พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “ขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ” และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกับการสร้างสุขภาวะ” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมแอสแคป ฮอลล์ อาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “ขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ” และเป็นองค์ปาฐกพิเศษ เรื่อง “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกับการสร้างสุขภาวะ” โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วประเทศและจากองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนทูตานุทูตจากประเทศต่าง ๆ รวมกว่า 1,400 คนจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันออกแบบระบบการทำงานภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2550
นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการจัดงานขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่มีการยกร่างอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2550 โดยการสนับสนุนของรัฐบาลปัจจุบัน ในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีองค์ประกอบมาจากทั้งสามฝ่ายคือฝ่ายการเมือง ฝ่ายสังคมและฝ่ายวิชาการและวิชาชีพ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่สำคัญ 5 ประการคือ 1. จัดทำธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ 2. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น 3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย 4. ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาในประเด็นด้านสุขภาพต่อคณะรัฐมนตรี และ 5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบายสาธารณะ คณะกรรมการจัดงานได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อเป็นการเตรียมระบบและกลไกการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการทำงานทางด้านวิชาการเชื่อมประสานเข้ากับการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม ตามยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา จึงกำหนดให้มีการจัดงาน “ขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ” ในครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกลไกในด้านต่าง ๆ คือ ในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ในการจัดและสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ ในการสร้างและการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ การจัดสมัชชาสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาระสำคัญและแนวทางการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีเปิดงาน “ขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ” และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกับการสร้างสุขภาวะ” สรุปสาระสำคัญว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความชื่นชมที่พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีคนจำนวนมากได้ช่วยกันระดมความคิดและระดมการทำงานทางวิชาการ ยกร่างกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ในปีนี้ โดยที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเป็นฉบับแรกของปี 2550 ซึ่งแม้ว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 7 ปี แต่ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ และนายกรัฐมนตรีก็รู้สึกยินดีในฐานะของรัฐบาลที่ได้มีส่วนร่วมผลักดันพระราชบัญญัติฉบับนี้
“ ใครก็ตามหากได้ติดตามและศึกษาพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติอย่างใกล้ชิด ก็จะทราบว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ใช่เป็นกฎหมายทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไป แต่สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือการออกแบบเครื่องมือใหม่ให้กับสังคมไทย ดังที่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ท่านเรียกว่าเป็น “นวัตกรรมทางสังคม” และสุขภาพตามความหมายของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องการเจ็บไข้ ได้ป่วย เรื่องมดหมอหยูกยา หรือเรื่องการแพทย์การสาธารณสุขตามความหมายเดิม ๆ แต่หมายถึงสุขภาวะที่เป็นองค์รวมทั้งของบุคคลและของสังคม และครอบคลุมทั้งมิติด้านกาย ใจ และสังคม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฉบับนี้ ถือว่าเป็นเครื่องมือของทุกฝ่ายในสังคม สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาวะของคนไทยและสังคมไทย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติมีการกำหนดเครื่องมือใหม่หลายอย่าง เช่น การให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นกลไกรวมตัวแทนของภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ตัวแทนภาควิชาการ วิชาชีพ และตัวแทนภาคประชาชน เป็น 3 ประสาน เพื่อร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะที่มีผลดีต่อสุขภาพหรือสุขภาวะ และช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะดี ๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยไม่รอให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากการมองเห็นว่าการสร้างสุขภาพหรือสุขภาวะให้เกิดขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเป็นกัลยาณมิตร จึงจะประสบผลสำเร็จได้ดี ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และยินดีสนับสนุนการทำงานตามแนวทางเช่นนี้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดให้สนับสนุนการจัดประชุมสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นและสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เป็นกระบวนการหรือเวทีของทั้ง 3 ฝ่ายได้เข้ามาทำงานด้วยกัน โดยเน้นการแก้ปัญหาที่มีทางออก ที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะทำให้เกิดกลไกของการมีส่วนร่วมตามวิถีทางของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่เราควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดขึ้น
“ ผมได้ทราบว่ามีการทดลองจัดสมัชชาสุขภาพระดับต่าง ๆ มา 4 - 5 ปีแล้ว และเมื่อปี 2549 ก็เคยจัดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่จะนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน แสดงให้เห็นว่าสมัชชาสุขภาพได้ทำงานไปไกลกว่าเรื่องการแพทย์และสาธารณสุข หรือการเจ็บไข้ได้ป่วย คือไปถึงเรื่องการขับเคลื่อนสร้างสังคมสุขภาวะร่วมกัน และที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของกลไกในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่ทำให้มองเห็นแนวคิด แนวทางใหม่ ๆ ในการทำให้เกิดสุขภาวะ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุมในวันนี้นอกจากจะเป็นบรรยากาศที่ดีมากของการเริ่มต้นทำงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนงานช่วง 4 ปี คือ พ.ศ. 2551 — 2554 ไปแล้ว ก็ยังเป็นการเริ่มวางระบบกลไกจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ที่พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ โดยเมื่อทำเสร็จแล้วจะได้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยเป็นฉบับแรก ซึ่งธรรมนูญนี้จะกำหนดกรอบทิศทางและแนวทางในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศต่อไป ดังนั้นการมาประชุมในวันนี้ จึงเป็นการมาช่วยกันคิดงานที่สำคัญ และผู้ที่มาร่วมงานก็มีที่มาหลากหลาย ก็ยิ่งจะทำให้การประชุมเกิดประโยชน์และสำเร็จเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวฝากถึงหลักคิดที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาวะของคนและของสังคมว่า ไม่อยากให้ทิ้งแนวคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นทั้งปรัชญาในการดำรงชีวิต และปรัชญาในการพัฒนาที่จะทำให้ทั้งบุคคลและสังคมเกิดสุขภาพหรือสุขภาวะได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากสุขภาพหรือสุขภาวะนั้นจะเกิดขึ้นได้จริง ทุกอย่างต้องวางอยู่บนความพอดีและพอเพียงทั้งการกิน อยู่ การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสายกลาง สังคมจะมีสุขภาวะได้ก็ต้องพัฒนาด้วยหลักความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันทางสังคมที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ก่อนพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีได้ชมการแสดง “ร้อยเรียงเรื่องราวการปฏิรูประบบสุขภาพ สู่ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ” ผ่านละครเพลง โดยสโมสรผึ้งมหัศจรรย์ สำหรับการประชุมเวทีขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 2 พฤศจิกายน 2550 เป็นการทดลองจัดในรูปแบบกึ่งสมัชชาสุขภาพโดยเชิญตัวแทนจังหวัดซึ่งประกอบด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด พัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด และผู้แทนภาคประชาชน ตัวแทนเครือข่ายภาคีทั้งวิชาการและวิชาชีพ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาคการเมืองและภาคราชการ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ และทูตานุทูตต่าง ๆ รวมทั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 1,400 คน เป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดระบบและกลไกทำงานสำคัญ ๆ 4 เรื่อง คือ การจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ การจัดสมัชชาสุขภาพ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การจัดการความรู้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและใช้เป็นหลักในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมแอสแคป ฮอลล์ อาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “ขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ” และเป็นองค์ปาฐกพิเศษ เรื่อง “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกับการสร้างสุขภาวะ” โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทั่วประเทศและจากองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนทูตานุทูตจากประเทศต่าง ๆ รวมกว่า 1,400 คนจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันออกแบบระบบการทำงานภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2550
นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการจัดงานขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่มีการยกร่างอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2550 โดยการสนับสนุนของรัฐบาลปัจจุบัน ในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีองค์ประกอบมาจากทั้งสามฝ่ายคือฝ่ายการเมือง ฝ่ายสังคมและฝ่ายวิชาการและวิชาชีพ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่สำคัญ 5 ประการคือ 1. จัดทำธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ 2. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น 3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย 4. ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาในประเด็นด้านสุขภาพต่อคณะรัฐมนตรี และ 5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบายสาธารณะ คณะกรรมการจัดงานได้พิจารณาเห็นว่าเพื่อเป็นการเตรียมระบบและกลไกการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการทำงานทางด้านวิชาการเชื่อมประสานเข้ากับการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม ตามยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา จึงกำหนดให้มีการจัดงาน “ขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ” ในครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกลไกในด้านต่าง ๆ คือ ในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ในการจัดและสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ ในการสร้างและการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ การจัดสมัชชาสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาระสำคัญและแนวทางการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีเปิดงาน “ขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ” และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกับการสร้างสุขภาวะ” สรุปสาระสำคัญว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความชื่นชมที่พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีคนจำนวนมากได้ช่วยกันระดมความคิดและระดมการทำงานทางวิชาการ ยกร่างกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ในปีนี้ โดยที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเป็นฉบับแรกของปี 2550 ซึ่งแม้ว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 7 ปี แต่ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ และนายกรัฐมนตรีก็รู้สึกยินดีในฐานะของรัฐบาลที่ได้มีส่วนร่วมผลักดันพระราชบัญญัติฉบับนี้
“ ใครก็ตามหากได้ติดตามและศึกษาพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติอย่างใกล้ชิด ก็จะทราบว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ใช่เป็นกฎหมายทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไป แต่สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือการออกแบบเครื่องมือใหม่ให้กับสังคมไทย ดังที่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ท่านเรียกว่าเป็น “นวัตกรรมทางสังคม” และสุขภาพตามความหมายของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องการเจ็บไข้ ได้ป่วย เรื่องมดหมอหยูกยา หรือเรื่องการแพทย์การสาธารณสุขตามความหมายเดิม ๆ แต่หมายถึงสุขภาวะที่เป็นองค์รวมทั้งของบุคคลและของสังคม และครอบคลุมทั้งมิติด้านกาย ใจ และสังคม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฉบับนี้ ถือว่าเป็นเครื่องมือของทุกฝ่ายในสังคม สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาวะของคนไทยและสังคมไทย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติมีการกำหนดเครื่องมือใหม่หลายอย่าง เช่น การให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นกลไกรวมตัวแทนของภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ตัวแทนภาควิชาการ วิชาชีพ และตัวแทนภาคประชาชน เป็น 3 ประสาน เพื่อร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะที่มีผลดีต่อสุขภาพหรือสุขภาวะ และช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะดี ๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยไม่รอให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากการมองเห็นว่าการสร้างสุขภาพหรือสุขภาวะให้เกิดขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเป็นกัลยาณมิตร จึงจะประสบผลสำเร็จได้ดี ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และยินดีสนับสนุนการทำงานตามแนวทางเช่นนี้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดให้สนับสนุนการจัดประชุมสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นและสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เป็นกระบวนการหรือเวทีของทั้ง 3 ฝ่ายได้เข้ามาทำงานด้วยกัน โดยเน้นการแก้ปัญหาที่มีทางออก ที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะจะทำให้เกิดกลไกของการมีส่วนร่วมตามวิถีทางของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่เราควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดขึ้น
“ ผมได้ทราบว่ามีการทดลองจัดสมัชชาสุขภาพระดับต่าง ๆ มา 4 - 5 ปีแล้ว และเมื่อปี 2549 ก็เคยจัดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่จะนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน แสดงให้เห็นว่าสมัชชาสุขภาพได้ทำงานไปไกลกว่าเรื่องการแพทย์และสาธารณสุข หรือการเจ็บไข้ได้ป่วย คือไปถึงเรื่องการขับเคลื่อนสร้างสังคมสุขภาวะร่วมกัน และที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของกลไกในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่ทำให้มองเห็นแนวคิด แนวทางใหม่ ๆ ในการทำให้เกิดสุขภาวะ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุมในวันนี้นอกจากจะเป็นบรรยากาศที่ดีมากของการเริ่มต้นทำงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนงานช่วง 4 ปี คือ พ.ศ. 2551 — 2554 ไปแล้ว ก็ยังเป็นการเริ่มวางระบบกลไกจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ที่พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ โดยเมื่อทำเสร็จแล้วจะได้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยเป็นฉบับแรก ซึ่งธรรมนูญนี้จะกำหนดกรอบทิศทางและแนวทางในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศต่อไป ดังนั้นการมาประชุมในวันนี้ จึงเป็นการมาช่วยกันคิดงานที่สำคัญ และผู้ที่มาร่วมงานก็มีที่มาหลากหลาย ก็ยิ่งจะทำให้การประชุมเกิดประโยชน์และสำเร็จเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวฝากถึงหลักคิดที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาวะของคนและของสังคมว่า ไม่อยากให้ทิ้งแนวคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นทั้งปรัชญาในการดำรงชีวิต และปรัชญาในการพัฒนาที่จะทำให้ทั้งบุคคลและสังคมเกิดสุขภาพหรือสุขภาวะได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากสุขภาพหรือสุขภาวะนั้นจะเกิดขึ้นได้จริง ทุกอย่างต้องวางอยู่บนความพอดีและพอเพียงทั้งการกิน อยู่ การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสายกลาง สังคมจะมีสุขภาวะได้ก็ต้องพัฒนาด้วยหลักความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันทางสังคมที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ก่อนพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรีได้ชมการแสดง “ร้อยเรียงเรื่องราวการปฏิรูประบบสุขภาพ สู่ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ” ผ่านละครเพลง โดยสโมสรผึ้งมหัศจรรย์ สำหรับการประชุมเวทีขับเคลื่อนและร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 2 พฤศจิกายน 2550 เป็นการทดลองจัดในรูปแบบกึ่งสมัชชาสุขภาพโดยเชิญตัวแทนจังหวัดซึ่งประกอบด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด พัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด และผู้แทนภาคประชาชน ตัวแทนเครือข่ายภาคีทั้งวิชาการและวิชาชีพ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาคการเมืองและภาคราชการ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ และทูตานุทูตต่าง ๆ รวมทั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 1,400 คน เป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดระบบและกลไกทำงานสำคัญ ๆ 4 เรื่อง คือ การจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ การจัดสมัชชาสุขภาพ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การจัดการความรู้เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและใช้เป็นหลักในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--