วันนี้ (10 ก.ค. 61) เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมระดับนโยบายในการแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ร่วมกับศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีบศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลักสูตรบริหารกิจการทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ก่อนการประชุม ประธานฯ ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าการทำการประมงผิดกฎหมาย (iuu) การปฏิรูปการประมงให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วนในการจัดระบบติดตามงาน ที่จะต้องมีผู้รับผิดชอบและข้อมูลต้องชัดเจน เช่น จำนวนเรือ จำนวนท่าเทียบเรือ การวิเคราะห์เป้าหมาย กระบวนการบังคับใช้กฎหมายปรับปรุงกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน รวมถึงการลดผลกระทบต่อชาวประมง โดยการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถปฏิบัติได้ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อลดดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ขยายความสัมพันธ์ และสร้างบทบาทในเวทีต่างประเทศ
สำหรับกรอบการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1 เรือถูกต้อง กองเรือประมงมีความชัดเจน ซึ่งเป็นข้อเสนอจากกลุ่มเรือประมงพื้นบ้านที่รัฐบาลต้องดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมของชาวประมงพื้นบ้าน เรือประมงพื้นบ้านทุกลำ อัตลักษณ์ที่ชัดเจนตามระบบสากล ทั้งนี้จะมีการขึ้นทะเบียนชาวประมงพื้นบ้านเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและชาวประมง เช่น การประสบภัยพิบัติ การเข้าถึงแหล่งทุน เช่นเดียวกับเกษตรกรผู้ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 2. แรงงานถูกต้อง มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีการวางระบบตรวจสอบและคุ้มครองแรงงานที่ศูนย์ PIPO อย่างชัดเจน อาทิ 1) แรงงานที่เข้าออกต้องตรงกัน ทั้งจำนวน และตัวตน 2) การจัดล่ามสัมภาษณ์แรงงาน เพื่อสืบสวนการเอารัดเอาเปรียบพฤติกรรมบังคับแรงงาน การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก 3) ออกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการตรวจแรงงานในงานประมงทะเล เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับใช้ให้เหมาะสม
สามารถปฏิบัติได้ ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างบนพื้นฐานความเป็นธรรมและความเท่าเทียม รวมทั้งมีการจัดเก็บข้อมูลแรงงานประมงด้วย IRIS SCAN จานวน 171,128 คน (เฉพาะในเรือประมง 58,322 คน) และการใช้เครื่อง IRIS SCAN ตรวจแรงงานที่ศูนย์ PIPO ตั้งแต่ 10 พฤษภาคม 2561
นอกจากนี้ จะมีการส่งเสริมการนำระบบแรงงานสัมพันธ์ในภาคประมงมาใช้พร้อมด้วย NGOs นักวิชาการ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของแรงงานประมงไทย และข้ามชาติ รวมทั้งสนับสนุนการทางานด้านคุ้มครองแรงงานกับภาคประชาสังคม NGOs เช่น LPN , STELLA MARIS ปัจจุบันผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับการเลื่อนอันดับ TIER 2 WATCHLIST เป็น TIER 2 พร้อมทั้งยกระดับศูนย์ VMS จากที่เคยทำหน้าที่ติดตามเรือประมง ให้พัฒนาเป็น ศูนย์ FMC ที่ควบคุมและเฝ้าระวังการทำการ ประมงทั้งระบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่การติดตาม วิเคราะห์พฤติกรรมเรือ และการบังคับใช้กฎหมาย ยกระดับความสามารถและประสิทธิภาพของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) จำนวน 30 ศูนย์ โดยนำระบบการตรวจเรือบนพื้นฐานความเสี่ยงมาใช้ ทำให้ศูนย์ PIPO สามารถตรวจเรือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เน้นการตรวจเรือในเชิงปริมาณทำให้ขาดประสิทธิภาพในการตรวจ
ปรับการตรวจของศูนย์ โดยจัดชุดตรวจให้สัมพันธ์กับปริมาณงานของแต่ละ PIPO จัดตั้งหน่วยติดตามและประเมินการทางานของ PIPO หรือ FIT (FlYING INSPECTION TEAM) เพื่อฝึกอบรม แนะแนวทางปฏิบัติของศูนย์ PIPO ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับ การปฏิบัติและวิถีชีวิตการทำประมง
สำหรับรูปแบบการทำงานที่ใช้และก้าวต่อไปเพื่อความยั่งยืน โดยการดำเนินการในทุกเรื่อง มีแผนงาน มีเป้าหมาย กรอบเวลาชัดเจน ประชุมติดตามงานทุกสัปดาห์ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ระดับนโยบายมุ่งไปสู่การทำประมงอย่างยั่งยืนเริ่ม การบริหารจัดการโครงการนาเรือประมงออกนอกระบบ เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงยั่งยืนจะดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับ กฎระเบียบต่าง ๆ และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนกับทุกภาคส่วน เพื่อระดมความคิดเห็นรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในมหาสมุทรของประเทศไทยในอนาคต
--------------------------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
ที่มา: http://www.thaigov.go.th