นายกรัฐมนตรีปราศรัยเนื่องในวันสหประชาชาติ ย้ำไทยมีนโยบายสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติ ทั้งในการป้องกันความขัดแย้งและการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งการสร้างสรรค์ให้พม่ามีสันติภาพและการพัฒนา
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวปราศรัยเนื่องในวันสหประชาชาติ วันที่ 24 ตุลาคม 2550 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดังนี้
พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย
วันที่ 24 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสหประชาชาติ ในนามของรัฐบาลไทย ผมขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมายังสำนักงานสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติในประเทศไทย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกท่านด้วยความจริงใจ
เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่สหรัฐอเมริกา เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยยึดมั่นที่จะปฏิรูปและพัฒนาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงวาระพิเศษว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผมได้กล่าวเน้นถึงการแก้ไขปัญหา โดยให้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพร้อมกันนั้น ยังได้เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาด รวมทั้งความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
การประชุมครั้งนี้ สหประชาชาติได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ซึ่งผมได้รับเกียรติให้เป็นประธานร่วมกับเจ้าชายอัลเบิร์ต แห่งราชรัฐโมนาโก และที่ประชุมได้เน้นถึงความสำคัญของการพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย
จากการที่ประเทศไทยได้ร่วมมือกับสหประชาชาติเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ก่อให้เกิดความมือระหว่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของไทยกับองค์กรยุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ และกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยด้วย
พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รัก
ประเทศไทยและสหประชาชาติมีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ที่คล้ายคลึงและสอดคล้องกับ คือเน้นการพัฒนาที่ชุมชนโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการเติบโตอย่างเท่าเทียมกันและการพัมนาที่เริ่มจากภายในประเทศ โดยยึดแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคนมาเป็นหัวข้อหลักของรายงานการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2550 ทำให้แนวทางดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ให้แก่สมาชิกของสหประชาชาติอย่างทั่วถึง
ประเทศไทยเรามีนโยบายสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติ ทั้งในการป้องกันความขัดแย้งและการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งบทบาทของสหประชาชาติในการช่วยสร้างสรรค์ให้พม่ามีสันติภาพและการพัฒนา นอกจากนี้ ประเทศไทยยังให้ความร่วมมือในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในภูมิภาคต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ล่าสุดนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ส่งทหารไทยจำนวน 1 กองพันทหารราบผสม เข้าร่วมภารกิจสันติภาพผสมระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในประเทศซูดาน ทำให้สถานะและบทบาทของไทยในด้านการรักษาสันติภาพเป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
ตลอดระยะเวลา 62 ปีของการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติประเทศไทยได้ยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิบัติตามพันธกรณี ตลอดจนรักษาความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีต่อสหประชาชาติด้วยดีตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ที่รักสงบในโอกาสที่วันสหประชาชาติได้เวียนมาบรรจบครบรอบปีอีกวาระหนึ่งในวันนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะแสดงให้สหประชาชาติและนานาประเทศมีความมั่นใจยิ่งขึ้นว่า ประเทศไทยมุ่งมั่นจะทำงานร่วมกับสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความสงบสุข และความมั่นคง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาคมโลก และประชาชนชาวไทยต่อไป
สวัสดีครับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวปราศรัยเนื่องในวันสหประชาชาติ วันที่ 24 ตุลาคม 2550 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดังนี้
พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย
วันที่ 24 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสหประชาชาติ ในนามของรัฐบาลไทย ผมขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมายังสำนักงานสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติในประเทศไทย ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทุกท่านด้วยความจริงใจ
เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่สหรัฐอเมริกา เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยยึดมั่นที่จะปฏิรูปและพัฒนาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงวาระพิเศษว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งผมได้กล่าวเน้นถึงการแก้ไขปัญหา โดยให้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพร้อมกันนั้น ยังได้เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาด รวมทั้งความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
การประชุมครั้งนี้ สหประชาชาติได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยเรื่องบทบาทของเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ซึ่งผมได้รับเกียรติให้เป็นประธานร่วมกับเจ้าชายอัลเบิร์ต แห่งราชรัฐโมนาโก และที่ประชุมได้เน้นถึงความสำคัญของการพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย
จากการที่ประเทศไทยได้ร่วมมือกับสหประชาชาติเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ก่อให้เกิดความมือระหว่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของไทยกับองค์กรยุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ และกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยด้วย
พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รัก
ประเทศไทยและสหประชาชาติมีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ที่คล้ายคลึงและสอดคล้องกับ คือเน้นการพัฒนาที่ชุมชนโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการเติบโตอย่างเท่าเทียมกันและการพัมนาที่เริ่มจากภายในประเทศ โดยยึดแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคนมาเป็นหัวข้อหลักของรายงานการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2550 ทำให้แนวทางดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ให้แก่สมาชิกของสหประชาชาติอย่างทั่วถึง
ประเทศไทยเรามีนโยบายสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติ ทั้งในการป้องกันความขัดแย้งและการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งบทบาทของสหประชาชาติในการช่วยสร้างสรรค์ให้พม่ามีสันติภาพและการพัฒนา นอกจากนี้ ประเทศไทยยังให้ความร่วมมือในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในภูมิภาคต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ล่าสุดนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ส่งทหารไทยจำนวน 1 กองพันทหารราบผสม เข้าร่วมภารกิจสันติภาพผสมระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในประเทศซูดาน ทำให้สถานะและบทบาทของไทยในด้านการรักษาสันติภาพเป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
ตลอดระยะเวลา 62 ปีของการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติประเทศไทยได้ยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิบัติตามพันธกรณี ตลอดจนรักษาความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีต่อสหประชาชาติด้วยดีตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ที่รักสงบในโอกาสที่วันสหประชาชาติได้เวียนมาบรรจบครบรอบปีอีกวาระหนึ่งในวันนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะแสดงให้สหประชาชาติและนานาประเทศมีความมั่นใจยิ่งขึ้นว่า ประเทศไทยมุ่งมั่นจะทำงานร่วมกับสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ความสงบสุข และความมั่นคง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาคมโลก และประชาชนชาวไทยต่อไป
สวัสดีครับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--