นายกรัฐมนตรีระบุการจะให้วันที่ 24 ธันวาคมเป็นวันหยุดราชการ ต้องหารือกับ ครม. ก่อน แต่ขณะนี้ต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่าวันที่ 23 ธันวาคมนี้เป็นวันเลือกตั้ง
เมื่อเวลา 14.20 น. ที่โรงแรมริชมอนด์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอให้วันที่ 24 ธันวาคม เป็นวันหยุดราชการ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ว่า คงต้องพิจารณากันว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ มีผลดีผลเสียอย่างไร เรื่องนี้จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ส่วนการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ขณะนี้ถือว่ายังน้อยไป เพราะยังมีประชาชนอีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังไม่ทราบว่าวันเลือกตั้งคือวันที่ 23 ธันวาคม จึงจำเป็นต้องเร่งทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนรับทราบ และขอให้มีการเชิญชวนประชาชนมาใช้สิทธิให้มากกว่าเป้าหมายที่กระทรวงมหาดไทยตั้งไว้ก็จะยิ่งเป็นการดี
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ว่าการมอบหมายให้ทุกส่วนราชการลงไปรณรงค์เลือกตั้ง จะรวมถึงการให้กองทัพเข้ามามีส่วนช่วยในการเลือกตั้งด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการทำความเข้าใจทหารคงมีส่วนเข้ามาช่วยได้ เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ก็สามารถลงไปทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์กับประชาชนได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่า กอ.รมน.สามารถส่งทหารลงไปในพื้นที่ก็สามารถทำได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กอ.รมน.ไม่จำเป็นต้องเป็นทหาร แม้แต่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขก็เป็นส่วนหนึ่งของ กอ.รมน.
ส่วนกรณีที่พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีระบุว่าจะส่งทหารลงไปในพื้นที่เพื่อหาข่าวนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงจะมีเฉพาะพื้นที่ที่อยู่บริเวณแนวชายแดน ทหารคงไม่สามารถลงไปในทุก ๆ พื้นที่ได้ อย่างที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้คงพื้นที่กฎอัยการศึกไว้ในบางพื้นที่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีการส่งทหารลงไปเป็นพิเศษ เพราะทหารมีหน้าที่ 2 ประการคือ การดูแลความสงบ และทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามที่มีการแต่งตั้งเช่นเดียวกับข้าราชการหน่วยอื่น ทั้งนี้ การที่คณะรัฐมนตรียกเลิกพื้นที่กฎอัยการศึกเหลือเฉพาะพื้นที่แนวชายแดนนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าเราพยายามที่จะลดพื้นที่ลง แต่ประชาชนอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึก ส่วนจะมีกำลังลงไปในแต่ละพื้นที่เท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของ กอ.รมน. รัฐบาลจะไม่ลงไปกำหนด
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลัวหรือไม่ว่าจะถูกมองว่าทหารเข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว เพราะข้าราชการทุกคนต้องวางตัวเป็นกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชน (พปช.) เกรงว่าทหารที่ลงพื้นที่ไปจะสกัดเฉพาะ พปช. ส่วนพรรคอื่นก็ปล่อยให้เป็นอิสระ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะกฎหมายเลือกตั้งระบุชัดเจนว่าข้าราชการมีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง และอะไรคือสิ่งที่ผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า พปช. ระบุว่าจะกวาดที่นั่งได้ถึง 250 ที่นั่ง และได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล คิดว่าประเทศจะเกิดความวุ่นวายอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าไม่มีปัญหาอะไรเพราะประชาชนเป็นคนเลือก คงไม่มีความวุ่นวายใด ๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หาก พปช. ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จะไม่มีการปฏิวัติขึ้นมาอีกรอบใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าไม่มีความวุ่นวายแล้วจะปฏิวัติทำไม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 14.20 น. ที่โรงแรมริชมอนด์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอให้วันที่ 24 ธันวาคม เป็นวันหยุดราชการ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ว่า คงต้องพิจารณากันว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ มีผลดีผลเสียอย่างไร เรื่องนี้จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ส่วนการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ขณะนี้ถือว่ายังน้อยไป เพราะยังมีประชาชนอีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังไม่ทราบว่าวันเลือกตั้งคือวันที่ 23 ธันวาคม จึงจำเป็นต้องเร่งทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนรับทราบ และขอให้มีการเชิญชวนประชาชนมาใช้สิทธิให้มากกว่าเป้าหมายที่กระทรวงมหาดไทยตั้งไว้ก็จะยิ่งเป็นการดี
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ว่าการมอบหมายให้ทุกส่วนราชการลงไปรณรงค์เลือกตั้ง จะรวมถึงการให้กองทัพเข้ามามีส่วนช่วยในการเลือกตั้งด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องการทำความเข้าใจทหารคงมีส่วนเข้ามาช่วยได้ เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ก็สามารถลงไปทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์กับประชาชนได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่า กอ.รมน.สามารถส่งทหารลงไปในพื้นที่ก็สามารถทำได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กอ.รมน.ไม่จำเป็นต้องเป็นทหาร แม้แต่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขก็เป็นส่วนหนึ่งของ กอ.รมน.
ส่วนกรณีที่พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีระบุว่าจะส่งทหารลงไปในพื้นที่เพื่อหาข่าวนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงจะมีเฉพาะพื้นที่ที่อยู่บริเวณแนวชายแดน ทหารคงไม่สามารถลงไปในทุก ๆ พื้นที่ได้ อย่างที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้คงพื้นที่กฎอัยการศึกไว้ในบางพื้นที่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีการส่งทหารลงไปเป็นพิเศษ เพราะทหารมีหน้าที่ 2 ประการคือ การดูแลความสงบ และทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามที่มีการแต่งตั้งเช่นเดียวกับข้าราชการหน่วยอื่น ทั้งนี้ การที่คณะรัฐมนตรียกเลิกพื้นที่กฎอัยการศึกเหลือเฉพาะพื้นที่แนวชายแดนนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าเราพยายามที่จะลดพื้นที่ลง แต่ประชาชนอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึก ส่วนจะมีกำลังลงไปในแต่ละพื้นที่เท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของ กอ.รมน. รัฐบาลจะไม่ลงไปกำหนด
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลัวหรือไม่ว่าจะถูกมองว่าทหารเข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว เพราะข้าราชการทุกคนต้องวางตัวเป็นกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชน (พปช.) เกรงว่าทหารที่ลงพื้นที่ไปจะสกัดเฉพาะ พปช. ส่วนพรรคอื่นก็ปล่อยให้เป็นอิสระ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะกฎหมายเลือกตั้งระบุชัดเจนว่าข้าราชการมีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง และอะไรคือสิ่งที่ผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า พปช. ระบุว่าจะกวาดที่นั่งได้ถึง 250 ที่นั่ง และได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล คิดว่าประเทศจะเกิดความวุ่นวายอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าไม่มีปัญหาอะไรเพราะประชาชนเป็นคนเลือก คงไม่มีความวุ่นวายใด ๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หาก พปช. ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จะไม่มีการปฏิวัติขึ้นมาอีกรอบใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าไม่มีความวุ่นวายแล้วจะปฏิวัติทำไม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--