นายกรัฐมนตรีระบุผู้บริหารและสหภาพฯ รฟท. ต้องพูดคุยทำความเข้าใจกัน เพื่อหาข้อยุติในปัญหาของ รฟท.ชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่เกี่ยวข้องกับข้อตกลง JTEPA
เมื่อเวลา 14.20 น. ที่โรงแรมริชมอนด์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยขู่จะหยุดเดินรถอีกครั้ง หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบรับว่า เรื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ที่การพูดคุยทำความเข้าใจกันระหว่างผู้บริหารของการรถไฟฯ กับทางเจ้าหน้าที่เพื่อหาจุดที่มีความพอดี ซึ่งเชื่อมั่นว่าการพูดคุยทำความเข้าใจกันจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หาจุดที่พอดีและลงตัว ถ้าเราตั้งใจที่จะช่วยกันก็ไม่มีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีหลักประกันอย่างไรว่าประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบขึ้นมาอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เตรียมการในส่วนที่จะลดความเสี่ยงไว้แล้ว และเหตุการณ์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบมาก่อน แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นเราก็หาทางป้องกันและแก้ไข และเรื่องเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง จึงต้องอาศัยการทำความเข้าใจกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าข้อเรียกร้องของสหภาพฯ สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางกลุ่ม แสดงว่ามีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้ เช่น เรื่องข้อตกลงความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่อาจจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทางการเมือง ซึ่งไม่มีปัญหาสามารถทำความเข้าใจกันได้ อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคม การรถไฟฯ ต้องทำความเข้าใจกันว่าเราจะหาทางแก้ไขปัญหาอย่างไร และทำไมต้องมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ส่วนจะเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่นั้น ก็ต้องบอกว่าทุกเรื่องเกี่ยวพันกันหมด ไม่ว่าจะเป็นทหาร เศรษฐกิจ การเมืองหรือสังคม แต่ทำอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ามีการเมืองอยู่เบื้องหลังใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ในชีวิตของเราต้องมองในมุมมองที่กว้าง มองในทุก ๆ ส่วนแล้วนำมาประกอบการพิจารณา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 14.20 น. ที่โรงแรมริชมอนด์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยขู่จะหยุดเดินรถอีกครั้ง หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบรับว่า เรื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ที่การพูดคุยทำความเข้าใจกันระหว่างผู้บริหารของการรถไฟฯ กับทางเจ้าหน้าที่เพื่อหาจุดที่มีความพอดี ซึ่งเชื่อมั่นว่าการพูดคุยทำความเข้าใจกันจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หาจุดที่พอดีและลงตัว ถ้าเราตั้งใจที่จะช่วยกันก็ไม่มีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีหลักประกันอย่างไรว่าประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบขึ้นมาอีก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เตรียมการในส่วนที่จะลดความเสี่ยงไว้แล้ว และเหตุการณ์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบมาก่อน แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นเราก็หาทางป้องกันและแก้ไข และเรื่องเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง จึงต้องอาศัยการทำความเข้าใจกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าข้อเรียกร้องของสหภาพฯ สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติบางกลุ่ม แสดงว่ามีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้ เช่น เรื่องข้อตกลงความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่อาจจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทางการเมือง ซึ่งไม่มีปัญหาสามารถทำความเข้าใจกันได้ อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคม การรถไฟฯ ต้องทำความเข้าใจกันว่าเราจะหาทางแก้ไขปัญหาอย่างไร และทำไมต้องมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ส่วนจะเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่นั้น ก็ต้องบอกว่าทุกเรื่องเกี่ยวพันกันหมด ไม่ว่าจะเป็นทหาร เศรษฐกิจ การเมืองหรือสังคม แต่ทำอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แสดงว่ามีการเมืองอยู่เบื้องหลังใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ในชีวิตของเราต้องมองในมุมมองที่กว้าง มองในทุก ๆ ส่วนแล้วนำมาประกอบการพิจารณา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--