นายกรัฐมนตรีระบุการแก้ปัญหาของ รฟท. ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ส่วนปัญหาการหยุดเดินรถทางรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้พยายามลงไปทำความเข้าใจกับพนักงานรฟท.ให้มากขึ้น
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หยุดเดินรถ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรถไฟ ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ และไม่ต้องการให้มีการแปรรูป รฟท. ว่า ได้พูดคุยกับพลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้วว่า จะต้องมีการเตรียมตัว เราต้องมองทั้ง 2 ด้าน ส่วนแรกเป็นเรื่องของสหภาพการรถไฟ ซึ่งแน่นอนว่าเขาต้องดูแลผลประโยชน์ของตัวเอง แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องดูว่าการบริหารงานในลักษณะที่ต้องมีความสมดุลและความพอดีที่ทาง รฟท. จะต้องพูดกับทางสหภาพฯ ว่าจุดไหนที่จะมอบให้ทางภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ และทางสหภาพฯ ควรยอมแค่ไหน อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะต้องเจรจากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องให้เอกชนเข้ามาบริหารงานทั้งหมด เพียงแต่เราจะต้องพิจารณาว่าส่วนใดบ้างที่จะดำเนินการเรื่องนั้นได้ เช่น เรื่องการขนส่ง ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการวางแผนว่าจะมีจุดที่จะรับตู้ทั้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จุดตรงนี้เองภาคเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง เป็นเรื่องที่ควรเจรจากัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองกันว่าผู้บริหารของ รฟท.ทำความเข้าใจกับพนักงานน้อยเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องทำความเข้าใจกันมากขึ้น เพราะขณะนี้ถือว่าอยู่ในขั้นเบื้องต้นเท่านั้น เพียงแต่เราต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพราะ รฟท. มีหนี้สินอยู่เป็นจำนวนมากพอสมควร ดังนั้น การจะทำอะไรก็ต้องดูในทุก ๆ ด้านว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้การบริหารเกิดประโยชน์มากที่สุด ขณะนี้เราต้องพยายามปรับในทุก ๆ ด้าน แต่ปัญหาคือยังไม่มีผู้ที่มาสมัครเป็นผู้ว่าการ รฟท. ซึ่งถือเป็นปัญหาการบริหารงานภายในองค์กรที่จะต้องหาทางแก้ไข อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องหนี้สินและปัญหาการบริหารงาน ซึ่งกระทรวงคมนาคมกำลังพยายามแก้ไขเป็นเรื่อง ๆ อยู่ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการหยุดเดินรถในเบื้องต้น นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีหน้าที่ดูแลได้พยายามลงไปทำความเข้าใจให้มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางสหภาพฯ เรียกร้องให้มีการแก้ไขเนื้อหาในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความจริงไม่เกี่ยวข้องกัน และได้มีการลงนามกันไปแล้ว คงไม่มีผลกระทบกับ รฟท. สำหรับข้อเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.การรถไฟนั้น ก็สามารถที่จะพูดคุยกันได้ และสามารถปรับแก้ได้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นเรื่องภายในของเราเอง สามารถที่จะดำเนินการได้ หากมีข้อมูลที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขก็สามารถพูดจากันได้อยู่แล้ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หยุดเดินรถ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรถไฟ ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ และไม่ต้องการให้มีการแปรรูป รฟท. ว่า ได้พูดคุยกับพลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้วว่า จะต้องมีการเตรียมตัว เราต้องมองทั้ง 2 ด้าน ส่วนแรกเป็นเรื่องของสหภาพการรถไฟ ซึ่งแน่นอนว่าเขาต้องดูแลผลประโยชน์ของตัวเอง แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องดูว่าการบริหารงานในลักษณะที่ต้องมีความสมดุลและความพอดีที่ทาง รฟท. จะต้องพูดกับทางสหภาพฯ ว่าจุดไหนที่จะมอบให้ทางภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ และทางสหภาพฯ ควรยอมแค่ไหน อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะต้องเจรจากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องให้เอกชนเข้ามาบริหารงานทั้งหมด เพียงแต่เราจะต้องพิจารณาว่าส่วนใดบ้างที่จะดำเนินการเรื่องนั้นได้ เช่น เรื่องการขนส่ง ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการวางแผนว่าจะมีจุดที่จะรับตู้ทั้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จุดตรงนี้เองภาคเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง เป็นเรื่องที่ควรเจรจากัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองกันว่าผู้บริหารของ รฟท.ทำความเข้าใจกับพนักงานน้อยเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องทำความเข้าใจกันมากขึ้น เพราะขณะนี้ถือว่าอยู่ในขั้นเบื้องต้นเท่านั้น เพียงแต่เราต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพราะ รฟท. มีหนี้สินอยู่เป็นจำนวนมากพอสมควร ดังนั้น การจะทำอะไรก็ต้องดูในทุก ๆ ด้านว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้การบริหารเกิดประโยชน์มากที่สุด ขณะนี้เราต้องพยายามปรับในทุก ๆ ด้าน แต่ปัญหาคือยังไม่มีผู้ที่มาสมัครเป็นผู้ว่าการ รฟท. ซึ่งถือเป็นปัญหาการบริหารงานภายในองค์กรที่จะต้องหาทางแก้ไข อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องหนี้สินและปัญหาการบริหารงาน ซึ่งกระทรวงคมนาคมกำลังพยายามแก้ไขเป็นเรื่อง ๆ อยู่ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการหยุดเดินรถในเบื้องต้น นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีหน้าที่ดูแลได้พยายามลงไปทำความเข้าใจให้มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางสหภาพฯ เรียกร้องให้มีการแก้ไขเนื้อหาในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความจริงไม่เกี่ยวข้องกัน และได้มีการลงนามกันไปแล้ว คงไม่มีผลกระทบกับ รฟท. สำหรับข้อเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.การรถไฟนั้น ก็สามารถที่จะพูดคุยกันได้ และสามารถปรับแก้ได้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นเรื่องภายในของเราเอง สามารถที่จะดำเนินการได้ หากมีข้อมูลที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขก็สามารถพูดจากันได้อยู่แล้ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--