกว่า “E-Learning ” และการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาแนวหน้าของโลกต่อไป
ในช่วงที่สอง ระหว่างเวลา 10.45-12.15 น. นายกรัฐมนตรีได้มีการหารือกับผู้นำอาเซียนต่อในหัวข้อเรื่อง “ การลดช่องว่างด้านการพัฒนา” ( Bridging the Gap in ASEAN) โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุมสรุปได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวเรียกร้องว่า ในขณะที่เรากำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง อาเซียนควรมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อการลดช่องว่างระหว่างประเทศในภูมิภาค และเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศต่างๆ จะต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและยืนยันในพันธกิจที่จะแก้ไขปัญหาท้าทายที่เกิดขึ้นอยู่ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ในระดับทวิภาคีนั้น ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 6 ประเทศของอาเซียนควรร่วมมือกันส่งเสริมการพัฒนาของประชาชนในระดับรากหญ้า และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงด้านการศึกษา สาธารณสุข และการเกษตร ทั้งนี้ ในระดับภูมิภาค นายกรัฐมนตรีเสนอให้มีการจัดตั้งโครงการร่วมที่เรียกว่า Joint Initiative Projects เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก โดยแต่ละประเทศสามารถให้ความช่วยเหลือในด้านที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ทั้งนี้ ความร่วมมือในโครงการดังกล่าวอาจเป็นความตกลงระหว่างสองประเทศขึ้นไป และยังจะเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตาม ข้อริเริ่มใหม่เพื่อความร่วมมือของอาเซียน หรือ Initiative for ASEAN Integration (IAI) ด้วย
นายกรัฐมนตรียังได้มีโอกาสหารือในเรื่องความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆ ด้วย เช่น กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS) และการพัฒนาความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-อาเซียน (ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation) พร้อมกับกล่าวย้ำถึงความพร้อมของไทยในการสนับสนุนการจัดตั้งโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมของภูมิภาคสายตะวันออก-ตะวันตก และเส้นทางเชื่อมระหว่างเหนือ-ใต้ ที่เรียกว่า East-West and Nort-South Economic Corridor อันจะเป็นการเชื่อมโยงการติดต่อเส้นทางถนนจากเวียดนาม ผ่านประเทศลาว ไทย และพม่า และไปสิ้นสุดที่อนุทวีปอินเดีย และเช่นเดียวกันก็จะเป็นการเชื่อมโยงจังหวัดทางตอนใต้ของจีน ผ่านพม่า ลาว และประเทศไทย นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังสนับสนุนการโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบของอาเซียน สำหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเรียกร้องให้ประเทศอาเซียนให้ความร่วมมือในการร่วมลงทุนในการปรับปรุงเส้นทางรถไฟช่วงปอยเปต-ศรีโสภณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟดังกล่าว
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ การหารือในช่วงเช้าระหว่างเวลา 09.00-10.30 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุมฯ ในหัวข้อ "สิ่งท้าทายต่อประเทศอาเซียนและการเร่งรัดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่ม อาเซียน" (Responding to Challenges and Accelerating Economic Integration) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าประเทศไทยเห็นพ้องกับความเห็นของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนที่ว่า ประเทศอาเซียนยังคงต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ มากมาย ดังเช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความท้าทายในเรื่องขีดความสามารถของอาเซียน ปัญหาการก่อการร้าย ยาเสพติด และปัญหาอาชาญากรรมข้ามชาติ ทั้งนี้ อาเซียนกำลังอยู่ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน (transformation period) โดยการรับประเทศสมาชิกใหม่เข้ามาร่วม จึงมีความจำเป็นที่อาเซียนจะต้องดำรงบทบาทในเชิงรุก (pro-active) และพลังต่างๆไว้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment) ในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับการส่งออกที่ถดถอยลงได้ส่งผลต่อการกระตุ้นการเติบโตของภูมิภาค และวิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจในปี 1997 ได้แสดงให้เห็นถึง ความเปราะบาง(vulnerability) ของภูมิภาคที่มีต่อพลังภายนอกและการที่ต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกเป็นอย่างมาก
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การที่อาเซียนกำลังตกอยู่ในสถานะที่ต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ นั้น อาเซียนจำเป็นต้องเพิ่มพูนและขยายความร่วมมือกิจกรรมทางการเมือง รวมถึงการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นด้วย ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เสนอว่า อาจจำเป็นต้องใช้กลไกของ ASEAN Troika ในการสนับสนุนการดำเนินงานของประธานอาเซียน เพื่อการติดตามและการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อที่ว่าอาเซียนจะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้อย่างทันท่วงที และประเทศเอเชียควรที่จะได้มีการปรึกษาหารือกันมากขึ้น (dialogue among Asian countries) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับบทบาทและการมีส่วนร่วมของเอเชียต่อเวทีระดับโลกอย่างแข็งขัน
ทางด้านการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การเงินนั้น นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า ประเทศต่างๆ ควรที่จะมองไปข้างหน้า (look forward) เพื่อการแสวงหาเป้าหมายใหม่ๆ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นไปอีก และอาเซียนต้องมีมาตรการป้องกัน (preventive measures) เพื่อมิให้วิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจเกิดขึ้นซ้ำอีก นายกรัฐมนตรีกล่าวเรียกร้องว่า ประเทศสมาชิกควรจะได้มีความพยายามร่วมกัน (concerted attempt)ในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศใหม่ (international financial architecture) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันถึงสภาพแวดล้อมโลกที่มีความมั่นคง ทั้งนี้ ความร่วมมือทางการเงินในระดับภูมิภาค จะประกอบไปด้วยระบบการติดตามตรวจสอบระดับภูมิภาคและความร่วมมือทางด้านธุรกรรมทางการเงิน (regional surveillance system and a cooperative financing arrangement) ทั้งนี้ กระบวนการติดตามตรวจสอบของอาเซียนนั้น ควรได้รับการสร้างเสริมให้มีความเข้มแข็งและควรมีความครอบคลุมขยายไปถึงกลุ่มประเทศอาเซียน และอีกสามประเทศ (ASEAN + 3) อันได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเรียกร้องว่า หากว่าอาเซียนต้องการที่จะสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นสำหรับภูมิภาคแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธกิจตามข้องตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า (AFTA - ASEAN Free Trade Area) อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่า อาเซียนควรจะต้องหันมาเน้นการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อปกป้องอาเซียนจากผลกระทบทางลบอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลก นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการดำเนินการของรัฐบาลไทยซึ่งมีนโยบายที่เน้นประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง (people-centred) ว่า มีจุดประสงค์เพื่อการกระตุ้นความต้องการภายในประเทศและความสามารถของประชาชนในระดับรากหญ้า นโยบายกองทุนหมู่บ้านและกองทุนหมุนเวียนโดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท ธนาคารประชาชนและการพักชำระหนี้เกษตรกรที่มีหนี้สินไม่เกินรายละหนึ่งแสนบาท ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวจะเป็นการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของท้องถิ่น ที่อยู่บนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและวิทยาการของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังได้ส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์ของประชาชนในระดับรากหญ้าด้วยการจัดตั้งโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" (One-Village, One-Product Scheme) ซึ่งในโครงการดังกล่าว รัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดหาความช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำต่างๆ ในด้านเทคโนโลยี การตลาด และการบริหารจัดการ เพื่อให้สินค้าที่ผลิตขึ้นมาเป็นที่ดึงดูดสำหรับตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เสนอว่า ประเทศอาเซียนสามารถที่จะนำวิธีการของการค้าแบบหักบัญชี หรือ account trade มาใช้ เนื่องจากวิธีการดังกล่าวนอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกทางการค้าแล้ว ยังจะเป็นการลดการใช้สกุลเงินต่างประเทศด้วย และขณะนี้ประเทศไทยได้มีการเจรจาทำความตกลงในเรื่องการค้าแบบหักบัญชีกับประเทศต่างๆ หลายประเทศแล้ว เช่น กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปีหน้า ในระหว่างวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 และขณะนี้ภาคเอกชนไทยยังมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN CEO Summit ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ในเรื่องบทบาทของภาคเอกชนนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า เพื่อให้ภาคเอกชนของอาเซียนมีการติดต่อและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด จึงน่าจะมีการจัดตั้งเครือข่ายของศูนย์การวิจัยต่างๆ ร่วมกัน (networking of research centers) เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนร่วมกัน ซึ่งในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีเสนอว่าอาจมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางธุรกิจที่เรียกว่า “ Business Think-Tank ” เพื่อช่วยวางแนวทางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาในภูมิภาคว่า อาเซียนควรส่งเสริมการให้บริการทางการศึกษาระหว่างกัน โดยเฉพาะ ในเรื่องการเพิ่มมูลค่าทางการศึกษานั้น เปรียบเสมือนกับเป็น “สินค้าส่งออก” (export commodity) ของอาเซียนอย่างหนึ่งเช่นกัน และในการนี้ จึงมีความจำเป็นที่อาเซียนควรจักได้เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เรียกว่า “E-Learning ” และการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาแนวหน้าของโลกต่อไป
ในช่วงที่สอง ระหว่างเวลา 10.45-12.15 น. นายกรัฐมนตรีได้มีการหารือกับผู้นำอาเซียนต่อในหัวข้อเรื่อง “ การลดช่องว่างด้านการพัฒนา” ( Bridging the Gap in ASEAN) โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุมสรุปได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวเรียกร้องว่า ในขณะที่เรากำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง อาเซียนควรมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อการลดช่องว่างระหว่างประเทศในภูมิภาค และเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศต่างๆ จะต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและยืนยันในพันธกิจที่จะแก้ไขปัญหาท้าทายที่เกิดขึ้นอยู่ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ในระดับทวิภาคีนั้น ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 6 ประเทศของอาเซียนควรร่วมมือกันส่งเสริมการพัฒนาของประชาชนในระดับรากหญ้า และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงด้านการศึกษา สาธารณสุข และการเกษตร ทั้งนี้ ในระดับภูมิภาค นายกรัฐมนตรีเสนอให้มีการจัดตั้งโครงการร่วมที่เรียกว่า Joint Initiative Projects เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก โดยแต่ละประเทศสามารถให้ความช่วยเหลือในด้านที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ทั้งนี้ ความร่วมมือในโครงการดังกล่าวอาจเป็นความตกลงระหว่างสองประเทศขึ้นไป และยังจะเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตาม ข้อริเริ่มใหม่เพื่อความร่วมมือของอาเซียน หรือ Initiative for ASEAN Integration (IAI) ด้วย
นายกรัฐมนตรียังได้มีโอกาสหารือในเรื่องความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆ ด้วย เช่น กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS) และการพัฒนาความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-อาเซียน (ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation) พร้อมกับกล่าวย้ำถึงความพร้อมของไทยในการสนับสนุนการจัดตั้งโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมของภูมิภาคสายตะวันออก-ตะวันตก และเส้นทางเชื่อมระหว่างเหนือ-ใต้ ที่เรียกว่า East-West and Nort-South Economic Corridor อันจะเป็นการเชื่อมโยงการติดต่อเส้นทางถนนจากเวียดนาม ผ่านประเทศลาว ไทย และพม่า และไปสิ้นสุดที่อนุทวีปอินเดีย และเช่นเดียวกันก็จะเป็นการเชื่อมโยงจังหวัดทางตอนใต้ของจีน ผ่านพม่า ลาว และประเทศไทย นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังสนับสนุนการโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบของอาเซียน สำหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเรียกร้องให้ประเทศอาเซียนให้ความร่วมมือในการร่วมลงทุนในการปรับปรุงเส้นทางรถไฟช่วงปอยเปต-ศรีโสภณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟดังกล่าว
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-