แท็ก
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
กระทรวงอุตสาหกรรม
จังหวัดนนทบุรี
ทำเนียบรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
นายกรัฐมนตรี
รัฐบาลจัดงาน OTOP CITY ครั้งที่ 5 ผลิตภัณฑ์แห่งภูมิปัญญา...80 พรรษา เทิดไท้องค์ราชัน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-21 ธันวาคมนี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
วันนี้ เวลา 11.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY ครั้งที่ 5 “ผลิตภัณฑ์แห่งภูมิปัญญา...80 พรรษา เทิดไท้องค์ราชัน” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-21 ธันวาคม 2550 เวลา 10.00 —21.00 น.อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 และฮอลล์ 1-8 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี จัดโดย คณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมี นายปรีชา บุตรศรี อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางอรสา มั่นคงขันติวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนกลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) ร่วมแถลงข่าวด้วย
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดงาน OTOP CITY ครั้งที่ 5 “ผลิตภัณฑ์แห่งภูมิปัญญา...80 พรรษา เทิดไท้องค์ราชัน” เป็นการจัดงานเนื่องในวาระเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของประชาชนในภาคชนบทให้มีความเข้มแข็งและสามารถนำไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการนำรายได้กลับคืนมาสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องร่วมมือกันทำงานให้สอดคล้องกัน เริ่มจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหน่วยงานแรกที่เข้ามาทำการส่งเสริมให้ชาวบ้านในภาคชนบทเกิดการรวมตัว รวมกลุ่มกัน และส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดร่วมกัน เพื่อผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นให้ออกมามีคุณภาพทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์และคุณภาพ เมื่อได้ตัวผลิตภัณฑ์ออกมาแต่ละประเภทแล้วกระทรวงอุตสาหกรรมจะเข้าไปให้คำแนะนำ ส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องของการพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ ให้มีรูปแบบที่สวยงามแข็งแรงและสะท้อนความเป็นท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดที่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ซื้อ
จากนั้นกระทรวงพาณิชย์ จะเข้ามาดูแลในเรื่องของกระบวนการสรรหาตลาด เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านได้ผลิตออกมา โดยตลาดดังกล่าว จะเน้นหนักไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญเพราะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนชาวชนบทได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขจะตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ยา สมุนไพร ฯลฯ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน
นายปรีชา บุตรศรี อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ภายในงานดังกล่าวจะมีสินค้าจากชาวบ้านทั่วประเทศที่ผลิตจากภูมิปัญญาของคนในชุมชนมาวางขายมากกว่า 3,200 บูธ แยกเป็นบูธขายของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก มากกว่า 1,100 บูธ นอกจากนั้นในส่วนโอทอปชวนชิมมีร้านทั่วประเทศมากกว่า 900 บูธ ผ้าและเครื่องแต่งกาย 870 บูธ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 190 บูธ และเครื่องดื่ม 130 บูธ และการจัดนิทรรศการ “80 พรรษา...เทิดไท้องค์ราชัน” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา พร้อมกันนี้ตัวแทนชาวบ้านกว่า 60 ราย จะสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์ จากภูมิปัญญาชาวบ้านตลอดงาน โดยคัดเลือกหมู่บ้านโอทอปดีเด่นมานำเสนอให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น บ้านหัวนายูง จังหวัดเลย ที่โดดเด่นเรื่องศิลปวัฒนธรรมและการผลิตหัวผีตาโขน หรือบ้านเขาชัยสน ยกน้ำพุร้อนและหมู่บ้านแกะสลักหนังตะลุงมาให้ชม อีกทั้งยังจะพบกับการสาธิตกระบวนการผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างละเอียดทุกขั้นตอน เช่น การสาธิตการทำผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดขอนแก่น การลงลวดลายดาบของบ้านน้ำพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ และโซนจำหน่ายสินค้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นของพี่น้อง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการจัดกิจกรรม”ซื้อขาย จับคู่ สู่สากล” ให้ผู้ผลิตสินค้าโอทอปเปิดตลาดให้กว้างไกลยิ่งขึ้น โดยคัดเลือกผู้ผลิตสินค้าโอทอปที่มีผลิตภัณฑ์ดีเด่นและมีแนวโน้มว่าจะส่งออกได้มาจับคู่ทางธุรกิจ
นางอรสา มั่นคงขันติวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่ชาวบ้านในแต่ละชุมชนผลิตนั้น กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปส่งเสริมให้องค์ความรู้ในเรื่องของตัวผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการด้านการตลาด สำหรับกิจกรรมภายในงานครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จัดกิจกรรมสำคัญขึ้นหลายอย่าง อาทิ การจัดกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจ โดยจะเชิญผู้ซื้อสินค้าชาวต่างชาติให้เข้าไปเลือกสรรหาสินค้าที่ทางกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปทำการส่งเสริมและสร้างกระบวนการพัฒนาสินค้าให้กับชาวบ้านแล้วจนมีคุณภาพและมาตรฐานที่สวยงามเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อชาวต่างชาติ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 14 —17 ธันวาคม 2550 บริเวณฮอลล์ 1-8 นอกจากนี้ยังจะจัดนิทรรศการ นำผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่ประชาชนในภาคชนบทไปขายยังตลาดต่างประเทศ ทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในเรื่องของเทรนความต้องการของตลาดต่างประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วย เพื่อให้ชาวบ้านหรือผู้ประกอบการผลิตสินค้าให้ออกมาตรงกับความต้องการซึ่งจะนำรายได้กลับมาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในที่สุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY ครั้งที่ 5 “ผลิตภัณฑ์แห่งภูมิปัญญา...80 พรรษา เทิดไท้องค์ราชัน” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-21 ธันวาคม 2550 เวลา 10.00 —21.00 น.อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 และฮอลล์ 1-8 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี จัดโดย คณะอนุกรรมการบริหารงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมี นายปรีชา บุตรศรี อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางอรสา มั่นคงขันติวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนกลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) ร่วมแถลงข่าวด้วย
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดงาน OTOP CITY ครั้งที่ 5 “ผลิตภัณฑ์แห่งภูมิปัญญา...80 พรรษา เทิดไท้องค์ราชัน” เป็นการจัดงานเนื่องในวาระเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของประชาชนในภาคชนบทให้มีความเข้มแข็งและสามารถนำไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการนำรายได้กลับคืนมาสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องร่วมมือกันทำงานให้สอดคล้องกัน เริ่มจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหน่วยงานแรกที่เข้ามาทำการส่งเสริมให้ชาวบ้านในภาคชนบทเกิดการรวมตัว รวมกลุ่มกัน และส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดร่วมกัน เพื่อผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นให้ออกมามีคุณภาพทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์และคุณภาพ เมื่อได้ตัวผลิตภัณฑ์ออกมาแต่ละประเภทแล้วกระทรวงอุตสาหกรรมจะเข้าไปให้คำแนะนำ ส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องของการพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ ให้มีรูปแบบที่สวยงามแข็งแรงและสะท้อนความเป็นท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดที่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ซื้อ
จากนั้นกระทรวงพาณิชย์ จะเข้ามาดูแลในเรื่องของกระบวนการสรรหาตลาด เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านได้ผลิตออกมา โดยตลาดดังกล่าว จะเน้นหนักไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญเพราะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนชาวชนบทได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขจะตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ยา สมุนไพร ฯลฯ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน
นายปรีชา บุตรศรี อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ภายในงานดังกล่าวจะมีสินค้าจากชาวบ้านทั่วประเทศที่ผลิตจากภูมิปัญญาของคนในชุมชนมาวางขายมากกว่า 3,200 บูธ แยกเป็นบูธขายของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก มากกว่า 1,100 บูธ นอกจากนั้นในส่วนโอทอปชวนชิมมีร้านทั่วประเทศมากกว่า 900 บูธ ผ้าและเครื่องแต่งกาย 870 บูธ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 190 บูธ และเครื่องดื่ม 130 บูธ และการจัดนิทรรศการ “80 พรรษา...เทิดไท้องค์ราชัน” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา พร้อมกันนี้ตัวแทนชาวบ้านกว่า 60 ราย จะสาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์ จากภูมิปัญญาชาวบ้านตลอดงาน โดยคัดเลือกหมู่บ้านโอทอปดีเด่นมานำเสนอให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น บ้านหัวนายูง จังหวัดเลย ที่โดดเด่นเรื่องศิลปวัฒนธรรมและการผลิตหัวผีตาโขน หรือบ้านเขาชัยสน ยกน้ำพุร้อนและหมู่บ้านแกะสลักหนังตะลุงมาให้ชม อีกทั้งยังจะพบกับการสาธิตกระบวนการผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างละเอียดทุกขั้นตอน เช่น การสาธิตการทำผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดขอนแก่น การลงลวดลายดาบของบ้านน้ำพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ และโซนจำหน่ายสินค้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นของพี่น้อง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการจัดกิจกรรม”ซื้อขาย จับคู่ สู่สากล” ให้ผู้ผลิตสินค้าโอทอปเปิดตลาดให้กว้างไกลยิ่งขึ้น โดยคัดเลือกผู้ผลิตสินค้าโอทอปที่มีผลิตภัณฑ์ดีเด่นและมีแนวโน้มว่าจะส่งออกได้มาจับคู่ทางธุรกิจ
นางอรสา มั่นคงขันติวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่ชาวบ้านในแต่ละชุมชนผลิตนั้น กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปส่งเสริมให้องค์ความรู้ในเรื่องของตัวผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการด้านการตลาด สำหรับกิจกรรมภายในงานครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จัดกิจกรรมสำคัญขึ้นหลายอย่าง อาทิ การจัดกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจ โดยจะเชิญผู้ซื้อสินค้าชาวต่างชาติให้เข้าไปเลือกสรรหาสินค้าที่ทางกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าไปทำการส่งเสริมและสร้างกระบวนการพัฒนาสินค้าให้กับชาวบ้านแล้วจนมีคุณภาพและมาตรฐานที่สวยงามเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อชาวต่างชาติ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 14 —17 ธันวาคม 2550 บริเวณฮอลล์ 1-8 นอกจากนี้ยังจะจัดนิทรรศการ นำผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่ประชาชนในภาคชนบทไปขายยังตลาดต่างประเทศ ทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในเรื่องของเทรนความต้องการของตลาดต่างประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วย เพื่อให้ชาวบ้านหรือผู้ประกอบการผลิตสินค้าให้ออกมาตรงกับความต้องการซึ่งจะนำรายได้กลับมาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในที่สุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--