พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 7 (7th Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry Plus Three) ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี
วันนี้ เวลา 09.15 น. ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 7 (7th Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry Plus Three) พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ เปิดการประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับคณะผู้แทน ในการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 7 และ รัฐมนตรีเกษตรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้บวกสาม (AMAF Plus Three)
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อาเซียนถือกำเนิด ณ ที่นี้ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ภายใต้ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา อาเซียนมีความหลากหลายและมีการรวมตัวอย่างแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และในเดือนนี้ อาเซียนจะได้มีการรับปฏิญญาอาเซียน ซึ่งถือเป็นครั้งแรก เพื่อทำให้เจตน์จำนงของอาเซียนเพื่อประชาชนให้เป็นจริง ยกระดับความร่วมมือให้กว้างขวาง ลึกซึ้งยิ่งขึ้นภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ความสำเร็จของอาเซียนในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค จึงเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมที่สุด ขณะเดียวกัน อาเซียนก็ได้มีการปรับเปลี่ยนภายในองค์กร เพื่อให้อาเซียนสามารถดำเนินวาระงานต่างๆ ได้อย่างมีดุลยภาพ เพื่อทำให้ชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) สามารถเกิดขึ้นได้จริง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั่วเอเชีย เกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมรดกตกทอดและการดำเนินชีวิตประจำวัน ประเทศไทยยินดีที่ได้เห็นการริเริ่มความร่วมมือด้านการเกษตร ตางๆ ภายใต้กรอบ AMAF และ AMAF + 3 และภายใต้กรอบการงานดังกล่าว ทำให้เรามีความเข้าใจสถานการณ์ของเกษตรกรของประเทศในเอเชีย ที่อยู่ท่ามกลางสังคมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งแผนปฏิบัติการที่จะสามารถสนองตอบต่อเป้าประสงค์ได้อย่างแท้จริง
แม้กระนั้นความจริงยังคงมีอยู่ว่าขณะที่เกษตรกรในบางประเทศอาจจะร่ำรวยกว่าประเทศอื่นๆ และเกษตรกรจำนวนมากของประเทศสมาชิกยังคงมีชีวิตอยู่ในวังวนความยากจน อีกทั้งยังคงต้องเป็นทุกข์จากความไม่แน่นอน การสนับสนุนที่ไม่เพียงพอจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรชนบท และชุมชนท้องถิ่นและตามชายฝั่ง ดังนั้น การประชุมครั้งนี้ จึงสร้างความหวังว่าบรรดาประเทศสมาชิกจะพัฒนาสนับสนุนความร่วมมือด้านเกษตรกรรม ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสงครามขจัดความยากจน และเห็นชอบยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรที่ยากจนเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
แต่ความเป็นอยู่อย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อมีเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน และด้วยสำนึกนี้ เมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาประเทศ ปรัชญาดังกล่าวเป็นวิธีการการดำรงชีวิตประจำวันที่เน้นความพอควร ความมีเหตุผลและภูมิคุ้มกันตนเองจากผลกระทบภายนอก สำหรับเกษตรกรรม ปรัชญานี้หมายถึงความพยายามเพื่อบรรลุประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการใช้ความสุขุม รอบคอบเพื่อสร้างการผลิตภาคเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวเชื่อมโยงกับ ทฤษฎีใหม่ทางเกษตรกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้วางแนวทางเพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองและความยั่งยืน โดยบูรณาการเทคนิคการบริหารไร่นา ซึ่งแนวทางที่เกิดประโยชน์นี้มุ่งเน้นความแน่นอนของผลผลิตสูงสุดจากไร่นาผืนหนึ่ง โดยการแบ่งการใช้พื้นที่ที่เหมาะสมและการจัดการทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้รับการสนับสนุนให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อส่งเสริมชุมชนและสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับชุมชนและเครือข่ายความร่วมมืออื่นๆ
ดังนั้น ความยั่งยืนของไทยจึงหมายถึงการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันยังหมายถึงการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนและกับโลกภายนอก นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบอื่นระหว่างประเทศสมาชิกที่สามารถให้ความรู้ประสบการณ์ เช่น Korean Saemaul Movement ที่มีเป้าหมายการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งร่วมกัน ไทยหวังว่ารูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยจะช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในอาเซียน + 3 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่จะช่วยเกษตรกรของประเทศสมาชิก
การดิ้นรนสู่ความยั่งยืนจะต้องต่อสู้ในระดับโลก คณะกรรมการระดับรัฐบาลระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ได้ยืนยันว่าภาวะโลกร้อนและความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกนั้นเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆของมนุษยชาติ
เราต่างเผชิญกับความแห้งแล้งอันยาวนาน คลื่นความร้อนสูง น้ำท่วมฉับพลัน และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ถ้าภาวะโลกร้อนไม่มีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ชายฝั่งหลายส่วนของเราจะต้องพบถูกน้ำท่วมจนอาจต้องจมหายไป และพื้นที่เกษตรกรรมของเราจะสูญเสียไปตลอดกาล
ขณะที่เวลาค่อยๆ ผ่านไป เรายิ่งต้องเคลื่อนไหวและตอบสนองให้รวดเร็วต่อสถานการณ์โลกร้อนก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์ด้านสภาพอากาศ เพราะฉะนั้นผมขอระดมความคิดจากกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศทั้งสาม เพื่อนำมาสนับสนุนการประชุมของยูเอ็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ( UN Framework Convention on Climate Change -UNFCC) ในบาหลีที่ใกล้จะถึงนี้ และสนทนาเรื่องความร่วมมือเพื่อต่อสู้กับผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่แน่นอนก็คือการบริหารและจัดการด้านเกษตรกรรมและป่าไม้คือองค์ประกอบหลักของการจัดการกับปัญหาโลกร้อน
สัญลักษณ์ของอาเซียนที่เป็นรูปรวงข้าว 10 มัด ทำให้ผมระลึกถึงความสำคัญของข้าวที่เป็นอาหารหลักของพวกเรา ในประเทศไทยการปลูกข้าวไม่เพียงเพื่อเป็นอาหารสำหรับคนไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ความเชื่อและพิธีกรรม การทำนาข้าวจะถูกส่งจากรุ่นต่อรุ่น ชาวนาจะปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนและนำเอาข้าวส่วนที่เหลือไปขาย ดังนั้นการจะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เราต้องศึกษาว่าทำอย่างไรให้เราสามารถรักษาทรัพยากรแหล่งน้ำสำหรับการปลูกข้าว และต้องเพิ่มการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านก๊าซมีเทนเพื่อให้ผลผลิตข้าวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้เรายังต้องสนับสนุนการสำรองอาหาร และโครงการศึกษานำร่องเรื่องระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อรูปแบบสภาพอากาศและการแพร่กระจายของโรค ขีดความสามารถในการจัดการสุขภาพด้านปศุสัตว์ การควบคุมโรคระบาดในสัตว์ และการรักษาโรคไข้หวัดนก ซึ่งเรายังคงพยายามและตั้งใจหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงต้องผสานเข้าด้วยกัน และจะต้องให้เกิดความหลากหลายระหว่างอาเซียนและประเทศทั้งสาม เรามีความอุดมสมบูรณ์ด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนสภาพพืชเหล่านั้นให้เป็นแหล่งพลังงาน ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง มะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานชีวภาพ พลังงานชีวภาพได้เป็นที่สนใจกันอย่างแพร่หลายและพิจารณากันในระดับนานาชาติ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้เอเชียยังคงต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงด้านดึกดำบรรพ์
ในแง่ของความสำคัญด้านพลังงานเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความยากจนนั้น การศึกษาทางเลือกในการปลูกพืชในภูมิภาคนี้ควรได้รับการค้นคว้า เพื่อทำให้เราสามารถปรับปรุงการเข้าถึงพลังงานควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งทำให้เราต้องเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนในเรื่องการพัฒนาด้านการเพาะปลูกและการบริหารจัดการทางกสิกรรมซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีประสงค์ให้มีความพยายามในการเร่งรัดการพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ อันนำมาซึ่งศักยภาพในการผลิต ประเทศไทยเองก็หวังผลผลิตเอทานอลจากน้ำตาลเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าในปีหน้า และเราต้องการความร่วมมืออันนำไปสู่มาตรฐานเดียวกันและการสร้างตลาดรองรับเชื้อเพลิงชีวภาพที่เพียงพอ เพื่อให้เราสามารถเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อย่างนุ่มนวลที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ในที่สุดแล้ว ความพยายามในการลดการใช้ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์จะทำให้เราสามารถจัดการกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างความมั่นใจในอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่าวิสัยทัศน์ร่วมกันของพวกเรานี้ จะช่วยนำทางเราไปสู่พันธมิตรเพื่อผลประโยชน์ที่เท่าเทียมเพื่อการเกษตรและป่าไม้ ในวันข้างหน้า โดยอาศัยการเรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและล้มเหลว ที่ให้แง่มุมอันส่งผลต่อหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตร รวมทั้งช่วยเพิ่มพูนความปลอดภัยด้านอาหารและพลังงาน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นสัญญาว่ารัฐบาลไทยจะคงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการสนับสนุนความร่วมมือในสาขานี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนในประเทศโดยรวม
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอกล่าวเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 3 ณ บัดนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.15 น. ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 7 (7th Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry Plus Three) พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ เปิดการประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับคณะผู้แทน ในการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 7 และ รัฐมนตรีเกษตรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้บวกสาม (AMAF Plus Three)
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อาเซียนถือกำเนิด ณ ที่นี้ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ภายใต้ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา อาเซียนมีความหลากหลายและมีการรวมตัวอย่างแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และในเดือนนี้ อาเซียนจะได้มีการรับปฏิญญาอาเซียน ซึ่งถือเป็นครั้งแรก เพื่อทำให้เจตน์จำนงของอาเซียนเพื่อประชาชนให้เป็นจริง ยกระดับความร่วมมือให้กว้างขวาง ลึกซึ้งยิ่งขึ้นภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ความสำเร็จของอาเซียนในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค จึงเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมที่สุด ขณะเดียวกัน อาเซียนก็ได้มีการปรับเปลี่ยนภายในองค์กร เพื่อให้อาเซียนสามารถดำเนินวาระงานต่างๆ ได้อย่างมีดุลยภาพ เพื่อทำให้ชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) สามารถเกิดขึ้นได้จริง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั่วเอเชีย เกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมรดกตกทอดและการดำเนินชีวิตประจำวัน ประเทศไทยยินดีที่ได้เห็นการริเริ่มความร่วมมือด้านการเกษตร ตางๆ ภายใต้กรอบ AMAF และ AMAF + 3 และภายใต้กรอบการงานดังกล่าว ทำให้เรามีความเข้าใจสถานการณ์ของเกษตรกรของประเทศในเอเชีย ที่อยู่ท่ามกลางสังคมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งแผนปฏิบัติการที่จะสามารถสนองตอบต่อเป้าประสงค์ได้อย่างแท้จริง
แม้กระนั้นความจริงยังคงมีอยู่ว่าขณะที่เกษตรกรในบางประเทศอาจจะร่ำรวยกว่าประเทศอื่นๆ และเกษตรกรจำนวนมากของประเทศสมาชิกยังคงมีชีวิตอยู่ในวังวนความยากจน อีกทั้งยังคงต้องเป็นทุกข์จากความไม่แน่นอน การสนับสนุนที่ไม่เพียงพอจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรชนบท และชุมชนท้องถิ่นและตามชายฝั่ง ดังนั้น การประชุมครั้งนี้ จึงสร้างความหวังว่าบรรดาประเทศสมาชิกจะพัฒนาสนับสนุนความร่วมมือด้านเกษตรกรรม ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสงครามขจัดความยากจน และเห็นชอบยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรที่ยากจนเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
แต่ความเป็นอยู่อย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อมีเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน และด้วยสำนึกนี้ เมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาประเทศ ปรัชญาดังกล่าวเป็นวิธีการการดำรงชีวิตประจำวันที่เน้นความพอควร ความมีเหตุผลและภูมิคุ้มกันตนเองจากผลกระทบภายนอก สำหรับเกษตรกรรม ปรัชญานี้หมายถึงความพยายามเพื่อบรรลุประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการใช้ความสุขุม รอบคอบเพื่อสร้างการผลิตภาคเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวเชื่อมโยงกับ ทฤษฎีใหม่ทางเกษตรกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้วางแนวทางเพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองและความยั่งยืน โดยบูรณาการเทคนิคการบริหารไร่นา ซึ่งแนวทางที่เกิดประโยชน์นี้มุ่งเน้นความแน่นอนของผลผลิตสูงสุดจากไร่นาผืนหนึ่ง โดยการแบ่งการใช้พื้นที่ที่เหมาะสมและการจัดการทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ เกษตรกรยังได้รับการสนับสนุนให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อส่งเสริมชุมชนและสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับชุมชนและเครือข่ายความร่วมมืออื่นๆ
ดังนั้น ความยั่งยืนของไทยจึงหมายถึงการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันยังหมายถึงการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนและกับโลกภายนอก นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบอื่นระหว่างประเทศสมาชิกที่สามารถให้ความรู้ประสบการณ์ เช่น Korean Saemaul Movement ที่มีเป้าหมายการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งร่วมกัน ไทยหวังว่ารูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยจะช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในอาเซียน + 3 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่จะช่วยเกษตรกรของประเทศสมาชิก
การดิ้นรนสู่ความยั่งยืนจะต้องต่อสู้ในระดับโลก คณะกรรมการระดับรัฐบาลระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ได้ยืนยันว่าภาวะโลกร้อนและความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกนั้นเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆของมนุษยชาติ
เราต่างเผชิญกับความแห้งแล้งอันยาวนาน คลื่นความร้อนสูง น้ำท่วมฉับพลัน และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ถ้าภาวะโลกร้อนไม่มีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ชายฝั่งหลายส่วนของเราจะต้องพบถูกน้ำท่วมจนอาจต้องจมหายไป และพื้นที่เกษตรกรรมของเราจะสูญเสียไปตลอดกาล
ขณะที่เวลาค่อยๆ ผ่านไป เรายิ่งต้องเคลื่อนไหวและตอบสนองให้รวดเร็วต่อสถานการณ์โลกร้อนก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์ด้านสภาพอากาศ เพราะฉะนั้นผมขอระดมความคิดจากกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศทั้งสาม เพื่อนำมาสนับสนุนการประชุมของยูเอ็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ( UN Framework Convention on Climate Change -UNFCC) ในบาหลีที่ใกล้จะถึงนี้ และสนทนาเรื่องความร่วมมือเพื่อต่อสู้กับผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่แน่นอนก็คือการบริหารและจัดการด้านเกษตรกรรมและป่าไม้คือองค์ประกอบหลักของการจัดการกับปัญหาโลกร้อน
สัญลักษณ์ของอาเซียนที่เป็นรูปรวงข้าว 10 มัด ทำให้ผมระลึกถึงความสำคัญของข้าวที่เป็นอาหารหลักของพวกเรา ในประเทศไทยการปลูกข้าวไม่เพียงเพื่อเป็นอาหารสำหรับคนไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ความเชื่อและพิธีกรรม การทำนาข้าวจะถูกส่งจากรุ่นต่อรุ่น ชาวนาจะปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือนและนำเอาข้าวส่วนที่เหลือไปขาย ดังนั้นการจะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เราต้องศึกษาว่าทำอย่างไรให้เราสามารถรักษาทรัพยากรแหล่งน้ำสำหรับการปลูกข้าว และต้องเพิ่มการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านก๊าซมีเทนเพื่อให้ผลผลิตข้าวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้เรายังต้องสนับสนุนการสำรองอาหาร และโครงการศึกษานำร่องเรื่องระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อรูปแบบสภาพอากาศและการแพร่กระจายของโรค ขีดความสามารถในการจัดการสุขภาพด้านปศุสัตว์ การควบคุมโรคระบาดในสัตว์ และการรักษาโรคไข้หวัดนก ซึ่งเรายังคงพยายามและตั้งใจหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงต้องผสานเข้าด้วยกัน และจะต้องให้เกิดความหลากหลายระหว่างอาเซียนและประเทศทั้งสาม เรามีความอุดมสมบูรณ์ด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนสภาพพืชเหล่านั้นให้เป็นแหล่งพลังงาน ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง มะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานชีวภาพ พลังงานชีวภาพได้เป็นที่สนใจกันอย่างแพร่หลายและพิจารณากันในระดับนานาชาติ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้เอเชียยังคงต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงด้านดึกดำบรรพ์
ในแง่ของความสำคัญด้านพลังงานเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความยากจนนั้น การศึกษาทางเลือกในการปลูกพืชในภูมิภาคนี้ควรได้รับการค้นคว้า เพื่อทำให้เราสามารถปรับปรุงการเข้าถึงพลังงานควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งทำให้เราต้องเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนในเรื่องการพัฒนาด้านการเพาะปลูกและการบริหารจัดการทางกสิกรรมซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีประสงค์ให้มีความพยายามในการเร่งรัดการพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ อันนำมาซึ่งศักยภาพในการผลิต ประเทศไทยเองก็หวังผลผลิตเอทานอลจากน้ำตาลเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าในปีหน้า และเราต้องการความร่วมมืออันนำไปสู่มาตรฐานเดียวกันและการสร้างตลาดรองรับเชื้อเพลิงชีวภาพที่เพียงพอ เพื่อให้เราสามารถเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อย่างนุ่มนวลที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ในที่สุดแล้ว ความพยายามในการลดการใช้ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์จะทำให้เราสามารถจัดการกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างความมั่นใจในอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่าวิสัยทัศน์ร่วมกันของพวกเรานี้ จะช่วยนำทางเราไปสู่พันธมิตรเพื่อผลประโยชน์ที่เท่าเทียมเพื่อการเกษตรและป่าไม้ ในวันข้างหน้า โดยอาศัยการเรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและล้มเหลว ที่ให้แง่มุมอันส่งผลต่อหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตร รวมทั้งช่วยเพิ่มพูนความปลอดภัยด้านอาหารและพลังงาน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นสัญญาว่ารัฐบาลไทยจะคงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการสนับสนุนความร่วมมือในสาขานี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนในประเทศโดยรวม
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอกล่าวเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 3 ณ บัดนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--