เมื่อเวลา 20.00 น. ณ ไฮเดอราบัด เฮ้าส์ (Hyderabad House) กรุงนิวเดลี ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาลอินเดีย ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการหารือข้อราชการ นายเวชปายี (Mr. Shri Atal Bihari Vajpayee) นายกรัฐมนตรีอินเดียได้เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เดินทางเยือนประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2544 และนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ สรุปสาระสำคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลอินเดียในการต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมกับหวังว่ารัฐบาลไทยจะได้มีโอกาสให้การต้อนรับแก่นายกรัฐมนตรีอินเดียในการเดินทางเยือนประเทศไทยในอนาคตเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวชื่นชมในประสบการณ์ทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีอินเดียทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค โดยเฉพาะการทำงานรับใช้ประเทศมานานกว่า 40 ปี และได้รับการยอมรับนับถือสามารถเอาชนะการเลือกตั้งเข้าสู่สภาติดต่อกันถึง 9 สมัย นับเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวต่อจากอดีตนายกรัฐมนตรียาวาหะราล เนห์รู (Mr. Jawaharlal Nehru) ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดียติดต่อกันถึงสามครั้ง นอกจากนี้ ในระดับนานาชาติ นายกรัฐมนตรีอินเดียยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญอย่างเยี่ยมยอดทางการเมืองและการทูตด้วย
ในด้านความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ไทยและอินเดียมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเต็มไปด้วยความเข้าใจและมิตรภาพตลอดมา และยังเป็นที่น่ายินดีที่ทั้งสองประเทศสามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และนับจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งสองประเทศได้มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเข้มแข็งมาเป็นลำดับ จนถึงระดับสูงสุด โดยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงมีหมายกำหนดการที่จะเสด็จเยือนประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการในต้นปีหน้า
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าจากการที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมกิจการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดีย ณ เมืองบังคาลอร์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความสามารถของอินเดียในด้านนี้ ไม่ได้เป็นรองประเทศใด ในด้านความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จากการที่กลุ่มอาเซียนได้ทำงานอย่างหนักเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) แล้วนั้น จึงหวังว่าไทยจะสามารถร่วมมือกับประเทศอินเดียเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกันด้วยในอนาคต และจะร่วมกันศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำระบบการค้าแบบหักบัญชี เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าสำหรับทั้งสองประเทศ และลดการพึ่งพาการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ จากการที่ไทยและอินเดียต่างก็เป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงน่าที่จะได้มีความร่วมมือในการค้าข้าว (a rice pool cooperation) ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการตัดราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งด้วยวิธีการนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคเกษตรกรรมและชาวนาของทั้งสองประเทศ และขณะนี้ไทยได้ทำความตกลงแล้วกับเวียดนาม และได้เริ่มต้นเจรจากับปากีสถานด้วย
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่ายินดีที่ไทยและอินเดียยังได้ร่วมมือกันก่อตั้งกลุ่มความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-TEC และในกรอบความร่วมมือแม่โขง-คงคาด้วย ขณะนี้ ทั้งสองยังมีภารกิจสำคัญ ในการทำงานร่วมกับพม่าในโครงการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมต่อระหว่างอินเดีย ประเทศไทย และพม่า โดยความช่วยเหลือของธนาคารพัฒนาเอเชีย ( ADB ) ทั้งนี้ เพื่อการส่งเสริมการค้า การลงทุนและท่องเที่ยว
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความร่วมมือระดับภูมิภาคว่า ขณะนี้ประเทศสมาชิกต่างๆ ของกลุ่มอาเซียนต่างรอคอยอย่างกระตือรือร้นถึงการจัดประชุมสุดยอดระหว่างอาเซียน-อินเดีย ซึ่งจะเป็นเวทีของการปรึกษาเพื่อการแสวงหาหนทางในการส่งเสริมบทบาทของอินเดียในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายกรัฐมนตรียังได้ให้คำยืนยันว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะแสดงบทบาทในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อยุดใหม่ของความร่วมมือระหว่างอาเซียนและอินเดีย (a new era of ASEAN-India cooperation) ในระดับภูมิภาคนั้น ประเทศไทยเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเปิดเวทีใหม่สำหรับการส่งเสริมความเป็นเอเชีย (Asian identity)ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอาจดำเนินการในรูปของ “การปรึกษาหารือเพื่อความร่วมมือของเอเชีย” (Asia Cooperation Dialogue-ACD) ซึ่งเป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการสำหรับประเทศในเอเชีย และด้วยการสนับสนุนของอินเดีย นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า การปรึกษาหารือดังกล่าว หรือ ACD จะเป็นอีกเวทีหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้นำเอเชียในการ แลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องต่างๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการให้คำแนะนำเพื่อการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาในเอเชียและในโลก
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า แม้ว่าอินเดียจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินเมื่อปี พ.ศ. 2540 แต่อินเดียและประเทศอื่นๆ ในเอเชียจะต้องคำนึงถึงอนาคตร่วมกัน นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า อนาคตของเอเชียจะขึ้นอยู่กับว่าทำอย่างไรที่ประเทศต่างๆจะสามารถร่วมมือกันเพื่อก่อให้เกิดความเจริญมั่งคั่งแก่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และของโลก ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเกินครึ่งหนึ่งของโลก และยังเป็นภูมิภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และทักษะสำหรับการผลิตและการจัดการในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ดังนั้น เราจึงควรหาหนทางที่จะให้ความมั่นใจว่าทักษะด้านภูมิปัญญาและมรดกของภูมิภาคสามารถให้ประโยชน์แก่เรา และในกระบวนการดังกล่าว สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบจากกระบวนการโลกาภิวัฒน์
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่าทรัพยากรที่มีอยู่ของอินเดียในปัจจุบัน สามารถที่จะเข้ามารวมกับเข้ากับประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่เหลืออยู่ (synergy) ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่ามหาศาลและผลประโยชน์ขนาดใหญ่สำหรับพวกเราและโลก
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ภายหลังการหารือข้อราชการ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอินเดียได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการสารสนเทศ ( MOU on Collaboration in Information Technology and Services ) ซึ่งลงนามโดย นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และนายศรี ปราโมท มหาจันทน์ ( Shri Pramod Mahajan ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของอินเดีย
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลอินเดียในการต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมกับหวังว่ารัฐบาลไทยจะได้มีโอกาสให้การต้อนรับแก่นายกรัฐมนตรีอินเดียในการเดินทางเยือนประเทศไทยในอนาคตเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวชื่นชมในประสบการณ์ทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีอินเดียทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค โดยเฉพาะการทำงานรับใช้ประเทศมานานกว่า 40 ปี และได้รับการยอมรับนับถือสามารถเอาชนะการเลือกตั้งเข้าสู่สภาติดต่อกันถึง 9 สมัย นับเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวต่อจากอดีตนายกรัฐมนตรียาวาหะราล เนห์รู (Mr. Jawaharlal Nehru) ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดียติดต่อกันถึงสามครั้ง นอกจากนี้ ในระดับนานาชาติ นายกรัฐมนตรีอินเดียยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญอย่างเยี่ยมยอดทางการเมืองและการทูตด้วย
ในด้านความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ไทยและอินเดียมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเต็มไปด้วยความเข้าใจและมิตรภาพตลอดมา และยังเป็นที่น่ายินดีที่ทั้งสองประเทศสามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และนับจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งสองประเทศได้มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเข้มแข็งมาเป็นลำดับ จนถึงระดับสูงสุด โดยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงมีหมายกำหนดการที่จะเสด็จเยือนประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการในต้นปีหน้า
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าจากการที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมกิจการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดีย ณ เมืองบังคาลอร์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าความสามารถของอินเดียในด้านนี้ ไม่ได้เป็นรองประเทศใด ในด้านความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จากการที่กลุ่มอาเซียนได้ทำงานอย่างหนักเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) แล้วนั้น จึงหวังว่าไทยจะสามารถร่วมมือกับประเทศอินเดียเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกันด้วยในอนาคต และจะร่วมกันศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำระบบการค้าแบบหักบัญชี เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าสำหรับทั้งสองประเทศ และลดการพึ่งพาการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ จากการที่ไทยและอินเดียต่างก็เป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงน่าที่จะได้มีความร่วมมือในการค้าข้าว (a rice pool cooperation) ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการตัดราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งด้วยวิธีการนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคเกษตรกรรมและชาวนาของทั้งสองประเทศ และขณะนี้ไทยได้ทำความตกลงแล้วกับเวียดนาม และได้เริ่มต้นเจรจากับปากีสถานด้วย
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่ายินดีที่ไทยและอินเดียยังได้ร่วมมือกันก่อตั้งกลุ่มความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-TEC และในกรอบความร่วมมือแม่โขง-คงคาด้วย ขณะนี้ ทั้งสองยังมีภารกิจสำคัญ ในการทำงานร่วมกับพม่าในโครงการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมต่อระหว่างอินเดีย ประเทศไทย และพม่า โดยความช่วยเหลือของธนาคารพัฒนาเอเชีย ( ADB ) ทั้งนี้ เพื่อการส่งเสริมการค้า การลงทุนและท่องเที่ยว
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความร่วมมือระดับภูมิภาคว่า ขณะนี้ประเทศสมาชิกต่างๆ ของกลุ่มอาเซียนต่างรอคอยอย่างกระตือรือร้นถึงการจัดประชุมสุดยอดระหว่างอาเซียน-อินเดีย ซึ่งจะเป็นเวทีของการปรึกษาเพื่อการแสวงหาหนทางในการส่งเสริมบทบาทของอินเดียในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายกรัฐมนตรียังได้ให้คำยืนยันว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะแสดงบทบาทในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อยุดใหม่ของความร่วมมือระหว่างอาเซียนและอินเดีย (a new era of ASEAN-India cooperation) ในระดับภูมิภาคนั้น ประเทศไทยเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเปิดเวทีใหม่สำหรับการส่งเสริมความเป็นเอเชีย (Asian identity)ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอาจดำเนินการในรูปของ “การปรึกษาหารือเพื่อความร่วมมือของเอเชีย” (Asia Cooperation Dialogue-ACD) ซึ่งเป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการสำหรับประเทศในเอเชีย และด้วยการสนับสนุนของอินเดีย นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า การปรึกษาหารือดังกล่าว หรือ ACD จะเป็นอีกเวทีหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้นำเอเชียในการ แลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องต่างๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการให้คำแนะนำเพื่อการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาในเอเชียและในโลก
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า แม้ว่าอินเดียจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินเมื่อปี พ.ศ. 2540 แต่อินเดียและประเทศอื่นๆ ในเอเชียจะต้องคำนึงถึงอนาคตร่วมกัน นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า อนาคตของเอเชียจะขึ้นอยู่กับว่าทำอย่างไรที่ประเทศต่างๆจะสามารถร่วมมือกันเพื่อก่อให้เกิดความเจริญมั่งคั่งแก่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และของโลก ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเกินครึ่งหนึ่งของโลก และยังเป็นภูมิภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และทักษะสำหรับการผลิตและการจัดการในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ดังนั้น เราจึงควรหาหนทางที่จะให้ความมั่นใจว่าทักษะด้านภูมิปัญญาและมรดกของภูมิภาคสามารถให้ประโยชน์แก่เรา และในกระบวนการดังกล่าว สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบจากกระบวนการโลกาภิวัฒน์
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่าทรัพยากรที่มีอยู่ของอินเดียในปัจจุบัน สามารถที่จะเข้ามารวมกับเข้ากับประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่เหลืออยู่ (synergy) ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่ามหาศาลและผลประโยชน์ขนาดใหญ่สำหรับพวกเราและโลก
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ภายหลังการหารือข้อราชการ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอินเดียได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการสารสนเทศ ( MOU on Collaboration in Information Technology and Services ) ซึ่งลงนามโดย นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และนายศรี ปราโมท มหาจันทน์ ( Shri Pramod Mahajan ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของอินเดีย
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-