นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือสื่อมวลชนช่วยกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งให้ประชาชนทราบ พร้อมให้ช่วยกันสอดส่องดูแลแจ้งเบาะแสหากมีการทำผิดกฎหมาย
เมื่อเวลา 10.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงผลการสำรวจของเอแบคโพลที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าวันที่ 23 ธันวาคมเป็นวันเลือกตั้ง ว่า คงจะต้องเร่งรัดดำเนินการกันต่อไป ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาจากการที่ไปลงพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้เร่งรัดขอความร่วมมือจากสื่อในท้องถิ่นและวิทยุชุมชนต่างๆ เพื่อขอให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคการเมืองก็ได้ดำเนินการกันแล้ว ก็เป็นความร่วมมือกันของทุกฝ่าย คิดว่าไม่น่าเป็นปัญหาสำคัญ ส่วนจะส่งผลให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิน้อยเกินไปหรือไม่นั้น ยังมีเวลาและคิดว่าเราสามารถดำเนินการได้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกฎกติกาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่หลายฝ่ายโดยเฉพาะพรรคการเมืองระบุว่าเข้มงวดเกินไป จะส่งผลอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรที่ทำให้เกิดปัญหามากมาย กฎกติกาที่มีก็ค่อนข้างเท่าเทียมกัน แม้พรรคการเมืองอาจจะมองว่าค่อนข้างจะเข้มงวด ทาง กกต. ก็รับฟังอยู่แล้ว และคิดว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่กติกาเข้มงวดเช่นนี้จะทำให้ระบบหัวคะแนนกลับมาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องของหัวคะแนนถือเป็นการดำเนินการตามปกติ ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าทำผิดกฎหมายก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนช่วยกันสอดส่อง แจ้งเบาะแสให้กับผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามถึงการที่มีเอกสารลับจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ออกมาเป็นระยะๆ เพื่อสกัดกั้นพรรคการเมืองบางพรรค จะส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของเอกสารดังกล่าวยังไม่แน่ใจ แต่ได้คุยกับพลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้วว่า ขอให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารจริงหรือไม่ อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่าได้รับเอกสารที่ถ่ายสำเนาก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเอกสารที่เป็นตัวจริง ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวนั้นได้มาจากงานด้านการข่าวที่มีการติดตามและส่งมาให้ ซึ่งยังไม่ทราบว่าเอกสารที่ได้รับเป็นเอกสารฉบับเดียวกับที่พรรคพลังประชาชนออกมาเปิดเผย เท่าที่ได้รับมาและที่เห็นอาจยังไม่ครบ อย่างไรก็ตาม แนวความคิดตามที่ได้อ่านเอกสารที่ได้รับมานั้น ก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ทาง คมช. ได้ดำเนินการมาในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา เป็นแนวคิดและแนวทางเดิม ๆ ที่ได้พูดมา 1 ปีแล้ว คงไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่ คิดว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ในส่วนของ คมช.ทั้ง พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข รักษาการประธาน คมช. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และพลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ให้สัมภาษณ์ไปแล้ว ซึ่งคิดว่าทุกคนตระหนักดีถึงบทบาทของทหารว่า ควรจะระมัดระวังในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า เอกสารที่ได้รับมีใบปะหน้าที่ลงชื่อของพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. และ คมช.ในขณะนั้น หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มี ส่วนที่เป็นรายชื่อนั้นมาทีหลัง คงต้องขอเวลาให้ทาง คมช.ชี้แจงในส่วนดังกล่าวก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตกลงว่าได้พูดคุยกับทางรักษาการประธาน คมช.ในเรื่องของเอกสารลับหรือยัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้พูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่ยังไม่ได้พบกับ พลอากาศเอก ชลิต ซึ่งการพูดคุยกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็พูดถึงตัวเอกสารและที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร คงต้องรอการชี้แจงจากทาง คมช. ก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมาแล้ว แต่ทาง คมช.ยังคงดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้ คมช. คงไม่ได้ดำเนินการอะไรแล้ว เพราะเป็นหน้าที่ของ กกต.ดำเนินการอยู่ ในส่วนอื่น ๆ ก็ต้องวางตัวเป็นกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่พรรคพลังประชาชนปล่อยเอกสารลับของ คมช.ออกมาเป็นระยะๆ เมื่อผลการเลือกตั้งออกมากลัวหรือไม่ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กกต.จะเป็นผู้ที่ดูแลในส่วนเหล่านี้ ถือว่าความรับผิดชอบอยู่ที่ กกต. รัฐบาลมีหน้าที่เข้าไปช่วยสนับสนุนอย่างที่เรียนไว้ รัฐบาลก็ทำหน้าที่ตามที่ กกต.กำหนดให้ แม้แต่มติของคณะรัฐมนตรีก็ให้การสนับสนุนการทำงานของ กกต. ดังนั้น เราต้องให้ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของ กกต.
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังการเลือกตั้งหากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งและได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทางรัฐบาลและ คมช. ยอมรับได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ประชาชนตัดสิน เราต้องยอมรับในสิ่งที่ประชาชนเลือกและตัดสิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้เกิดความสับสนกรณีที่มีการส่งทหารลงไปในพื้นที่และอ้างว่าไปเผยแพร่ประชาธิปไตย แต่พรรคพลังประชาชนกลับบอกว่าเป็นการลงพื้นที่เพื่อสกัดกั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทหารก็ทำหน้าที่ของทหารตามปกติ ทหารมีหน้าที่ดูแลพื้นที่บริเวณแนวชายแดน การจะไปแนะนำชี้แจงในเรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ถ้าไม่ได้ทำในลักษณะที่ผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลยืนยันได้หรือไม่ว่าในช่วงการเลือกตั้งจะไม่ส่งทหารลงไปในพื้นที่ต่าง ๆ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แน่นอน เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 10.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงผลการสำรวจของเอแบคโพลที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าวันที่ 23 ธันวาคมเป็นวันเลือกตั้ง ว่า คงจะต้องเร่งรัดดำเนินการกันต่อไป ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาจากการที่ไปลงพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้เร่งรัดขอความร่วมมือจากสื่อในท้องถิ่นและวิทยุชุมชนต่างๆ เพื่อขอให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคการเมืองก็ได้ดำเนินการกันแล้ว ก็เป็นความร่วมมือกันของทุกฝ่าย คิดว่าไม่น่าเป็นปัญหาสำคัญ ส่วนจะส่งผลให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิน้อยเกินไปหรือไม่นั้น ยังมีเวลาและคิดว่าเราสามารถดำเนินการได้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกฎกติกาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่หลายฝ่ายโดยเฉพาะพรรคการเมืองระบุว่าเข้มงวดเกินไป จะส่งผลอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรที่ทำให้เกิดปัญหามากมาย กฎกติกาที่มีก็ค่อนข้างเท่าเทียมกัน แม้พรรคการเมืองอาจจะมองว่าค่อนข้างจะเข้มงวด ทาง กกต. ก็รับฟังอยู่แล้ว และคิดว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่กติกาเข้มงวดเช่นนี้จะทำให้ระบบหัวคะแนนกลับมาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องของหัวคะแนนถือเป็นการดำเนินการตามปกติ ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าทำผิดกฎหมายก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนช่วยกันสอดส่อง แจ้งเบาะแสให้กับผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามถึงการที่มีเอกสารลับจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ออกมาเป็นระยะๆ เพื่อสกัดกั้นพรรคการเมืองบางพรรค จะส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของเอกสารดังกล่าวยังไม่แน่ใจ แต่ได้คุยกับพลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้วว่า ขอให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารจริงหรือไม่ อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่าได้รับเอกสารที่ถ่ายสำเนาก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเอกสารที่เป็นตัวจริง ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวนั้นได้มาจากงานด้านการข่าวที่มีการติดตามและส่งมาให้ ซึ่งยังไม่ทราบว่าเอกสารที่ได้รับเป็นเอกสารฉบับเดียวกับที่พรรคพลังประชาชนออกมาเปิดเผย เท่าที่ได้รับมาและที่เห็นอาจยังไม่ครบ อย่างไรก็ตาม แนวความคิดตามที่ได้อ่านเอกสารที่ได้รับมานั้น ก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ทาง คมช. ได้ดำเนินการมาในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา เป็นแนวคิดและแนวทางเดิม ๆ ที่ได้พูดมา 1 ปีแล้ว คงไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่ คิดว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ในส่วนของ คมช.ทั้ง พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข รักษาการประธาน คมช. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และพลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ให้สัมภาษณ์ไปแล้ว ซึ่งคิดว่าทุกคนตระหนักดีถึงบทบาทของทหารว่า ควรจะระมัดระวังในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า เอกสารที่ได้รับมีใบปะหน้าที่ลงชื่อของพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. และ คมช.ในขณะนั้น หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มี ส่วนที่เป็นรายชื่อนั้นมาทีหลัง คงต้องขอเวลาให้ทาง คมช.ชี้แจงในส่วนดังกล่าวก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตกลงว่าได้พูดคุยกับทางรักษาการประธาน คมช.ในเรื่องของเอกสารลับหรือยัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้พูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่ยังไม่ได้พบกับ พลอากาศเอก ชลิต ซึ่งการพูดคุยกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็พูดถึงตัวเอกสารและที่มาที่ไปว่าเป็นอย่างไร คงต้องรอการชี้แจงจากทาง คมช. ก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมาแล้ว แต่ทาง คมช.ยังคงดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้ คมช. คงไม่ได้ดำเนินการอะไรแล้ว เพราะเป็นหน้าที่ของ กกต.ดำเนินการอยู่ ในส่วนอื่น ๆ ก็ต้องวางตัวเป็นกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่พรรคพลังประชาชนปล่อยเอกสารลับของ คมช.ออกมาเป็นระยะๆ เมื่อผลการเลือกตั้งออกมากลัวหรือไม่ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กกต.จะเป็นผู้ที่ดูแลในส่วนเหล่านี้ ถือว่าความรับผิดชอบอยู่ที่ กกต. รัฐบาลมีหน้าที่เข้าไปช่วยสนับสนุนอย่างที่เรียนไว้ รัฐบาลก็ทำหน้าที่ตามที่ กกต.กำหนดให้ แม้แต่มติของคณะรัฐมนตรีก็ให้การสนับสนุนการทำงานของ กกต. ดังนั้น เราต้องให้ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของ กกต.
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังการเลือกตั้งหากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งและได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทางรัฐบาลและ คมช. ยอมรับได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ประชาชนตัดสิน เราต้องยอมรับในสิ่งที่ประชาชนเลือกและตัดสิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้เกิดความสับสนกรณีที่มีการส่งทหารลงไปในพื้นที่และอ้างว่าไปเผยแพร่ประชาธิปไตย แต่พรรคพลังประชาชนกลับบอกว่าเป็นการลงพื้นที่เพื่อสกัดกั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทหารก็ทำหน้าที่ของทหารตามปกติ ทหารมีหน้าที่ดูแลพื้นที่บริเวณแนวชายแดน การจะไปแนะนำชี้แจงในเรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ถ้าไม่ได้ทำในลักษณะที่ผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลยืนยันได้หรือไม่ว่าในช่วงการเลือกตั้งจะไม่ส่งทหารลงไปในพื้นที่ต่าง ๆ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แน่นอน เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--