วันนี้ เวลา 11.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ถวายการต้อนรับ เชค กาลิฟา บิน ซัลมาน อัล กาลิฟา (H.H.Sh. Khalifa Bin Salman Al-Khalifa) นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรน ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Working Visit) ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2544 ภายหลังพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการและพิธีตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ณ บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้า นายกรัฐมนตรีได้ทูลเชิญนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรนไปยังห้องสีงาช้างเพื่อลงพระนามาภิไธยในสมุดเยี่ยม จากนั้นนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรนมีพระปฏิสันถารกับนายกรัฐมนตรี เมื่อเสร็จสิ้นแล้วนายกรัฐมนตรีและคณะฝ่ายไทยได้หารือข้อราชการเต็มคณะกับนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรนและคณะฝ่ายบาห์เรน ณ ห้องสีเขียว
การหารือในวันนี้ทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นหารือดังนี้
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความร่วมมือด้านการก่อสร้างว่า ภาคเอกชนของไทยโดยเฉพาะบริษัทก่อสร้างของไทยนั้นมีศักยภาพและความสามารถ ประกอบกับแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ จึงมีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในบาห์เรน เนื่องจากทราบว่าขณะนี้รัฐบาลบาห์เรนกำลังลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงสนามบิน โรงแรม และรีสอร์ท ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีหากทั้งสองฝ่ายจะได้มีการลงทุนร่วมกัน หรือ Joint Venture หรืออาจเชิญชวนให้บริษัทก่อสร้างของไทยเข้าไปลงทุน ซึ่งในการนี้นายกรัฐมนตรีบาห์เรนได้กล่าวว่า รัฐบาลบาห์เรนยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ หากนักธุรกิจไทยจะเข้าไปลงทุนด้านการก่อสร้าง หรือการลงทุนก่อสร้างห้างสรรพสินค้า (Shopping Mall) ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพสูงและพร้อมจะหาผู้ร่วมทุนที่เหมาะสมให้ด้วย หากนักธุรกิจไทยสนใจ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญชวนให้รัฐบาลบาห์เรนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ Matching Fund ซึ่งจะเป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับนักลงทุนต่างชาติในโครงการที่มีศักยภาพ และในตลาดหลักทรัพย์หรือภาคการเงินการธนาคารของประเทศ และเพื่อเป็นการประกันความมั่นใจในการดำเนินการ รัฐบาลจะร่วมลงทุนในอัตราสูงถึงร้อยละ 25 และในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเชิญชวนให้บาห์เรนเข้าร่วมลงทุนในการจัดตั้งธนาคารอิสลามที่รัฐบาลไทยได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนชาวมุสลิมในไทย ซึ่งนายกรัฐบาห์เรนได้แสดงความสนใจในข้อเสนอโครงการ Matching fund ของรัฐบาลไทย และเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และบาห์เรนนับว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในเรื่องของแหล่งเงินทุน (Capital Fund) จึงพร้อมที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทย รวมถึงการให้ความสนับสนุนในการลงทุนจัดตั้งธนาคารอิสลามด้วย เพราะเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสงบสุขและไม่มีการแบ่งแยกด้านเชื้อชาติ และศาสนา อีกทั้งพี่น้องมุสลิมในไทยก็เปรียบเสมือนพี่น้องของชาวบาห์เรน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงศักยภาพด้านการผลิตอาหารของไทยว่า ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่ผลิตอาหารส่งออกที่สำคัญของโลก ทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารอิสลาม หรือ Halal จึงขอให้บาห์เรนพิจารณานำเข้าอาหารเหล่านี้จากไทย เนื่องจากบาห์เรนสามารถเป็นประตูการค้าสำหรับกลุ่มประเทศรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf State) ของไทยอีกด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงข้าวหอมมะลิของไทย ว่าประเทศไทยนั้นเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลก จึงขอเชิญชวนให้ชาวบาห์เรนหันมาบริโภคข้าวไทยมากขึ้น
ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันเพื่อเพิ่มพูนและขยายปริมาณการค้าของทั้งสองประเทศ จึงเห็นพ้องร่วมกันว่าควรจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า หรือ Joint Commission ขึ้น และจะได้หารือในรายละเอียดระดับเจ้าหน้าที่ต่อไป
ความร่วมมือทางการเมือง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า เพื่อขยายความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างไทยและบาห์เรน จึงขอให้รัฐบาลบาห์เรนพิจารณาในเรื่องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต โดยอาจพิจารณาแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย หรือในระดับที่เหมาะสม ซึ่งฝ่ายบาห์เรนได้กล่าวตอบรับที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทยเนื่องจากเห็นว่า ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ดำเนินมาด้วยดีทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีหากจะมีการแลกเปลี่ยนและติดต่อระหว่างกันให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
จากนั้นภายหลังจากหารือเต็มคณะเสร็จสิ้นลง ณ ตึกสันติไมตรี นายกรัฐมนตรีและนายก
รัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรนได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และวิชาการ (Agreement on Economic Trade and Technical Cooperation) และความตกลงเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Agreement on Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income) ซึ่งความตกลงทั้งสองฉบับจะช่วยส่งเสริมเพิ่มพูนการค้าขายและการลงทุน ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ระหว่างกันให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพถวายพระกระยาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
การหารือในวันนี้ทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นหารือดังนี้
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความร่วมมือด้านการก่อสร้างว่า ภาคเอกชนของไทยโดยเฉพาะบริษัทก่อสร้างของไทยนั้นมีศักยภาพและความสามารถ ประกอบกับแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือ จึงมีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในบาห์เรน เนื่องจากทราบว่าขณะนี้รัฐบาลบาห์เรนกำลังลงทุนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงสนามบิน โรงแรม และรีสอร์ท ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีหากทั้งสองฝ่ายจะได้มีการลงทุนร่วมกัน หรือ Joint Venture หรืออาจเชิญชวนให้บริษัทก่อสร้างของไทยเข้าไปลงทุน ซึ่งในการนี้นายกรัฐมนตรีบาห์เรนได้กล่าวว่า รัฐบาลบาห์เรนยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ หากนักธุรกิจไทยจะเข้าไปลงทุนด้านการก่อสร้าง หรือการลงทุนก่อสร้างห้างสรรพสินค้า (Shopping Mall) ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพสูงและพร้อมจะหาผู้ร่วมทุนที่เหมาะสมให้ด้วย หากนักธุรกิจไทยสนใจ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญชวนให้รัฐบาลบาห์เรนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ Matching Fund ซึ่งจะเป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับนักลงทุนต่างชาติในโครงการที่มีศักยภาพ และในตลาดหลักทรัพย์หรือภาคการเงินการธนาคารของประเทศ และเพื่อเป็นการประกันความมั่นใจในการดำเนินการ รัฐบาลจะร่วมลงทุนในอัตราสูงถึงร้อยละ 25 และในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเชิญชวนให้บาห์เรนเข้าร่วมลงทุนในการจัดตั้งธนาคารอิสลามที่รัฐบาลไทยได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนชาวมุสลิมในไทย ซึ่งนายกรัฐบาห์เรนได้แสดงความสนใจในข้อเสนอโครงการ Matching fund ของรัฐบาลไทย และเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และบาห์เรนนับว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในเรื่องของแหล่งเงินทุน (Capital Fund) จึงพร้อมที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทย รวมถึงการให้ความสนับสนุนในการลงทุนจัดตั้งธนาคารอิสลามด้วย เพราะเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสงบสุขและไม่มีการแบ่งแยกด้านเชื้อชาติ และศาสนา อีกทั้งพี่น้องมุสลิมในไทยก็เปรียบเสมือนพี่น้องของชาวบาห์เรน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงศักยภาพด้านการผลิตอาหารของไทยว่า ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่ผลิตอาหารส่งออกที่สำคัญของโลก ทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารอิสลาม หรือ Halal จึงขอให้บาห์เรนพิจารณานำเข้าอาหารเหล่านี้จากไทย เนื่องจากบาห์เรนสามารถเป็นประตูการค้าสำหรับกลุ่มประเทศรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf State) ของไทยอีกด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงข้าวหอมมะลิของไทย ว่าประเทศไทยนั้นเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดของโลก จึงขอเชิญชวนให้ชาวบาห์เรนหันมาบริโภคข้าวไทยมากขึ้น
ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันเพื่อเพิ่มพูนและขยายปริมาณการค้าของทั้งสองประเทศ จึงเห็นพ้องร่วมกันว่าควรจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า หรือ Joint Commission ขึ้น และจะได้หารือในรายละเอียดระดับเจ้าหน้าที่ต่อไป
ความร่วมมือทางการเมือง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า เพื่อขยายความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างไทยและบาห์เรน จึงขอให้รัฐบาลบาห์เรนพิจารณาในเรื่องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต โดยอาจพิจารณาแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย หรือในระดับที่เหมาะสม ซึ่งฝ่ายบาห์เรนได้กล่าวตอบรับที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทยเนื่องจากเห็นว่า ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ดำเนินมาด้วยดีทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีหากจะมีการแลกเปลี่ยนและติดต่อระหว่างกันให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
จากนั้นภายหลังจากหารือเต็มคณะเสร็จสิ้นลง ณ ตึกสันติไมตรี นายกรัฐมนตรีและนายก
รัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรนได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และวิชาการ (Agreement on Economic Trade and Technical Cooperation) และความตกลงเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Agreement on Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income) ซึ่งความตกลงทั้งสองฉบับจะช่วยส่งเสริมเพิ่มพูนการค้าขายและการลงทุน ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ระหว่างกันให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพถวายพระกระยาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาห์เรน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-