วันนี้ เวลา 18.00 น ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ร่วมหารือทวิภาคีกับสมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen) นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและคณะ โดยมีบุคคลระดับสูงเข้าร่วมประชุม อาทิ พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และในส่วนของคณะรัฐมนตรีกัมพูชาประกอบด้วยนายฮอร์ นัม ฮอง (Mr. Hor Namhong) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา นายฮอง ซุน ฮวด (Mr. Hong Sun Huot) รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายจาม ประสิทธ์ (Mr. Cham Prasidh) รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นาย เวง เสรีวุธ (Mr. Veng Sereyvuth) รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว เป็นต้น
ภายหลังการประชุม นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวผลการหารทวิภาคี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ในโอกาสได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ชั้นช้างเผือก (Knight Grand Cordon (First Class) of the Most Exalted Order of the White Elephant) และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาจะได้เข้ารับปริญญาปรัชญาดุษฏีกิตติมศักดิ์สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในวันที่ 15 พ.ย. 2544 นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลและประชาชนชาวไทยที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่แน่นเฟ้นของทั้งสองประเทศมากยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้หยิบยกประเด็นขึ้นหารือในที่ ประชุม ดังนี้
ปัญหาการปักปันเขตแดน โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นชอบให้มีการเร่งรัดการปักปันเขตแดน และภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ได้มีการสั่งการให้มีการดำเนินการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ ภายใต้หลักถ้อยทีถ้อยอาศัย ฉันท์มิตร ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบก รวมทั้งความร่วมมือในการกู้กับระเบิดตามบริเวณชายแดน โดยทั้งสองประเทศจะได้ร่วมกันตรวจตราพื้นที่ชายแดน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้การดำเนินการมีความปลอดภัยสูงสุด
ความร่วมมือสามฝ่าย ไทย ลาว และกัมพูชา ภายใต้โครงการสามเหลี่ยมมรกต (Emerald Triangle) โดยไทยและกัมพูชาจะได้จัดตั้งทีมงานร่วมกัน เพื่อการดำเนินการ และจะได้แจ้งให้ฝ่ายลาวรับทราบ โดยคาดว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดที่จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2545 รวมถึงการประชุมรัฐมนตรี 6 ประเทศ ภายใต้โครงการอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion)
สำหรับความคืบหน้าในการเจรจาพื้นที่กัมพูชา-ไทย ว่าด้วยเรื่องสิทธิทับซ้อนไหล่ทวีปนั้น นายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีในความก้าวหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือในบันทึกความเข้าใจ ฯ ซึ่งได้มีการลงนามแล้วเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 และมีความคืบหน้าไปมากซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ ในส่วนแผนพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงไทย-กัมพูชานั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ เห็นร่วมกันในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการแล้ว ไทยพร้อมที่จะสนับสนุนและจะได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่สำรวจเส้นทางและประเมินงบประมาณ โดยเฉพาะเส้นทางจากชายแดนไทยไปยังจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทยและกัมพูชาต่อไป และยังสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในการพัฒนาเส้นทางระเบียงทะเลจากจังหวัดตราดไปยังเกาะกง ในด้านความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวขอบคุณไทย ที่ได้ช่วยผลักดันในที่ประชุมอาเซียนให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว ( T_ASEAN) ที่กัมพูชาด้วย
นายกรัฐมนตรียังแสดงความยินดีต่อความคืบหน้าในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งถือว่าเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจฉบับแรกที่ไทยได้จัดทำกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กรอบความร่วมมือดังกล่าว จะทำให้ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความร่วมมือด้านการเมืองของทั้งสองประเทศต่อไป
สำหรับประเด็นปัญหาแรงงานผิดกฎหมายนั้น นายกรัฐมนตรี ขอความร่วมมือและความเข้าใจจากรัฐบาลกัมพูชาด้วยว่า หากมีแรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบเข้ามา ไทยมีความจำเป็นต้องส่งกลับ เนื่องไทยได้มีการจัดโดยให้มีการลงทะเบียนแรงงานผิดกฎหมายในประเทศ โดยขณะนี้ได้มีแรงงานผิดกฎหมายมาลงทะเบียนอย่างถูกต้องกว่า 500,000 คน ซึ่งเป็นชาวกัมพูชากว่า 55,000 คน ซึ่ง นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แจ้งว่า จะได้ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงสตรีได้ให้ความร่วมมือ หากมีแรงงานผิดกฎหมายจากกัมพูชา ก็ขอให้ส่งกลับประเทศ โดยติดต่อผ่านช่องทางสถานเอกอัครราชทูตต่อไป
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เสนอให้มีไทยและกัมพูชา มีความร่วมมือด้านการค้า ในระบบการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) เพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งได้มีการพูดคุยที่ประชุม ASEAN Summit ที่ผ่านมา และขณะนี้ ไทยได้มีการดำเนินการแล้วกับเวียดนามและพม่า ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ตอบรับข้อเสนอข้อนายกรัฐมนตรี พร้อมจะนำไปพิจารณาความเป็นไปได้ เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศ
นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ ต่างเห็นพ้องร่วมกันว่า ไทยและกัมพูชา ได้มีความร่วมมือระหว่างในการดำเนินนโยบายและการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ
ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีกัมพูชาร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตระหว่างไทย-กัมพูชา (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Kingdom of Cambodia on the Exemption of Visas for Holders of Diplomatic Passports) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ลงนาม ณ ทำเนียบรัฐบาล
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
ภายหลังการประชุม นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวผลการหารทวิภาคี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ในโอกาสได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ชั้นช้างเผือก (Knight Grand Cordon (First Class) of the Most Exalted Order of the White Elephant) และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาจะได้เข้ารับปริญญาปรัชญาดุษฏีกิตติมศักดิ์สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในวันที่ 15 พ.ย. 2544 นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลและประชาชนชาวไทยที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่แน่นเฟ้นของทั้งสองประเทศมากยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้หยิบยกประเด็นขึ้นหารือในที่ ประชุม ดังนี้
ปัญหาการปักปันเขตแดน โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นชอบให้มีการเร่งรัดการปักปันเขตแดน และภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ได้มีการสั่งการให้มีการดำเนินการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ ภายใต้หลักถ้อยทีถ้อยอาศัย ฉันท์มิตร ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบก รวมทั้งความร่วมมือในการกู้กับระเบิดตามบริเวณชายแดน โดยทั้งสองประเทศจะได้ร่วมกันตรวจตราพื้นที่ชายแดน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้การดำเนินการมีความปลอดภัยสูงสุด
ความร่วมมือสามฝ่าย ไทย ลาว และกัมพูชา ภายใต้โครงการสามเหลี่ยมมรกต (Emerald Triangle) โดยไทยและกัมพูชาจะได้จัดตั้งทีมงานร่วมกัน เพื่อการดำเนินการ และจะได้แจ้งให้ฝ่ายลาวรับทราบ โดยคาดว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดที่จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2545 รวมถึงการประชุมรัฐมนตรี 6 ประเทศ ภายใต้โครงการอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion)
สำหรับความคืบหน้าในการเจรจาพื้นที่กัมพูชา-ไทย ว่าด้วยเรื่องสิทธิทับซ้อนไหล่ทวีปนั้น นายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีในความก้าวหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือในบันทึกความเข้าใจ ฯ ซึ่งได้มีการลงนามแล้วเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 และมีความคืบหน้าไปมากซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ ในส่วนแผนพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงไทย-กัมพูชานั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ เห็นร่วมกันในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการแล้ว ไทยพร้อมที่จะสนับสนุนและจะได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่สำรวจเส้นทางและประเมินงบประมาณ โดยเฉพาะเส้นทางจากชายแดนไทยไปยังจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทยและกัมพูชาต่อไป และยังสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในการพัฒนาเส้นทางระเบียงทะเลจากจังหวัดตราดไปยังเกาะกง ในด้านความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวขอบคุณไทย ที่ได้ช่วยผลักดันในที่ประชุมอาเซียนให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยว ( T_ASEAN) ที่กัมพูชาด้วย
นายกรัฐมนตรียังแสดงความยินดีต่อความคืบหน้าในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งถือว่าเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจฉบับแรกที่ไทยได้จัดทำกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กรอบความร่วมมือดังกล่าว จะทำให้ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความร่วมมือด้านการเมืองของทั้งสองประเทศต่อไป
สำหรับประเด็นปัญหาแรงงานผิดกฎหมายนั้น นายกรัฐมนตรี ขอความร่วมมือและความเข้าใจจากรัฐบาลกัมพูชาด้วยว่า หากมีแรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบเข้ามา ไทยมีความจำเป็นต้องส่งกลับ เนื่องไทยได้มีการจัดโดยให้มีการลงทะเบียนแรงงานผิดกฎหมายในประเทศ โดยขณะนี้ได้มีแรงงานผิดกฎหมายมาลงทะเบียนอย่างถูกต้องกว่า 500,000 คน ซึ่งเป็นชาวกัมพูชากว่า 55,000 คน ซึ่ง นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แจ้งว่า จะได้ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงสตรีได้ให้ความร่วมมือ หากมีแรงงานผิดกฎหมายจากกัมพูชา ก็ขอให้ส่งกลับประเทศ โดยติดต่อผ่านช่องทางสถานเอกอัครราชทูตต่อไป
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เสนอให้มีไทยและกัมพูชา มีความร่วมมือด้านการค้า ในระบบการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) เพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งได้มีการพูดคุยที่ประชุม ASEAN Summit ที่ผ่านมา และขณะนี้ ไทยได้มีการดำเนินการแล้วกับเวียดนามและพม่า ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ตอบรับข้อเสนอข้อนายกรัฐมนตรี พร้อมจะนำไปพิจารณาความเป็นไปได้ เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศ
นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ ต่างเห็นพ้องร่วมกันว่า ไทยและกัมพูชา ได้มีความร่วมมือระหว่างในการดำเนินนโยบายและการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ
ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีกัมพูชาร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตระหว่างไทย-กัมพูชา (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Kingdom of Cambodia on the Exemption of Visas for Holders of Diplomatic Passports) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ลงนาม ณ ทำเนียบรัฐบาล
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-