วันนี้ (31 พฤษภาคม 2561) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล (คตน.) ครั้งที่ 5/2561 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มรายได้เกษตรกร ปี 2561 – 2562 การบริหารจัดการรถเกี่ยวนวดข้าวด้วยแอปพลิเคชัน “จองรถเกี่ยวนวดข้าว” โดยเป็นการบูรณาการการจัดทำ Application รถเกี่ยวข้าว ระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีจังหวัดนำร่อง 9 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ พะเยา นครศรีธรรมราช พัทลุง ราชบุรี นครปฐม และนครสวรรค์ ซึ่งกำลังเร่งติดตามผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้กับเครื่องทุนแรงการเกษตรต่าง ๆ อีกด้วย
รวมทั้งเห็นชอบ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร วงเงินสินเชื่อ 1,671 ล้านบาท ใช้เงินทุน ธ.ก.ส. สำหรับเกษตรกร วงเงินกู้ รายละไม่เกิน 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี (ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5) สำหรับสถาบันเกษตรกร วงเงินกู้ แห่งละไม่เกิน 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี (ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5) ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรก โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ร้อยละ 3 ต่อปี ตลอด 5 ปีแรก วงเงินชดเชยรวม 250 ล้านบาท ลูกค้าสามารถชำระคืนได้ไม่เกิน 10 ปี (ปีที่ 6-10 อัตราดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ ธ.ก.ส.) ทั้งนี้ เงื่อนไขต่าง ๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
สำหรับการช่วยเหลือชาวนาตามมาตรการลดต้นทุนการผลิต และการควบคุมค่าเช่าที่นา ได้มีการกำหนดมาตรการในการช่วยเหลือ 2 มาตรการ ดังนี้ 1) มาตรการควบคุมค่าเช่านาและเจรจาขอลดค่าเช่านา โดยลดลงไร่ละไม่น้อยกว่า 200 บาท ส่วนการกำหนดช่องทางการร้องเรียน เพื่อให้ชาวนาสามารถร้องเรียนไปยังศูนย์ดำรงธรรมอำเภอและจังหวัดได้ 2) มาตรการลดหรืองดค่าเช่านาให้แก่ชาวนาที่ประสบภัยธรรมชาติ ถ้ากรณีเสียหายบางส่วนให้ลดตามส่วนแห่งความเสียหาย และกรณีเสียหายทั้งหมดให้งดค่าเช่านาสำหรับปีนั้น
เส้นทางที่ 1 “อารยธรรมล้านนา” จำนวน 4 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และพะเยา
เส้นทางที่ 2 “ฝั่งทะเลตะวันออก” จำนวน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด ชลบุรี และระยอง
เส้นทางที่ 3 “อารยธรรมอีสานใต้” จำนวน 4 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
เส้นทางที่ 4 “ฝั่งทะเลตะวันตก” จำนวน 3 จังหวัด ประกอบด้วย เพชรบุรี ชุมพร และระนอง
เส้นทางที่ 5 “วิถีชีวิตลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนกลาง” จำนวน 4 จังหวัด ประกอบด้วย อยุธยา นนทบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี
เส้นทางที่ 6 “อันดามัน” จำนวน 4 จังหวัด ประกอบด้วย ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
เส้นทางที่ 7 “วิถีชีวิตริมแม่น้าโขง” จำนวน 7 จังหวัด ประกอบด้วย เลย หนองคาย บึงกาฬ อุบลราชธานี อานาจเจริญนครพนม และมุกดาหาร
เส้นทางที่ 8 “มรดกโลกด้านวัฒนธรรม” จำนวน 2 จังหวัด ประกอบด้วย กาแพงเพชร และตาก ทั้งนี้ รวมทั้งหมด 31 จังหวัด 99 อำเภอ 113 ตำบล 125 หมู่บ้าน
ที่ประชุมเห็นชอบการเร่งดำเนินการจัดระเบียบการเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวที่มีประชาชนนิยมไปเที่ยวชมจำนวนมาก เช่น อุทยานแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในด้านการจราจร สถานที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย และสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งในเมืองท่องเที่ยวหลักและเมืองท่องเที่ยวรองมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาล พร้อมจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนเชิงคุณภาพจำแนกตามเอกลักษณ์ไทยในด้านต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย เช่น เส้นทางผ้าไหมไทย อาหารไทย ข้าวไทย ทะเลไทย เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ และมีเรื่องราว (story) ประกอบเพื่อเป็นการให้ความรู้และดึงดูดความสนใจ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและการประกอบการของชุมชนตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง รวมถึงการแปรรูปสินค้าของชุมชนด้วย
พร้อมทั้ง เห็นชอบการติดตามการจัดสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะบ้านสำเร็จรูป (Knockdown) ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย โดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในลักษณะของบ้านสำเร็จรูป โดยมีหลักประกันที่มีลักษณะเป็นบ้านสำเร็จรูปที่ ธอส. สามารถรับเป็นหลักประกัน ซึ่งคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ธอส. กำหนด
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบ พืชเศรษฐกิจที่แปรรูปเป็นพลังงาน (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย) โดยกระทรวงพลังงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า โดยมียุทธศาสตร์ฯ ที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน ดังนี้ ยุทธศาสตร์อ้อยโรงงานและน้ำตาลทราย (2558-2569) ยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง (2558-2569) และยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558–2579 (AEDP 2015) โดยกำหนดเป้าหมายในปี 2579 ส่งเสริมการผลิตการใช้เอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวัน และส่งเสริมการผลิตการใช้ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตรต่อวัน
............................................................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
ที่มา: http://www.thaigov.go.th